/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ความรู้...คัมภีร์อี้จิง

ความรู้...คัมภีร์อี้จิง

ความรู้...คัมภีร์อี้จิง

(โดย...ไท้เล่ากุง)







---นับเนื่องถึงปัจจุบันนี้ หากมีการกล่าวถึง "อี้จิง" คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะอี้จิงเป็นตำราที่ว่าด้วยการพยากรณ์ชนิดหนึ่ง อาศัยความแน่วแน่ของจิตใจส่งผ่านเหรียญ แล้วเสี่ยงทายโดยทอดเหรียญ และนำมาตีความ ว่ากันไปแล้วในยุคโบราณนั้นนิยมใช้วิธีนี้มากหลายในหมู่ชน เพราะผู้คนในยุคนั้นน้อยคนนักที่จะทราบวันเดือนปีเกิดที่ถูกต้องของตนเองเว้นแต่ผู้คนที่อยู่ในราชสำนัก

 

---การเสี่ยงทาย ถือเป็นลิขิตฟ้า ดังนั้นปราชญ์ผู้ตีความต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาแตกฉาน จึงจะสามารถอ่านความหมายได้อย่างละเอียด และมีน้อยคนนักที่จะเจนจบในการตีความ ด้วยความหมายโดยนัยนั้นลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แม้เล่าจื้อกับขงจื้อรวมกันยังเห็นต่าง

 

---ในปัจจุบันมีผู้คนให้ความสนใจหันมาศึกษาศาสตร์พยากรณ์ ทั้งไทยและต่างประเทศ แม้กระทั่งศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย ต่างล้วนรู้จักอี้จิงอย่างแน่นอน เพราะมีการกล่าวอ้างถึงอี้จิงในวิชาฮวงจุ้ยอยู่เสมอๆ ในลักษณะหรืออ้างอิงว่า ฮวงจุ้ยก็มีรากฐานกำเนิดบางอย่างมาจากอี้จิง เมื่อผู้ที่อ้างตนว่าเป็นซินแสฮวงจุ้ยออกเปิดอบรมหลักสูตรฮวงจุ้ยสารพัดวิชา เพื่อมาเก็บเงินเก็บทองเป็นค่าสอนผู้ที่สนใจ หรือสถาบันศาสตร์ฮวงจุ้ยที่ผู้คนสนใจ อุตส่าห์พากเพียรแสวงหาอ้อนวอนไปขอเรียนบอกมาอย่างไร ผู้ที่ศึกษาก็ได้แต่จดจำตามไปด้วย จะทำอย่างไรได้เล่าเมื่อมนุษย์เรารักการเรียนรู้ เมื่อผู้ที่ตั้งตนเป็นครูบาอาจารย์สอนอย่างไร ก็ต้องเชื่อ ถ้าไม่จริงคงไม่กล้ามาเป็นอาจารย์เปิดสอน

 

---คัมภีร์อี้จิง ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่และคลาสสิกมากที่สุดของชาวจีน มีอายุยาวนานกว่า 6,000 ปี หากไม่มีดีคงไม่ยืนยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน แต่มีใครรู้ไหมว่าตำราหรือคัมภีร์อี้จิง บางส่วนสาบสูญไปในหลายยุคที่ผ่านมายาวนาน และในหลายความหมาย หลายหน้าที่บันทึกที่ถูกกำหนด ถูกเปลี่ยนแปลงจากการให้ความสำคัญ และของเก่าดั้งเดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขสืบสานต่อมาก็ไม่ต่ำกว่า สามรุ่นอันได้แก่

 

*1.ยุคเลี่ยงซัวเอียะ ราว 6,000 ปีก่อน


---ครั้งกระนั้นสังคมของผู้คนจะอาศัยอยู่ในถ้ำตามเทือกเขา ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บผักหักหญ้ากินตามมีตามเกิด แต่ในแถบถิ่นเนินเขาเลียกซัว มีสกุลหนึงชื่อว่า สกุลเลียกซัว เริ่มคิดถึงการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เพราะอาหารเริ่มหายากขึ้นและต้องทำสงครามแย่งชิงอาหารจากชนเผ่าอื่น  พวกเขาจึงเริ่มเสาะหาสัตว์ที่เชื่องเลี้ยงง่ายออกลูกดกมาเลี้ยง และหาพืชที่เคยเก็บได้มาเริ่มทดลองเพาะปลูก เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารและกำหนดอาณาเขต

 

---ซึ่งช่วงยุคสมัยเวลานั้น แนวคิดที่จะเริ่มเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เริ่มมีขึ้นในหลายๆ กลุ่มชนต่างๆ เพิ่มขึ้น เริ่มมีการปลูกข้าวสาลี ลูกเดือย ฯลฯ ด้วยเหตุที่ชนเผ่านี้มีความฉลาดและสติปัญญา จึงได้รับการยอมรับจากเผ่าอื่น จนสามารถรวบรวมหลายๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน และมีหัวหน้าปกครองนามว่า "เอี่ยมตี่" ภายหลังถูกยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรม "สิ่งโน้ง" นอกจากมีความชำนาญด้านเกษตรกรรมแล้ว ยังเป็นผู้ชำนาญในเรื่อง "ฮกฮีโป้ยข่วย" ใช้ในการหาทำเลที่เหมาะสม เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก อีกทั้งให้ความสำคัญและนับถือ "ขุนเขา" ยกย่องภูเขาให้เป็น "ราชา"

 

---ในยุคแรกนั้นการให้ความสำคัญกับ "ภูเขา" มีมาก เพราะลักษณะของการอยู่อาศัยตามถ้ำต่างๆ ภูเขาให้ความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย ทำให้เอี่ยมตี้รู้สึกว่า ตำราของฮกฮีที่ยึดถือเอาสัญลักษณ์ "เคี้ยง" แทนคำว่า "ท้องฟ้า" ที่ยกให้เป็นแกนหลักนั้น ยึดถือไม่ได้ จึงได้ทำการเปลี่ยนตำราใหม่ โดยทำการเปลี่ยนชื่อสัญลักษณ์ทั้ง 8 เป็น 1. กุง (ราชา) 2. ชิ้ง (ขุนนาง) 3. มิ้ง (ปวงประชา) 4. ม่วย (สรรพสิ่ง) 5. อิม 6. เอี้ยง 7. เปีย (ทหาร) 8. เสียง (รูปลักษณ์) โดยให้ "ราชา" เป็น "ภูเขา" เป็นหลักนำ เอี่ยมตี่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น "เลี่ยงซัวข่วย" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เลี่ยงซัวเอียะ"

 

---"เลี่ยงซัวเอียะ" ได้กำหนดให้ "กึ้งซัว" (ภูเขา) เป็นแกนนำหลัก นอกจากนี้ เอี่ยมตี่ยังเรียก "กึ้งซัว" ว่า "ซัวกุง" หมายถึง ราชาภูเขา

 

---หลักเกณฑ์ของ "เลี่ยงซัวข่วย" คือ ราชาเป็นผู้กำหนดทิศทาง ขุนนางเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน ปวงประชาเป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆ สรรพสิ่งต่างๆ ล้วนกำเนิดมาจากการผสมผสานกันของหยินและหยาง (ธรรมชาติ) ส่วนทหารรักษาความปลอดภัยทุกอย่างให้มีความสงบสุข สรรพสิ่งก็จะเจริญรุ่งเรื่อง

 

*2.ยุคกุยชั้งเอียะ ราว 5.000 ปีก่อน


---สืบทอดต่อจากเอี่ยมตี่มาอีกหลายสมัย เริ่มมีการค้นคิดเข็มทิศซึ่งมีใช้กันเฉพาะในหมู่ชนชั้นปกครอง และมีผู้นำอีกคนชื่อ "อิงอ้วง" แห่งเมือง "อู่ฮิ้ม" เป็นผู้มีความเข้าใจช่ำชองจนมีสามารถใช้เข็มทิศ จนได้รับการยกย่องจากบรรดาหัวเมืองข้างเคียง พร้อมสถาปนาให้เป็นหัวหน้าปกครอง ขนานนามใหม่ว่า "อึ้งตี่" ต่อมา ได้รับการยกย่อง ให้เป็นบรรพบุรุษของทุกชนเผ่า คนรุ่นหลังเรียกตนเองว่า "เป็นลูกหลานของเอี่ยมอึ้ง" ซึ่งหมายถึง ชนชาติจีน เมื่ออึ้งตี่ ได้รับการสถาปนาเป็นผู้ปกครองแผ่นดินแล้ว ก็รีบดำเนินภารกิจสำคัญเพื่อเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น มีพระบัญชาให้ข้าราชการ รายนามต่อไปนี้ ดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังนี้


---"ไต้เยี้ย" คิดค้นความหมายเกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 และเรื่องการทำนาย รวมทั้งกำหนดรหัสบน รหัสล่าง และปฏิทินแบบกะจื้อ


---"หยงซุก" คิดค้นเครื่องมือดาราศาสตร์ เลียนแบบจักรวาล ศึกษาการเดินทางของดวงดาว จัดทำปฏิทิน


---"ชังกิก" ประดิษฐ์ตัวอักษร อักษรจีนยุคแรกคืออักษรภาพ


---"ติซิ่ว" คิดค้นวิชาการเกี่ยวกับการคำนวณ


---"เล้งลุ้ง" คิดค้นเรื่องเกี่ยวกับดนตรี

 

---นอกจากนี้ อึ้งตี่ ยังสังเกตว่า สาเหตุที่คนเราเจ็บป่วยมาจาก อิทธิพลภายในเกิดความไม่สมดุลของร่างกาย เกี่ยวกับหยินหยาง และอิทธิพลภายนอกจากภูมิอากาศหนาวและร้อน อีกทั้งอิทธิพลภายในทางด้านอารมณ์ดีใจเสียใจ จึงมีพระบัญชาให้ "จีแปะ" ค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะภายใน ให้ "ยู้ฮู่" "หลุ่ยกง" ศึกษาเรื่องชีพจร ให้ "บู่แพ้" "ท่งกุง" ศึกษาเรื่องตำรับยา

 

---อึ้งตี้ ยังมีความชำนาญเรื่องการใช้ "ข่วย" ยุคนั้นเป็นยุคที่สืบอำนาจผ่านทางมารดา ซึ่งปัจจุบันสืบอำนาจผ่านทางบิดาซึ่งกลับกัน เมื่อให้ความสำคัญกับ "แม่" อึ้งตี่ยกให้แม่เป็นแกนหลักใช้ "คุน" แทนคำว่า "แม่" แล้วยังแทนคำว่า พื้นดินได้ ยังได้ทำการเปลี่ยนชื่อ "เลี่ยงซัวเอียะ" มาเป็น "กุยชั้งเอียะ" การเรียงลำดับของ "กุยชั้งเอียะ" คือ ดิน ไม้ ลม ไฟ, น้ำ เขา ทอง ฟ้า มีความหมายว่า พลังฟ้ามีหวนกลับ พลังดินมีการสั่งสม ไม้มีการเกิด ลมเกิดความเคลื่อนไหว ไฟมีพลังยาวนาน พลังน้ำให้กำเนิด ภูเขาสกัดกั้น ทองมีแรงพิฆาต "กุยชั้งเอียะ" จะหมุนไปแบบตามธรรมชาติ แต่ยังคงไว้ซึ่งหลักการที่ว่า ความสัมพันธ์ของผืนดินและมวลสรรพสิ่งที่มีการเจริญเติบโต การแปรเปลี่ยนนั้นล้วนมาจากทฤษฎี พลังที่ซ่อนเร้นและสร้างสม เป็นตัวแปรของมวลสรรพสิ่ง

 

---"กุยชั่งข่วย" ก็ยังแฝงด้วยความคิดเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย โดยให้ดูจากชื่อของแปดฉักลักษณ์ "ดิน ไม้ ลม ไฟ, น้ำ ภูเขา ทอง ฟ้า" จากนั้น นำพัฒนาการของพลังทั้งแปดมาสัมพันธ์กัน จะสังเกตเห็นว่า มีการหวนกลับมา เกิดการซ่อนเร้นขึ้น มีการเจริญเติบโต เกิดการเคลื่อนไหว มีความคงอยู่นาน เกิดการสร้างสมขึ้น มีการสกัดกั้น เกิดแรงพิฆาตขึ้น

 

 *3.ยุคจิวเอียะ ราว 4000 ปีก่อน


---ยุคสมัยราชวงศ์เซียง ปกครองแผ่นดินจีน มาจนถึงสมัยที่ 28 แห่งราชวงค์เซียง ติ้วอ๋องเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง มีนิสัยดุร้าย หมกมุ่นในกามารมณ์ ไม่สนใจความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า 

 

---ขุนนางเมืองทางทิศตะวันตกชื่อ กีเชียง ได้กราบทูลให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการบริหารบ้านเมือง ทำให้ติ้วอ๋องโกรธมาก จับตัวกีเซียงไปขังคุกที่เมืองกิ้วลี่ (ปัจจุบันอยู่ที่มณฑลเหอหนาน) เป็นเวลา 7 ปีช่วงเวลาที่กี่เซียงอยู่ในคุก เขาได้ค้นคว้าเกี่ยวกับ ฮกฮีโป๊ยข่วย แล้วนำมาวางตำแหน่งใหม่ ให้ตรงกับความจริงตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งต่อมาเรียกว่า "บุ่งอ้วงโป๊ยข่วย" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เอ่าทีโป๊ยข่วย"

 

---นอกจากนี้ เขายังได้นำ สัญลักษณ์ (ข่วย) ทั้ง 8 ตัว ซึ่งแต่ละข่วยประกอบด้วย เส้น 3 เส้น มี 2 รูปแบบ คือ เส้นหยินขีดขาด กับเส้นหยางขีดเต็ม นำข่วย 2 ตัวมาเรียงซ้อนกัน กลายเป็นข่วยใหม่ขึ้นมา แต่ละข่วยจะกลายเป็น 6 เส้น นำข่วยดั้งเดิมทั้ง 8 ตัวมาซ้อนสลับกันไปมา รวมกันแล้วได้ 64 ข่วย แต่ละข่วยมี 6 เส้น แต่ละเส้นเรียกว่า "ข่วยเง้า"  รวมกันแล้วได้ 384 เส้น จิวบุ่งอ้วง ยังได้ตั้งชื่อข่วยที่เกิดขึ้นใหม่ทั้ง 64 ตัว และได้อธิบายความหมายของแต่ละตัวไว้ด้วย  หลังจากที่จิวกงตั่งลาออกจากราชการแล้ว ใช้เวลาว่างศึกษาศาสตร์เอี๊ยะ จึงได้นำข่วยทั้ง 64 ตัวที่คุณพ่อของเขา จิวบุ่งอ้วงคิดค้นขึ้นมา เขียนคำอธิบายความหมายของแต่ละเส้นทั้ง 384 เส้นจนครบทุกข่วย

 

---บันทึกเล่มนี้เป็นตำราโบราณที่สมบูรณ์ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เนื่องจากคิดค้นโดยจิวบุ้งอ้วง จึงเรียกว่า "จิวเอี๊ยะ" เป็น "คัมภีร์อี้จิง" หนึ่งในห้าเล่มของชนชาติจีน


---บันทึกอี้จิงสองเล่มแรก ได้หายสาบสูญไปนานแล้วตั้งแต่ยุค ราชวงศ์จิ้น แม้จะมีการกล่าวอ้างถึงบางตอนในตำราโบราณบางเล่มแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถรวบรวมประติดประต่อเนื้อหาได้ เนื่องจากลำดับการให้ความสำคัญนั้น ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถลำดับได้ถูกต้องครบถ้วน อันเป็นสาเหตุทำให้ ผู้ที่ทำการค้นคว้าศึกษาไม่สามารถเข้าถึงสุดยอดแห่งตำราอี้จิงได้

 

---ถ้าหากจะศึกษาคัมภีร์อี้จิงให้สำเร็จต้องลืมวิชาที่เคยรู้มา แม้มีการค้นพบกระดองเต่าโบราณกว่า 150,000 ชิ้น ที่เมืองอันหยังบันทึกด้วยอักษรภาพ เป็นเรื่องของคำทำนาย และเรื่องราวความเป็นอยู่สมัยนั้น คำทำนายเหล่านั้น น่าจะเป็นบันทึกกุยชั้งเอียะ เราต้องเริ่มศึกษาตีความจากสิ่งที่เราพบแต่ในปัจจุบันนี้ ผู้คนทั่วไปยึดถือว่า คัมภีร์อี้จิงฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดคือ "จิวเอียะ" ซึ่งเป็นรุ่นสามเป็นฉบับที่คนรุ่นหลังกำลังค้นคว้าและใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้

 

---คัมภีร์อี้จิง ถูกรวบรวมและจัดเป็นหมวดหมู่ขึ้นใหม่ในยุคของราชวงศ์เซี่ย และถูกทำลายสูญหายไปมากมายในยุคของ "จิ๋นซี" ด้วยเหตุผลทางการเมือง ที่จิ๋นซีกลัวว่าตำราเหล่านี้ จะสร้างปัญหาต่อประเทศที่ตนปกครองส่วนฉบับของจิวเอียะ มาถึงในยุคปัจจุบัน ก็รอดพ้นจากการเผาทำลายตำรับตำราในยุคของประธานเหมา เหตุมีการเผาทำลาย มีการเล่าลือกันว่า ประธานาธิบดีเหมาก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ ด้วยภูมิปัญญาความรู้เกี่ยวกับฮวงจุ้ย จึงเกรงว่าจะมีผู้ใช้วิชาฮวงจุ้ยมาทำลายตนดุจเดียวกัน จึงต้องทำลายให้สิ้น

 

---ด้วยคุณค่าของความรู้อันมีมนต์ขลังในคัมภีร์อี้จิงซึ่งมีความโดดเด่นในการพยากรณ์นี้เอง ทำให้ปัจจุบันชาวยุโรปต่างก็ให้ความสนใจ ศึกษาค้นคว้าและถอดความนัยที่แฝงอยู่ในรหัสลักษณ์ คำว่า "อี้" หมายถึงการเปลี่ยนแปลง คำว่า"จิง" หมายถึงคัมภีร์ ดังนั้น อี้จิง คือ คัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

 

---อี้จิง ตามตำนานบันทึกว่า ฟูซี เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ไม่ว่าฤดูกาล หรือเวลาแห่งกลางวันและกลางคืน เกิดเป็นความเข้าใจว่าฟูซีเป็นผู้สร้างเครื่องหมายสัญลักษณ์ของปากัวขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน เพราะในสมัยฟูซี ปากัวที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องของฮวงจุ้ย ไม่ใช่เรื่องอี้จิง ทำให้ไม่แน่ใจว่าอาจารย์ผู้สอนฮวงจุ้ยต่างๆ ตีความหรือแปลความหมายจากภาษาจีนผิด จึงทำให้อี้จิงกลายเป็นฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ยกลายเป็นอี้จิง เท่าที่สอบถามผู้ที่รู้ภาษาจีน ได้ความปรากฏว่า การอ่านภาษาจีนที่เป็นเรื่องราวเฉพาะ เช่น ฮวงจุ้ย หรือตำราทางการแพทย์ ความหมายเป็นลักษณะเฉพาะทาง ถ้าไม่ศึกษาเกี่ยวกับด้านนั้นแล้ว จะตีความหมายผิดไป

 

---ต่อมาในสมัยของกษัตริย์เหวิน ผู้สถาปนาราชวงศ์โจว ได้นำฉักลักษณ์ในปากัวทั้งสองมารวมกัน แล้วมีการอธิบายความหมายที่เกิดขึ้นจากการรวมฉักลักษณ์ โดยมีการจดบันทึกว่า "ท่านขงจื้อเป็นผู้เขียนคำวินิจฉัยประกอบสัญลักษณ์แห่งปากัวนั้นในสมัยกษัตริย์เหวิน" อดีตที่ผ่านมานักปราชญ์หลายยุคหลายสมัย ได้พยายามแปล หรือตีความในคัมภีร์อี้จิงกันอย่างกว้างขวาง ว่ากันว่า แม้แต่ท่านขงจื้อยังไม่สามารถตีความได้ครบในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

 

---ปราชญ์ผู้เป็นบัณฑิตต่างล้วนพยายามที่จะเข้าถึงอี้จิง และคิดว่าเป็นเรื่องของการผันแปรของอิมและเอี้ยง ซึ่งเป็นสองพลังหลักในจักรวาล ที่สรรพสิ่งล้วนกำเนิดจากปรากฏการณ์ทั้งสอง ซึ่งก็ถูกแค่ 3 ใน 10 ส่วน เพราะการแปรผันใดๆนั้นล้วนมีความหมายแฝง ในหยินก็มีหยาง ในหยางก็มีหยิน ในที่ๆ มืดที่สุดก็มีความสว่าง และในที่ๆ สว่างที่สุดก็มีความมืดแฝงอยู่ กฎของการมีอยู่ไอ้ที่ว่าไม่เห็นใช่ว่าไม่มี และอะไรที่เห็นก็ใช่ว่าจะมี กฎแห่งการกระทำและผลจากการกระทำ กฎของการเปลี่ยนแปลงความเป็นเหตุเป็นผล และอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัย

 

---อี้จิง เป็นคัมภีร์การพยากรณ์ โดยใช้เครื่องหมายฉักลักษณ์ ซึ่งมีจำนวนถึงหกสิบสี่ฉักลักษณ์ แต่ด้วยคัมภีร์อี้จิง เป็นหนังสือที่อ่านยาก เว้นแต่จะเป็นผู้มีความรู้ที่ลึกซึ้ง และมีเพียงไม่กี่คนที่จะเข้าใจได้ ด้วยคำทำนายของคัมภีร์อี้จิง มีพื้นฐานอยู่บนโศลก (คล้ายๆ คำกลอนไทย) แฝงด้วยคติ และเรื่องเล่าต่างๆ ที่เป็นตำนาน และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน บางส่วนจะเป็นคติพื้นบ้านที่เล่ากันมา แบบปากต่อปากของแต่ละท้องถิ่น และยังเกี่ยวข้องกับความรู้ และขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ที่สืบต่อๆ กันมา อันเป็นรากฐานและวัฒนธรรมของชาวจีน

 

---คัมภีร์อี้จิง นับแต่กำเนิดมาเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการพยากรณ์ การผันแปรของสรรพสิ่ง คัมภีร์อี้จิงจึงไม่ใช่ตำราฮวงจุ้ย และวิชาฮวงจุ้ยก็หาใช่อี้จิงไม่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องการยกระดับ หรือการพยายามสร้างจุดเด่นในวิชาของแต่ละคน ที่นำมาผสมผสานหรือนำมาปรับใช้ให้เป็นเหตุเป็นผล ในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ ในวิชาฮวงจุ้ย ที่ฮวงจุ้ยไม่แน่ใจและยังหาคำตอบไม่ได้ จึงนำเอาอี้จิงมาผสมรวม และดูราวกับว่าผู้นำมาใช้ เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาดนำวิชาความรู้อื่นมาปรับประยุกต์ เพื่อเป็นการยกระดับความสามารถของตนเอง แต่ไม่ถูกเรื่องมันคนละเรื่องจนผิดฝาผิดตัว.






.................................................................




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 28 กันยายน 2558


Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,885,683
เปิดเพจ12,105,519
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view