/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

บายศรี

บายศรี

บายศรีมี 2 ชนิด คือ



 




*บายศรีหลวง ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์มี ๓ แบบ  คือ


---๑.๑บายศรีสำรับเล็ก  มีบายศรีแก้ว มีลักษณะเป็นพานแก้ว ๓ ชั้นกับบายศรีทอง มีลักษณะคล้ายพานทอง ๓ ชั้น และบายศรีเงิน มีลักษณะเป็นพานเงินซ้อนกัน ๓ ชั้น เป็นขนาดเล็ก ตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีทองอยู่ข้างขวา บายศรีเงินอยู่ข้างซ้ายของเจ้าของขวัญ สำหรับทำขวัญในงานเล็กน้อย


---๑.๒บายศรีสำรับใหญ่  มีลักษณะเหมือนบายศรีสำรับเล็ก แต่ขนาดใหญ่ มีชุดละ ๕ ชั้น ใช้สมโภชในการอย่างใหญ่


---๑.๓บายศรีตองรองทองขาว  เป็นบายศรีใหญ่ ทำด้วยใบตอง ตั้งบนพานทองขาว


*บายศรีราษฎร เป็นบายศรีสำหรับประชาชนทั่วไป แบ่งออกได้ตามขนาดของบายศรี ๓ ขนาด คือ


---๒.๑บายศรีปากชาม  ทำด้วยใบตอง มีตัวบายศรี ๓ ตัว กรวยข้าว และแมงดา  ๓ ตัว  ประกอบลงในชาม


---๒.๒บายศรีใหญ่  ทำด้วยใบตอง จัดวางในภาชนะ พานหรือโตก มีจำนวนชั้นของพานตั้งแต่ ๑   ๓ และ ๕ ชั้น ตามแต่งานพิธี


---๒.๓บายศรีต้น ทำด้วยใบตอง ใช้ต้นกล้วยเป็นแกน ประกอบขึ้นเป็นชั้นเรียวสูงในลักษณะสามเหลี่ยม บนยอดมีกรวยหรือพุ่ม ในปัจจุบันใช้ไม้หรือเหล็กทำเป็นโครงแกนไว้  จำนวนชั้นที่นิยมทำบายศรีต้น  ๓ ๕  ๗ และ ๙  ตามแต่งานพิธี


---บายศรีมีหลายรูปแบบ มีวิธีการประดิษฐ์ที่แตกต่างกันออกไปถึงแม้จะเรียกชื่อเดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่าง ในเรื่องของรูปแบบ รูปทรง จำนวนชั้นของบายศรี บายศรีบางอย่างมีรูปทรงหรือ รูปแบบการจัดวางที่เหมือนกัน ทุก ประการบางทีก็เรียกชื่อไม่เหมือนกัน แม้กระทั้งวัตถุประสงค์ การนำไปใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อของท้องถิ่น นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากบายศรีมีรูปแบบ ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นจะประดิษฐ์คิดค้น เพื่อประโยชน์การ ใช้งาน ที่แตกต่าง กันออกไป จึงขอยกบายศรี  ที่นิยมประดิษฐ์และนิยมใช้ในพิธีหรืองานต่าง ๆ ที่พบเห็นมากและเป็นรูปแบบ รูปทรง ที่คล้ายคลึงกันทั้งจำนวนชั้น ของบายศรี การจัดวางลงภาชนะ ประโยชน์การใช้งาน มานำเสนอดังนี้


1. บายศรีปากชาม


2. บายศรีเทพ


3. บายศรีพหรม


4. บายศรีสู่ขวัญ


5. บายศรีต้น

(กดลิงค์-บน)

*1.บายศรีปากชาม


---บายศรีปากชาม จัดเป็นแม่แบบของบายศรีแบบอื่นๆ องค์บายศรีใช้ใบตองตานีเย็บพับจับจีบ กลางองค์บายศรี ทำเป็นกรวย ภายในกรวยใส่ข้าวตอกดอกไม้ ยอดกรวยประดับด้วยไข่ต้ม รอบ องค์ บายศรี ประดับดอกไม้มงคล บายศรีจัดตั้งอยู่บนปากชาม ถ้าประดับตกแต่งมาก จนวิจิตรอาจเรียกว่า เป็นบายศรีปากชามทรงเครื่องบายศรีปากชาม เป็นบายศรี ขนาดเล็ก ใช้ชามขนาดย่อมๆ ใบงามๆ เช่น ชามเบญจรงค์ ถ้าหาชามที่สวยไม่ได้ก็ใช้ต้นกล้วยตัดเป็นท่อน


---แทน ชาม เมื่อเสร็จพิธีก็นำไปจำเริญ หรือทิ้ง ไปเลย ปัจจุบันนิยมจัดใส่พานเงินพานทองบายศรีปากชามนี้มีตั้งแต่ 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น (จำนวนเกร็ด ,นิ้ว,กาบ) ตามแต่ขนาดของภาชนะและขนาดของพิธีตามฐานะของครอบครัว หรือขนาดของโรงพิธี ซึ่งเป็นงานของหมู่คณะ เช่น พิธีบวงสรวง สังเวย บูชาครู เทพยดา อารักษ์ทั่ว ๆ ไป

 

*ความหมายของชั้นบายศรี


---ความหมายของชั้นมิได้มีการกำหนดไว้ตายตัว หากแต่เป็นเพียง ผู้ที่ประดิษฐ์บายศรีมีความเชื่อ ศรัทธา ต่อ สิ่งใดแล้ว ก็มักจะน้อมนำคำสอนหรือความเชื่อต่าง ๆ มาประดิษฐ์บายศรีเป็นชั้นๆ และแปล ความหมาย ตามนัย ที่ตนประสงค์ต่อสิ่งศรัทธานั้น ๆ ตัวอย่างเช่น


---3ชั้น เพื่อระลึกถึง พระรัตนตรัยมีองค์ 3 ในศาสนาพุธ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือเทพเจ้า 3 พระองค์ ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม


---5ชั้น เพื่อระลึกถึง ขันธ์ทั้ง 5 หรือ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


---7ชั้น เพื่อระลึกถึง โพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการ ตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา (พจนานุกรมพุธศาสตร์ : 239)


---9ชั้น เชื่อเป็นมงคลสูงสุดในการดำเนินชีวิตจะได้ก้าวหน้ารุ่งเรือง ไม่ว่าจะทำการใดๆ มักนิยมเลข 9 มากกว่า เลขอื่น เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ 9 หรือคุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ หรือ นวารหาทิคุณ ได้แก่ 1. อรหัง (เป็นผู้ บริสุทธิ์ไกล จากกิเลส เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับ ความเคารพบูชา) 2. สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง) 3. วิชชา จรณสัมปันโน (เป็นผู้พร้อมด้วยวิชชาคือความรู้ และจรณะคือความประพฤติ) 4. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว) 5. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก) 6. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ (เป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยมไม่มีผู้ใดเทียมเท่า) 7. สัตถา เทวมนุสสานัง (เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) 8. พุธโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือ และข้อปฏิบัติที่ถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วยฯ) 9. ภคว (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วง ปลอดภัยทุกประการ) (พจนานุกรมพุทธศาสตร์:262-263)



---ส่วนในบายศรีแบบอื่น ๆ ที่ประดิษฐ์ อาจมีมากกว่า 9 ชั้น แล้วแต่รูปแบบของบายศรีและ มีความหมาย ที่แตกต่างกันออกไป

*ประโยชน์ของพานบายศรีปากชาม


---บายศรีปากชาม ใช้ในการไหว้ครู ใช้ในงานบวงสรวง สังเวย บูชาเทวาอารักษ์ ใช้ในพิธีไหว้ครู ของศิลปิน เป็นช่าง ทุกสาขา พิธีการรับขวัญ พิธีฉลองต่างๆ พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร ขับร้อง ฟ้อนรำ ในการทำพิธีบูชาครูประจำปี หรือ การบูชา ก่อนจะมีการแสดงครั้งสำคัญนั้น ต้องมีการตั้งเครื่อง สังเวย บายศรี อัญเชิญบรรดาครูทั้งหลายมาอวยชัยให้พร เริ่มจากปฐมบรมครูคือ สมเด็จพระบรมศาสดา มารดาบิดา คู่สวดอุปัชฌาย์ ครูอาจารย์ที่ให้สรรพวิชาหาเลี้ยงจนทุกวันนี้ ท้าวมหาพรหม บรมมหา เทวราช ผู้สร้างมนุษย์โลก พระอิศวรจอม เทวาวรฤทธิ์ ผู้ตรองสกลพิภพ พระนารายฯ พระอินทร์ พระขันธกุมาร พระพิฆเกณศร์ พระปรปคนธัพ พระปัญจะสังขร พ่อแก่ พระพิราพ พระวิศวะกรรม ฯลฯ โดยปรกติต้อง มีบายศรีปากชาม 7-9 ชั้น 3 คู่ วางเป็นคู่ ๆ ที่ตั้งเครื่องสังเวย 3 สำรับจะลดจำนวน หรือจัดทำบายศรีใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับ โรงพิธี  ดอกไม้ที่ใช้ประดับตกแต่ง บายศรีปากชาม ตกแต่งด้วย ดอกไม้ที่มีสีสันงดงามและมีความเชื่อว่าเป็นสิริมงคล เช่น ดอกบัว ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย

 

*2.บายศรีเทพ


---บายศรีเทพที่นิยมประดิษฐ์ส่วนมากจะมี รูปแบบ คือ ประกอบด้วยตัวบายศรี 9 ชั้น ทั้งหมด 8 ตัว องค์บายศรี ใช้ใบตองตานีเย็บพับจับจีบ กลางองค์บายศรีทำเป็นกรวย ภายในบรรจุข้าวตอกดอกไม้ กล้วยน้ำว้า รอบองค์บายศรี ประดับด้วยดอกไม้มงคล ห้อยอุบะดอกรัก ประดับยอดด้วย ดอกดาวเรือง และดอกบัว บายศรีเทพใช้การบูชาเทพยดาเจ้า ทั้งหลายใช้บูชาเป็นคู่บางตำราอาจใช้ตัวบายศรีองค์ แม่ 9 ชั้น จำนวน 4 องค์ และใช้องค์ลูก 7 ชั้น อีก 4 องค์ส่วนการเรียก ชื่อบางคน อาจคิดว่าบายศรีเทพ และบายศรีพรหม เป็นพานเดียวกันเลยเรียกว่าบายศรี พรหม - เทพ  การตกแต่งพานบายศรีเทพ


---การประดับตกแต่งบายศรีเทพ มักตกแต่งด้วยดอกไม้มงคล เช่น ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกกุหลาบ ตกแต่งส่วน กรวย ด้วยการ ใช้มาลัยชำร่วยคล้อง ปักด้วยดอกบัวหรือดอกดาวเรือง ส่วนมุมทั้ง 4 ของปาก พานตกแต่ง ด้วยอุบะปิดทับ ด้วยดอกบัว หรือดอกดาวเรือง แล้วแต่ความต้องการและความสวยงาม

 

*3.บายศรีพหรม


---บายศรีพรหมเป็นบายศรีที่จัดลงในพานทอง ใช้ในงานพิธีใหญ่ ๆ นิยมใช้เป็นคู่ เช่นเดียวกับ บายศรีปากชาม บายศรีพรหมประกอบด้วยองค์บายศรี 9 ชั้น 4 องค์ และองค์บายศรี 16 ชั้น 4 องค์

 

---บายศรีพรหมใช้ในการทำพิธีบูชาเทพยดาเจ้าในเทวโลกและพระพรหม ตลอดจนรูปพรหมทุก ๆ องค์ในชั้นพรหมโลก บายศรีพรหมยังจัดแบ่งเป็นบายศรีมหาพรหม บายศรีกบิลพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า และอีกมาก แต่โดยทั่วไปจะนิยม ใช้องค์บายศรี 9 ชั้น 4 องค์ และองค์บายศรี 16 ชั้น 4 องค์ บางท้องถิ่นจะเพิ่มองค์บายศรี 15 ชั้นอีก 4 องค์ โดยมีความหมายเพิ่มขึ้นว่าบูชาเทวดาทั้ง 16 ชั้นฟ้า และ 15 ชั้นดินผู้ที่จะยกบายศรีพรม ไหว้เทพยดาหรือ องค์พรหม สิ่งที่ขาด ไม่ได้ คือต้องใส่ปัจจัยลงไปใน พานบายศรีด้วย จะเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ไม่ได้กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นพิธีมัก จะเก็บบูชา ไว้ 3 - 7 วัน จึงลาบายศรี แล้วนำไปลอยน้ำฝากแม่พระคงคา เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ปัจจัยก็จะนำไปทำบุญ หรือซื้อของใส่บาตร


---การตกแต่งพานบายศรีพรหมขั้นตอนท้ายสุดให้เสริมด้วยด้านล่างตกแต่งด้วยดอกไม้สิริมงคล เช่น ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ การตกแต่งส่วนกรวยประกอบตรงกลางบายศรี โดยใช้ดอกบัว ดอกดาวเรือง หรืออาจเป็นมาลัยของชำร่วย ตกแต่งให้สวยงามและตรงกับความต้องการ


*4.บายศรีสู่ขวัญ


*บายศรีสู่ขวัญ


---เป็นบายศรีขนาดใหญ่จัดวางใส่ภาชนะวางซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป ใช้ในพิธีสู่ขวัญให้กับคน สิ่งของ ธรรมชาติ แล้วแต่ความเชื่อของท้องถิ่นนั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น


*บายศรีสู่ขวัญบางกอก


---เป็นบายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ในภาชนะรูปพานซ้อนกัน 5 ชั้น ใช้ในพิธีสู่ขวัญ สมโภชของชาวภาคกลาง ประกอบด้วยตัวบายศรีชั้นละ 5 ตัว แต่ละชั้นลดหลั่น กันมีพุ่มกรวยยอดบายศรี ตกแต่งด้วยดอกดาวเรือง บางทีเรียกว่าบายศรีดาวเรือง


*บายศรีสู่ขวัญภาคอีสาน


---บายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ใส่ในภาชนะขนาดใหญ่ เช่น โตกโดยซ้อนเรียงกัน 3 ชั้น ใช้ใน พิธีสู่ ขวัญของชาวอีสาน ประกอบด้วย ตัวบายศรีวางสับ-หว่างกันในภาชนะแต่ละชั้น ประดิษฐ์ใน หลาย รูป แบบแตกตามตามโอกาสการใช้งาน ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก ดาวเรือง กุหลาบ พุด ฯลฯ


*บายศรีสู่ขวัญกำแพงเพชร


---บายศรีขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ในภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใช้ในพิธีสู่ขวัญ สมโภช และบูชาพระบรมธาตุ ประกอบด้วยตัวบายศรี และกำแพงแก้วทุกชั้น ดอกไม้ใบไม้มงคล

 


*บายศรีสู่ขวัญภาคเหนือ


---บายศรีชั้นเดียวขนาดใหญ่ จัดประดิษฐ์ในขันน้ำพานรอง ใช้ในพิธีสู่ขวัญของชาวภาคเหนือ ประกอบด้วย ตัวบายศรี 6 ตัว และดอกไม้ใบไม้มงคลสีสันสดใส


*โอกาสการใช้บายศรีสู่ขวัญ


---ช่วงเวลา พิธีบายศรี-สู่ขวัญ สามารถทำกันได้ทุกเวลาไม่มีข้อกำหนดหรือข้อยกเว้น หรือข้อห้ามไม่ให้ปฏิบัติจัดทำ การบายศรี-สู่ขวัญ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล นิยมจัดทำกันในโอกาสอันเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค แต่งงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง พระภิกษุเลื่อนสมณศักดิ์ หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือมาสู่ท้องที่ จะต้องเดินทางไกล ย้ายที่อยู่ เป็นพิธีมงคลที่นิยมทำกันมากทั้งในงานเล็กน้อยภายในครอบครัว หรือจัดเป็นพิธีใหญ่โต ตามฐานะ


---พิธีสู่ขวัญ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า บายศรี จัดทำกันดังนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่จะช่วยกันจัดทำพานขวัญ (พานบายศรี) นิยม ใช้ใบตองจับจีบตามแบบโบราณจัดใส่พาน จะเป็นพานขวัญธรรมดา 3 ชั้น 5 ชั้น ชั้นล่างมีบายศรีดอกไม้ ข้าวต้ม ขนม กล้วย ชั้นที่ 2,3,4 มีบายศรีดอกไม้ ชั้น 5 มีบายศรีดอกไม้ ฝ้ายผูกแขน เทียนเวียนหัว 7 ชั้น จัดพานรอง 3 ชั้น บายศรี 4ชั้น แล้วจัดพานอีกใบหนึ่งสำหรับใส่ผ้าผืนแพรวา แว่น หวี น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ส่วนประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ หมาก พลู บุหรี่ อาหาร ข้าวต้ม ขนมหวาน ไก่ต้ม สุรา จัดวางประกอบไว้อย่างสวยงาม พร้อมด้วยเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ


---พิธีจะเริ่มด้วยการแห่พานบายศรีเป็นขบวนฟ้อนนำพานบายศรีออกมาตั้งบนตั่งที่ปูผ้าขาวรองไว้ จากนั้นหมอสูตรขวัญ (พราหมณ์) จะเป็นผู้สวดชุมนุมเทวดา จุดเทียนเวียนหัวจุดธูปกราบพระพุทธรูป และพระสงฆ์ มีคู่สู่ขวัญเอามือขวาจับด้ายสายสิญจน์ เจ้าของขวัญจับพานขวัญผู้สวดป่าวประกาศเชิญขวัญอวยพร แล้วผูกข้อมือเป็นอันเสร็จพิธี


---การบายศรีสู่ขวัญทำขึ้นเพื่อเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว อวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข อายุมั่นขวัญยืน เจริญก้าวหน้า ประสบโชคชัย ปลอบประโลมจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงปราศจากความหวาดกลัว เดินทางก็ให้ปลอดภัย


*5.บายศรีต้น


---บายศรีต้น บายศรีตั้ง หรือบายศรีชั้น ใช้ต้นกล้วยเป็นแกนต่อมามีการคิดทำแกนให้ถาวรและมั่นคงยิ่งขึ้นจึงใช้ไม้ เนื้อแข็งเกลากลึง เป็นต้นมี 3-5-7 และ 9 ชั้น บายศรีต้นในแต่ละภาคมีการประดิษฐ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บายศรีต้นถือเป็นบายศรีขนาดใหญ่จัดทำอยากต้องใช้ความพยามและความอดทดในการทำ บายศรีต้น จะประดิษฐ์ บายศรีในหลายรูปแบบ เช่น พับเป็นกลีบบัวสัตตบงกช กลีบผกา กลีบหน้านาค กลีบหน้าช้าง กรวย ฯลฯ จัดวางลงใน ฐานรอง มีขนาดลดหลั่นกันไป บายศรีต้นจะมีรูปแบบเป็นทรงต้นสน ทรงฉัตร และทรงตรง


---โอกาสการใช้บายศรีต้น โอกาสในการใช้บายศรีต้นจะใช้สำหรับผู้ที่มีศักดินาสูง ใช้ในพิธีสู่ขวัญโดย ครูบาอาจารย์ได้กำหนดไว้ดังนี้


---บายศรีต้น     3     ชั้น ใช้เป็นเครื่องสมโภช สังเวยในพิธีมงคลต่างๆ หรือสู่ขวัญในพิธีสมรส ของชั้นหลาน เจ้านายฝ่ายเหนือ ใช้ในพิธีสมรสของชั้นหลานเจ้านายฝ่ายเหนือ


---บายศรีต้น     5     ชั้น ใช้ในพิธีต่าง ๆ สำหรับเจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี บายศรีต้นนี้เป็น บายศรีที่เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า บายศรีตองรองทองขาว ซึ่งแต่ละชั้นของบายศรีจะบรรจุด้วยขนมหวาน หรือดอกไม้ที่มีชื่อ เป็นมงคล


---บายศรีต้น     7     ชั้นใช้สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บายศรีต้นกลีบหน้านาคแต่ละชั้นจะประดับด้วยดอกบัวใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูป

 

---บายศรีต้น     9     ชั้น ใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในพิธี หรือพระราชพิธี....


*พิธีที่เป็นมงคลต่างๆ ใน ความสำคัญของ "การบายศรี"


---“ ครบรอบ ๕๐ ปีพระบารมีคุ้มเกล้าชาวอุบลฯ ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอุบลราชธานี ปี 2498 ยังความปราบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดทรงใกล้ชิดกับราษฎรเช่นนี้ ได้ร่วมใจกันจัดพิธีบายศรี เฉลิมพระขวัญล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ณ พระอุโบสถ วัดสุปัฎนารามวรวิหาร


---“ การบายศรี ” ทีทั้งศิลปะและวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวอีสาน แต่ครั้งโบราณกาล เป็นประเพณีอันดีงามสืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน


---“ การบายศรีสู่ขวัญ ” เป็นกุศโลบายให้คนมีน้ำจิตน้ำใจอันใสบริสุทธิ์แสดงมุทิตาจิตต่อกัน เพื่อรวมจิตรวมใจให้แก่ผู้ที่จะ “ สู่ขวัญ ” อันเป็นที่รัก เคารพ นับถือ ศรัทธาและบูชาสูงสุด เช่น ชาวอุบลฯ รวมน้ำใจ “ ถวายขวัญผูกข้อพระกร ” เป็นการ “ เฉลิมพระขวัญ ” ล้นเกล้า ทั้งสองพระองค์ ที่วัดสุปัฎนารามวรวิหาร เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2498 เป็นศุภวาระครบ 50 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอุบลราชธานี


---เราน่าจะศึกษาว่าพิธีการอันสำคัญนี้ มีความหมาย และมีความเป็นมาอย่างไร ดังนี้


*พิธีการบายศรีสู่ขวัญ


---ความหมายของขวัญ คำว่า “ ขวัญ ” ตามที่เข้าใจกันมีความหมายเป็นนามธรรมอันหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คล้ายกำลังของจิตนิยมกันว่ามีอยู่ในตัว หรือประจำชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดขึ้นมา และเชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย ทำให้จิตใจมั่นคงตลอดปลอดภัย ถ้าหากตกใจหรือขวัญเสีย ขวัญก็มักออกจากร่างอาจทำให้คนได้รับผลร้ายหรืออันตราย การสู่ขวัญเป็นพิธีเรียกขวัญตามความหมายนี้ นอกจากนี้คำว่า “ ขวัญ ” ยังใช้เป็นคำเรียกสิ่งอันเป็นที่รัก หรือที่ดีอีกด้วย เช่น ขวัญใจ ขวัญตา เมียขวัญ จอมขวัญ ขวัญเมือง ฯลฯ เป็นต้น


*ความหมายบางคำเกี่ยวกับพิธีบายศรีสู่ขวัญ


---คำว่า “ บายศรี ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธีทำขวัญ หรือ สู่ขวัญ จัดตกแต่งให้สวยงาม เป็นพิเศษด้วยใบตอง และดอกไม้สด มีข้าว ขนม ข้าวต้มเป็นเครื่องประกอบอันสำคัญ การทำพิธีเรียกขวัญ จึงเรียกว่า “ บายศรีสู่ขวัญ ”


---คำว่า “ พาขวัญ ” เป็นภาษาอีสาน มีความหมายเช่นเดียวกับ “ พานบายศรี ” มีการแต่งพาขวัญพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ เหมือนกัน


---การสู่ขวัญ หรือสูตขวัญ การสู่ขวัญหรือสูตขวัญของชาวอีสาน คงวิวัฒนาการมาจากพิธีพราหมณ์ เพราะบรรพบุรุษเคยนับถือทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ การสู่ขวัญเป็นเรื่องเกี่ยวกับขวัญและจิตใจ เพื่อหาทางก่อให้เกิดขวัญหรือกำลังใจดีขึ้น ชาวอีสานเห็นความสำคัญทางจิตใจมาก ดังนั้น วิถีการดำเนินชีวิตแทบทุกอย่างจึงมักจะมีการเรียกร้องพลังทางจิต จะได้ช่วยให้มีพลังใจเข้มแข็ง สามารถฟันฝ่าอุปสรรคหรือภัยพิบัติได้นั้นเอง จึงเป็นประเพณีถือปฏิบัติยั่งยืนมาจาสมัยนี้


---การสู่ขวัญเป็นประเพณีโบราณที่บรรพบุรุษได้เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อๆ กันมาช้านาน โดยเชื่อว่า เป็นสิริมงคลแก่การเป็นอยู่หรือช่วยให้เกิดมงคลและอยู่ด้วยความสวัสดีมีชัย มีโชคลาภยิ่งขึ้น ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยความราบรื่นและอาจดลบันดาลให้ผู้ที่เคราะห์ร้าย หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวงด้วย แต่การสู่ขวัญต้องอาศัยคนเฒ่าคนแก่ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ฉลาดหรือผู้รู้วิธีทำ ซึ่งเรียกว่า “ หมอขวัญ ” หรือ “ พราหมณ์ ” สู่ขวัญให้ จึงจะเป็นสิริมงคลได้ผลดีสมความปรารถนา ถ้าหากทำไปสักแต่ว่าทำไม่มีพิธีการอันแนบเนียนก็จะมีผลน้อย เพราะการทำพิธีนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาอย่างหนึ่งด้วย ถ้าผู้ทำเป็นผู้ฉลาดในพิธีการ ตั้งอกตั้งใจทำจริงๆ มุ่งหวังให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับขวัญของผู้รับการสู่ขวัญจริงๆ อย่างนี้จึงจะได้รับประโยชน์จากการสู่ขวัญนั้น


---สาเหตุที่มีการสู่ขวัญ เหตุที่จะมีการสู่ขวัญปกติมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ เพราะปรารภในเหตุที่ดีอย่างหนึ่ง และปรารภในเหตุไม่ดีอย่างหนึ่ง การสู่ขวัญเนื่องในเหตุที่ดี ก็ได้แก่ การทำเนื่องในการได้รับโชคลาภ หรือสิ่งที่พึงพอใจ เช่น ไปค้าขายได้เงินทองมามาก ได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ แต่งานใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ เจ้านายหรือผู้ใหญ่ที่เคารพไปมาหาสู่ จากบ้านไปนานแล้วมาเยี่ยมบ้าน ได้ลาภพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ส่วนเหตุในทางไม่ดี จัดการสู่ขวัญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้หายเสนียดจัญไรต่างๆ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือหายจากป่วย ได้รับความตกใจหรืออกสั่นขวัญหายจากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เคราะห์ร้ายเสียทรัพย์สินเงินทองเกิดถ้อยร้อยความ สัตว์หรือสิ่งของหายแล้วได้คืนมา เป็นต้น ก็ทำการสู่ขวัญเพื่อเรียกขวัญ หรือเชิญขวัญมา เพื่อให้ขวัญผู้นั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว จะได้ทำจิตใจของผู้นั้นมีความสุขสบาย หรือหายจากเคราะห์เข็ญต่างๆ


---เมื่อทราบความหมายและความเป็นมาของ “ การบายศรี ” แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายกับ “ พานบายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” แต่ขนาดเล็กว่า เรียกว่า “ ขันหมากเบ็ง ” อยากทราบว่าคืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร อ.มนัส สุขสบาย ได้อธิบายไว้ ดังนี้


*ขันหมากเบ็ง


---ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ) ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์


---ขันหมากเบ็ง คือพานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา 5 อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ 5 คู่ ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สูง 6- 8 นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง 5 อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงาม

---ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก)


*วิธีการใช้ขันหมากเบ็ง-เบญจ์


---ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย


---ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม ไหว้ครู บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)


---บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตามหลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)


---เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณาเบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


---รูป คือ ร่างที่คลุมรวมกันไว้ด้วยธาตุ 4 อันเป็นส่วนที่ปรากฏด้วยตา


---เวทนา การเสวยอารมณ์ รู้สึกสุข เดือดร้อน เจ็บ แค้นใจ เบิกบาน เฉยๆ


---สัญญา รู้และจำอารมณ์ที่ผ่านอวัยวะทั้ง 6 เข้ามาแล้วบันทึกไว้ในใจ


---สังขาร สภาวะปรุงแต่งวิญญาณ ผู้ก่อกรรมเกิดรูปนามติดต่อไป


---วิญญาณ รู้แจ้งอารมณ์ภายในที่สัมผัสปัจจัยภายนอก


*พ่อบำเพ็ญ ณ อุบล*


---ได้อรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า นอกจากใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการระบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังใช้ในการกราบไหว้ผู้ที่เคารพอย่างสูงอีกด้วย โดยมีเหตุผลว่า


---การกราบโดยทั่วไป เป็น “ นามธรรม ” (เพราะเมื่อกราบเสร็จเหตุการณ์ก็ผ่านไป)


--การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง เป็น “ รูปธรรม ” เพื่อให้การกราบคงอยู่ในรูปขันหมากเบ็ง ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่องเบ็ญจขันธ์  เวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวอุบลฯ ได้ใช้ขันธ์หมากเบ็งเพื่อสักการบูชา ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น ในงานต่างๆ เช่น


---สักการะเทียนหลวงพระราชทาน งานประเพณีแห่เทียนพรรษา


---การบวงสรวงสักการะพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้สร้างเมืองอุบล/เจ้าเมืองคนแรก


---ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ งานพิธีบายศรีเฉลิมพระขวัญฯ ภาพจำลองเคลื่อนที่ งานแห่เทียนพรรษาฯ


---ถวายสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “ งานราชภัฎมหกรรมวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี ด้านวัฒนธรรม ” 13 สิงหาคม 2547


*นอกจากนี้ยังใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการบูชาในวาระสำคัญต่างๆ อีกด้วย


---อาจจะกล่าวโดยสรุปด้วยได้ว่า “ การบายศรีสู่ขวัญ ” และการสักการบูชาด้วย “ ขันหมากเบ็ง ” ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นประเพณี และปฏิบัติสืบเนื่องมาตลอดถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาวอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ชำนาญการในการจัดทำ “ พานบายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง ” มีจำนวนน้อย และอายุมากแล้ว ควรที่จะมีการสืบทอดจัดกิจกรรม “ การพัฒนาอาชีพบายศรีอีสานแบบบูรณาการสู่ชุมชน ” เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานโดยนำมาประยุกต์กับ ศิลปะยุคใหม่ให้เกิดความประณีตสวยงาม อ่อนช้อย สร้างอาชีพ ให้เกิดรายได้แบบยั่งยืน เป็นการส่งเสริม “ วัฒนธรรมาชีพ ” ก่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ตลอดไป


---ความสำคัญในการ “ บายศรี ” หรือ “ พาขวัญ ” และ “ ขันหมากเบ็ง ” สิ่งที่ต้องใช้มากที่สุดคือ “ ใบตอง ” ซึ่งต้องใช้ฝีมือ ความชำนาญ ความประณีตเป็นพิเศษ การเลือกใบตองจะต้องอ่อน แก่ พอๆ กัน สีจะได้เสมอกัน ต่อด้วยการพับ การรีดตองให้เป็นรูปที่ต้องการ พับตองสวยงามแล้วเอาแช่น้ำสารส้มไม่ให้ใบตองเปลี่ยนสี ถึงเวลาเอามาผึ่ง แล้วทาน้ำมันมะกอกให้ใบตองขึ้นเงา


---สภาวะของ “ ใบตอง ” ในพานบายศรีกับเมื่อเสร็จงานแล้ว แตกต่างกันอย่างไร เห็นได้ดังนี้


---“ พานบายศรี ” เป็นสิ่งที่บ่งบอกคติธรรมทางพุทธสาสนา 2 ประการ คือ “ สัจธรรม ” ความจริงแท้แน่นอน กับ “ อนิจจัง ” ความไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน ไม่ถาวรมั่นคง ไม่จีรังยั่งยืน ดังคำกลอน “ สุนทรภู่ ” ที่ร้อยกรองไว้ว่า


---“ เหมือนบายศรี มีงาน ท่านถนอม เจิมแป้งหอมกระแจะจันทร์ เครื่องหรรษา พอเสร็จงาน ท่านทิ้ง ลงคงคา ต้องลอยมา ลอยไป เป็นใบตอง ”


---ช่วงเป็นใบตอง ระยะเวลา ยาวนาน ช่วงเป็นบายศรีระยะเวลาสั้น เพราะฉะนั้น อย่าทะนงตัวหรือทะนงศักดิ์ในช่วงที่เป็นบายศรี


---หมายเหตุผู้เขียน ข้อมูลในการเขียนเรื่องนี้ ได้รับความกรุณาจาก พ่อบำเพ็ญ ณ อุบล และอาจารย์มนัส สุขสาย ครูภูมิปัญญาคนสำคัญของอุบลฯ ขอขอบคุณ ณ โอกาสนี้.



(หมายเหตุ ใส่ภาพได้ไม่ครบคะ)


.....................................................................






 ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 30 กันยายน 2558


Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,699,984
เปิดเพจ11,861,922
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view