/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

ข่าวกฐิน

ข่าวกฐิน



*ความหมายของกฐิน




 

---กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ) ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง  ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

 

---กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวัน  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล  คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์  แล้วก็เป็นอันใช้ได้


---กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด  การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียก  ได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก  กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้  ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้ โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้า  และเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4


 

*ประวัติของกฐิน


---ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทัน ถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออก พรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝน ยังตกชุกอยู่ เมื่อเดิน ทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาต  ให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถ รับผ้ากฐินได้ ประเพณีทอดกฐินจึงได้เกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา


*ประเพณีทอดกฐินในปัจจุบัน


---พิธีทอดกฐินสามัคคี ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา ณ อาวาสดังกล่าวในช่วงเช้า บางวัดจัดพิธีทอดกฐินต่อจาการตักบาตร ขึ้นในช่วงสายและต่อด้วยการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ บางวัดจัดให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาในช่วงสายเพื่อกลั้นกาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ การทอดกฐินจะทำในช่วงบ่าย  โดยธรรมเนียมแล้ว มักมี “บริวารกฐิน” เพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้ จ่ายภายในวัดเป็นค่าน้ำค่าไฟตลอดทั้งปี รวมทั้งค่าก่อสร้างถาวรวัตถุซ่อมแซมเสนาสนะ และต่อเติมเสริมใหม่กิจการ


---พระศาสนาขยายตัวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ  กิจกรรมที่มาพร้อมกับประเพณี กฐินคือ “ขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน” ซึ่งขึ้นกับ แต่ละวัด แต่ละท้องถิ่นจะบรรลุสิ่งสวยงาม ทรงคุณค่า คู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดพียงปีละครั้ง ริ้วขบวน อาจประกอบด้วย ขบวนธงธิว ถ้าภาคเหนืออาจเป็นตุง ขบวนพานพุ่มดอกไม้ โดยใช้ทั้งสาธุชนและบุตรหลานเยาวชนมา ร่วมขบวน ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของไทยที่หล่อหลอมให้เยาวชนได้เข้าวัดเข้าวาวัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก


*การทอดกฐินเป็นบุญพิเศษที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ คือ


---1.จำกัดกาลเวลา คือ ต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา


---2.จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้นจะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้


---3.จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐินได้จะต้องจำพรรษา ที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป


---4.จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น


---5.จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรม อื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อ  ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า


*การทอดกฐินนั้นได้บุญมาก...


---กฐิน เป็นบุญที่ทำได้ปีละครั้ง เป็นบุญตามกาล คือ ให้ตามเวลาที่ควรจะให้ เช่น ให้กับพระหรือคนที่กำลังเดินทาง หรือให้ ผลไม้ตามฤดูกาลเป็นทาน หรือให้ของกับผู้ที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วย ที่สำคัญการทอดกฐินเป็นการทำบุญกับพระภิกษุที่เพิ่ง จำพรรษาครบ 3 เดือน ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญเป็นอย่างดี และผู้ที่ทำบุญตามกาลเช่นนี้ จะมีผลบุญติดตัวไป คือ ไม่ว่าจะเกิดมา กี่ภพ กี่ชาติ ก็จะเป็นผู้มีสมบัติมาก ได้รับความสำเร็จตามประสงค์ในเวลาที่ต้องการได้โดยง่าย หรือเรียกได้ว่ามีสมบัติมาไม่ ขาดมือ แม้อาจจะไม่ใช่คนรวย แต่หากอยากได้สิ่งใดก็จะได้ดั่งใจ หรือถ้าจะไปอ่านในพระไตรปิฎกเพิ่มเติมก็จะพบว่า


---อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐินนั้น ในชาติที่เกิดมาเจอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย การทอดกฐินจึง  เป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญอย่างมหาศาล


*อานิสงส์บุญทอดกฐินสามัคคี


---1.ทำให้มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์สมบัติ


---2.ทำให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน


---3.ทำให้เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ พบเจอแต่บัณฑิตกัลยาณมิตร เพราะบูชาบุคคลที่ควรบูชา


---4.ทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชน


---5.ทำให้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีความสุขอยู่เสมอ


---6.ทำให้มีจิตใจตั้งมั่นเป็นสมาธิ (Meditation) และเข้าถึงธรรมได้ง่าย


---7.ได้ชื่อว่ารู้จักใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญติดตัวไป ในภพหน้าอย่างเต็มที่


---8.ทำให้มีรูปงาม ผิวพรรณงาม ไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มอันประณีต และเป็นที่รักของบุคคลทั่วไป


---9.ได้บังเกิดในปฏิรูปเทส ภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา


---10.เมื่อละจากโลกมนุษย์แล้วจะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


*ภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ


---1.ไปไหนไม่ต้องบอกลา


---2.ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน


---3.ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้)


---4.เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ


---5.จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว


---การได้ผ้ากฐินแบบมีเจ้าภาพ ถือเป็นคฤหบดีกฐินนั้น เมื่อมีผู้มาทอดผ้า ณ เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดย ไม่ได้เจาะจงถวายแก่รูปใดรูปหนึ่ง คณะสงฆ์ต้องทำพิธีอปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่พระภิกษุรูปใด รูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบ ว่า ผ้ากฐินในปีนี้ควรถวายแก่ภิกษุรูปใด พิธีกรานกฐิน เป็นสังฆกรรมที่คณะสงฆ์ จะทำพิธีกันในพระอุโบสถ โดยพระภิกษุผู้ได้รับการเลือก สรรจากคณะสงฆ์ ว่าเป็นผู้มีสติปัญญา สามารถที่จะกรานกฐินได้.




---ตราบใดที่ เรายังไปไม่ถึงนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต  ชีวิตยังไม่ปลอดภัย อาจมีสุคติและทุคติปะปนกันไป คือบางคนเป็นผู้ไม่ประมาท ฉลาดในการสั่งสมบุญมี สุคติเป็นที่ไป เส้นทางไปสู่นิพพานก็ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ส่วนผู้ประมาททั้งหลาย พอได้โอกาสเป็นมนุษย์แล้ว มัวหลงใหลในชีวิตที่มีประมาณน้อยนี้ ใช้เวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ชีวิตในปรโลกก็มีทุคติเป็นที่ไป เราทั้งหลายได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม  ขอให้ตั้งใจมั่นในการทำความดีในช่วงระยะเวลาที่ไม่ถึง ๑๐๐ ปีนี้ให้เต็มที่ เส้นทางชีวิตของเราจะได้แต่มีความสุข ความปลอดภัย และมีชัยชนะ ไปทุกภพทุกชาติกัน

(กดลิงค์-บน) 

*มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน สัปปุริสสูตร ว่า 

 

---“สัปบุรุษบริจาคทานมากแล้ว ก็ไม่รู้สึกเสียดาย ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้ บัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาคทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน มีแต่ความสุข”


 ---ในปัจจุบัน หลายคนปรารถนาอยากเป็นคนดีของสังคม อยากทำความดี เพื่อจะได้มีสุคติเป็นที่ไป แต่ก็ยังพลาดพลั้งไปทำสิ่งที่ไม่ดีซึ่งเป็นบาปอกุศล ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าใจยังไม่เข้มแข็งพอ ยังไม่เห็นคุณค่าของความดีอย่างแท้จริง บางคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างบารมี ไม่เป็นสัปปายะ จึงไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีคนมาแนะนำพร่ำสอน เลยไม่รู้ว่าเขาทำความดีกันอย่างไร ส่วนคนที่ไม่อยากทำดี เพราะไม่รู้ว่า ความดีคืออะไร ทำไปทำไม ทำแล้วจะได้อะไร เขาคิดเอาเองด้วยความไม่รู้ว่า ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็ดีอยู่แล้ว ไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร และไม่ได้ทำให้สังคมเดือดร้อน ทำให้ประมาทในชีวิต และไม่ขวนขวายในการสร้างความดี เอาเวลาว่างไปเที่ยวเตร่สนุกสนานเพลิดเพลินไปวันๆ  ซึ่งคนในโลกที่คิดกันอย่างนี้มีมาก

 

---ความจริง การที่ตัวเองไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน หรือไม่เบียดเบียนใคร  นั่นเป็นเพียงการละชั่ว เป็นพื้นฐานชีวิตของการเกิดมาเป็นมนุษย์เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ คนเราถ้าไม่ทำบุญ ใจก็มักน้อมไปในบาปอกุศล เพราะในชีวิตของเราก็มีเพียงบุญกับบาปเท่านั้น เป็นเครื่องกำหนดชะตาชีวิต ดังนั้น เป็นมนุษย์จะต้องฝึกตัวให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกคือ ต้องทำความดีให้ถึงพร้อม  เมื่อเรามีความพร้อมในด้านครอบครัว มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะกำหนดเส้นทางชีวิตในปรโลกเอาไว้อย่างไรดี ความดีอะไรบ้าง ที่ต้องขวนขวายสั่งสมเอาไว้ให้มากๆ

 

---หากเราไม่ทำบุญกุศลเอาไว้เลย เสบียงในภพชาติต่อ ไปของเราก็หมดได้เหมือนกัน เหมือนรถราคาแพง แต่หากไม่มีน้ำมันก็วิ่งต่อไปไม่ได้ เราจำต้องหาเสบียงบุญเอาไว้ให้มาก เพราะเส้นทางไปสู่นิพพานนั้น ยังอีกยาวไกลเหลือเกิน ต้องทำใจให้ผ่องใสควบคู่ไปด้วย เพราะนี่คือหลักวิชาที่จะทำให้เราไม่ต้องไปบังเกิดในอบายภูมิ การสั่งสมบุญจึงเป็นหน้าที่หลักที่มนุษย์ทุกคนต้องทำ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องหลักที่ทุกคนควรทำความเข้าใจเอาไว้ให้ดี ชีวิตของเราจะได้ไม่ผิดพลาด บุญนี้เป็นรากฐานของชีวิตที่สำคัญ หลวงพ่อจะ พูดตอกย้ำซํ้าเดิมอยู่บ่อยๆ  พวกเราจะได้ไม่ประมาทกัน  เพราะทุกๆ ชีวิตถูกหล่อเลี้ยงด้วยบุญทั้งนั้นแหละ ถ้าหมดบุญก็ตาย ถ้าใครทำบุญมาก ความสุขความสำเร็จก็มีมาก ยิ่งใครทำถูกเนื้อนาบุญ ผลบุญย่อมบังเกิดขึ้นอย่างมากมายนับประมาณมิได้เลย

 

---เหมือนเรื่องของผู้ที่ได้โอกาสทำบุญกับพระอรหันต์ ทำให้มีสุคติเป็นที่ไป ซึ่งหลวงพ่อจะได้นำมาเล่าเพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างบารมีของพวกเราทุกๆ คน เรื่องก็มีอยู่ว่า 

 

---สมัยพุทธกาล ในกรุงราชคฤห์ มีชายชราเข็ญใจคนหนึ่งชื่ออัมพปาละ แปลว่าคนเฝ้าสวนมะม่วง ชายเข็ญใจท่านนี้ รับจ้างเฝ้าสวนมะม่วงของคนอื่นแลกกับอาหารเพื่อประทังชีวิตไปวันๆ นายอัมพปาละพอทราบว่า ในเมืองนี้มีพระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้มหาชนฟัง และมีพระอรหันต์ผู้หมดกิเลส มีฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ก็อยากจะไปเข้าเฝ้า และถวายภัตตาหากับ พระพุทธเจ้าบ้าง แต่ก็ยังไม่มีโอกาสจะได้ไปวัดพระเชตวันเหมือนคนทั่วไป เพราะความยากจนเป็นเหตุ จึงได้แต่คิดด้วยจิตที่เป็นกุศลอยู่ในใจ

 

---วันหนึ่งท่ามกลางอากาศที่ร้อนกว่าปกติ ขณะที่พระสารีบุตรมีเหงื่อท่วมกายกำลังเดินบิณฑบาตด้วย ความสงบเสงี่ยมผ่านสวนมะม่วงที่นายอัมพปาละดูแลรักษาอยู่ นายอัมพปาละเห็นพระเถระก็เกิดความเคารพเลื่อมใสมาก ได้เดินเข้าไปหาพร้อมกับกล่าวเชื้อเชิญว่า ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดมานั่งพักใต้โคนต้นมะม่วงให้หายเหนื่อยก่อนเถิด หายเหนื่อยเมื่อไหร่ค่อยไปต่อ ได้โปรดอนุเคราะห์คนแก่อย่างผมด้วยเถิด แล้วก็หาหญ้ามาปูและเอาผ้าปูทับอีกทีหนึ่ง เพื่อทำเป็นอาสนะให้กับพระเถระได้นั่งพักผ่อน พระเถระเห็นความตั้งใจของชายชราจึงเข้าไปนั่งพัก

 

---อัมพปาละอยากได้บุญกับพระเถระมาก อยากนำมะม่วงมาถวาย แต่ก็กลัวถูกเจ้านายหาว่าเป็นลูกจ้างที่ไม่ซื่อสัตย์ เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย จึงได้ไปตักน้ำมาจากบ่อ จัดแจงให้ท่านได้สรงน้ำ จะได้สบายตัว พระเถระก็ฉลองศรัทธาด้วยการสรงสนาน และดื่มน้ำที่คนยากไร้แต่จิตใจงดงามนำมาถวาย จากนั้นก็กล่าวอนุโมทนาให้ศีลให้พร แล้วก็หลีกไป

 

---นายอัมพปาละดีใจมากที่ได้ถวายน้ำให้พระเถระได้สรงและได้ดื่ม นึกถึงทีไรก็ปลื้มใจทุกที เพราะตลอดชีวิต ตนเองก็ไม่เคยได้ทำบุญกับพระอรหันต์มาก่อนเลย ภายหลังเมื่อทำกาลกิริยาแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานเป็นทองสว่างไสว มีเสาเป็นแก้วมณีใหญ่โตมาก

 

---วันหนึ่งพระโมคคัลลานะเหาะขึ้นไปบนสวรรค์ ได้เห็นวิมานของนายอัมพปาละก็เข้าไปถามว่า "วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง ล้วนสำเร็จด้วยเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่งดงาม ท่านนั่งและดื่มกินในวิมานนั้น พิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ ในวิมานนี้ มีกามคุณห้ามีรสอันเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่งองค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ ท่านทำบุญอะไรไว้จึงได้วิมานใหญ่โตเช่นนี้"

 

---อัมพปาลเทพบุตรกราบเรียนด้วยความปลื้มปีติทีเดียว ปกติเทวดาสามารถ จะระลึกชาติหนหลังของตัวเองได้หนึ่งชาติ เป็นเทวฤทธิ์ที่เกิดขึ้นด้วยบุญ เหมือนฤทธิ์ของนกคือบินไปในอากาศได้ ซึ่งตลอดชีวิตที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทพบุตรนึกถึงบุญอะไรก็ไม่ออก เพราะความยากจน เลยเอาแต่รับจ้างคนอื่นทำมาหากิน คิดแต่เพียงจะเอาชีวิตรอดไปวันๆ  นึกออกเพียงเรื่องเดียว คือการถวายน้ำสรงสนานและน้ำดื่มแด่พระสารีบุตรเถระ จึงกราบเรียนให้พระเถระได้ทราบทุกอย่างด้วยความปีติใจ พระเถระได้ฟังแล้วก็อนุโมทนา จากนั้นก็เหาะไปเยี่ยมวิมานของเทพบุตรเทพธิดาท่านอื่นๆ ต่อไป  


---เราจะเห็นว่า โอกาสในการสั่งสมบุญของบางคนนั้นยากเหลือเกิน เพราะบางคนแม้มีศรัทธาอยากทำบุญมาก มีพระมาโปรดถึงบ้าน แต่ไทยธรรมที่จะถวายกลับไม่มี ความยากจนเป็นอุปสรรคทำให้การสร้างบารมีติดขัด บารมี ๑๐ ทัศก็เต็มเปี่ยมยาก  หลวงพ่ออยากให้ลูกๆ ทุกคนเลิกยากจน จึงหมั่นชักชวนทำบุญไม่ได้ขาด อย่าอยากจนกันเลย ให้เปลี่ยนมาเป็นรวยทุกชาติกันดีกว่า คือรวยบุญรวยบารมี และก็มีสมบัติไว้ใช้สร้างบารมีอย่างสะดวกสบาย

 

---ในช่วงนี้ โอกาสยังเป็นของเราอยู่ ให้เราตักตวงบุญกันให้เต็มที่ คนที่ยากจนในปัจจุบันนี้ คืออดีตคนเคยรวยมาก่อน คือรวยแล้วไม่ทำทาน มัวหวงแหนทรัพย์เอาไว้ ความตระหนี่นั่นแหละเป็นสาเหตุให้ยากจน ความตระหนี่จะผลักสมบัติของเราออกไป แล้วดึงความยากจนเข้ามาแทนที่ ถ้าไม่อยากจนก็ต้องให้ทาน แล้วความจนก็จะไม่เกิดขึ้นกับเราอีก  ดังนั้น ก็ให้เราหมั่นสั่งสมบุญกันให้เต็มที่ ทั้งทาน ศีล ภาวนากันทุกคน.



*พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์*

(ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)


 .........................................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 30 กันยายน 2558


Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,700,268
เปิดเพจ11,862,231
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view