หัวข้อ :ประวัติ
17/07/2011
, 23:06
Quote
ประวัติ เทียนพรรษา
วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย ในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน
2. หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุด ให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้งนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม
*ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร*ประเพณีหลวง
เรียกเป็นทางการว่า "การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา"ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพราะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
*ประเพณีราษฎร
เรียกกันว่า "เทียนจำนำพรรษา" หรือ "เทียนพรรษา" ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี และสุพรรณบุรี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ
*การแห่เทียน
เป็นประเพณีที่แสดงถึงความศรัทธา ความสามัคคีของชุมชนและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่ต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อเทียนพรรษาสำเร็จรูป มีไฟนีออนหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ถวายแทน แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ ประเพณีการหล่อเทียน และแห่เทียนจำนำพรรษาก็จะเป็นประเพณีอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป
*ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีที่กระทำกันตั้งแต่โบราณกาล จนกระทั่งทุกวันนี้การหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี คือ เมื่อใกล้ถึงฤดูการเข้าพรรษาตามพุทธานุญาต ให้บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต้องเข้าประจำพรรษาในอารามนั้นๆมิืให้เที่ยวจาริกไปในที่อื่นๆ ในการเข้าพรรษานี้พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษา สำหรับให้พระภิกษุจุดบูชาเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญา หูตาสว่างไสว เมื่อหล่อเทียนเสร็จแล้วมีการแห่แหน ตามประเพณีรอบพระอุโบสถ เวียนสามรอบแล้วนำไปจุดบูชาพระตลอดเวลา 3 เดือน
ตามชนบทการหล่อเทียนเข้าพรรษาทำการอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งประเภทต่างๆ มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมการกุศลกันในหมู่บ้านนั้นๆ ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีงานเอิกเกริกสนุกสนานอยู่ตามชนบทต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมศรัทธากันอย่างพร้อมเพรียง.
ประวัติ เทียนพรรษา
วันเข้าพรรษาเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาให้ได้รับความเสียหาย ในวันเข้าพรรษามีประเพณีที่สำคัญ 2 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน
2. หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุด ให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้งนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม
*ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร*ประเพณีหลวง
เรียกเป็นทางการว่า "การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา"ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพราะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
*ประเพณีราษฎร
เรียกกันว่า "เทียนจำนำพรรษา" หรือ "เทียนพรรษา" ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น
ประเพณีการแห่เทียนจำนำพรรษานี้ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทย แต่ที่ทำกันเป็นประเพณีใหญ่โตที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี และสุพรรณบุรี มีการแกะสลักต้นเทียนอย่างสวยงามและจัดประกวดแข่งขันก่อนแก่ไปถวายตามวัดต่างๆ
*การแห่เทียน
เป็นประเพณีที่แสดงถึงความศรัทธา ความสามัคคีของชุมชนและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงอยู่ต่อไป แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อเทียนพรรษาสำเร็จรูป มีไฟนีออนหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ถวายแทน แต่ถ้าทุกคนช่วยกันสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ ประเพณีการหล่อเทียน และแห่เทียนจำนำพรรษาก็จะเป็นประเพณีอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป
*ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีที่กระทำกันตั้งแต่โบราณกาล จนกระทั่งทุกวันนี้การหล่อเทียนเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี คือ เมื่อใกล้ถึงฤดูการเข้าพรรษาตามพุทธานุญาต ให้บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายต้องเข้าประจำพรรษาในอารามนั้นๆมิืให้เที่ยวจาริกไปในที่อื่นๆ ในการเข้าพรรษานี้พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษา สำหรับให้พระภิกษุจุดบูชาเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญา หูตาสว่างไสว เมื่อหล่อเทียนเสร็จแล้วมีการแห่แหน ตามประเพณีรอบพระอุโบสถ เวียนสามรอบแล้วนำไปจุดบูชาพระตลอดเวลา 3 เดือน
ตามชนบทการหล่อเทียนเข้าพรรษาทำการอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งประเภทต่างๆ มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมการกุศลกันในหมู่บ้านนั้นๆ ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีงานเอิกเกริกสนุกสนานอยู่ตามชนบทต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมศรัทธากันอย่างพร้อมเพรียง.
เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 29/04/2012 - 16:48