/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

การคว่ำบาตร

การคว่ำบาตร

สงสัยเรื่อง คว่ำบาตร-หงายบาตร








---คว่ำบาตร-หงายบาตร เรื่องที่คนในสังคมยังไม่เข้าใจ



---พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปคงเกิดความกังขาว่า ในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้น มีการหงายบาตร-ตัดกรรมได้จริงหรือ



---พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตาลัยและพระนักเทศน์ชื่อดัง อธิบายเรื่องการคว่ำบาตร-หงายบาตร ตามหลักวิชาการว่า การคว่ำบาตรเป็นมาตรการหนึ่งของคณะสงฆ์ ที่ใช้กับคฤหัสถ์ที่มุ่งติเตียนว่าร้ายภิกษุสงฆ์ด้วยจิตไม่ดี วิธิการคว่ำบาตรก็คือ คณะสงฆ์จะไม่คบค้าสมาคมคฤหัสถ์ผู้นั้น ไม่รับบาตรตลอดจนไม่รับกิจนิมนต์



---การคว่ำบาตรไม่ใช่การกระทำเพื่อประสงค์ร้าย เตือนสติคนผู้นั้นให้สำนึกว่าทำไม่ถูกต้อง ซึ่ง เมื่อหากคนผู้นั้นสำนึกผิดและรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นผิด ยอมรับผิดและขอโทษ ทางคณะสงฆ์ก็จะหงายบาตร คือกลับมาคบค้าสมาคม รับบาตร และรับกิจนิมนต์เหมือนเดิม การคว่ำบาตรนี้ เป็นประเด็นทางธรรม ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง



---ส่วนการตัดกรรมก็คือ การตัดพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเองออกไป เช่น หากเป็นคนคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วเลิกคิดชั่ว เลิกพูดชั่ว เลิกทำชั่ว อันนี้สิตัดกรรม แต่การตัดกรรมด้วยการบนบานศาลกล่าว ตัดกรรมด้วยการติดสินบนเทวดานั้น ไม่ใช่การตัดกรรมในทางพุทธศาสนา


---หาก เขาจะเรียกวิธีการนี้ว่าการตัดกรรมจริงๆ ก็คงเรียกได้ แต่เนื่องจากไม่ใช่วิธีการตัดกรรมแบบพุทธ ก็อยากให้เรียกเพิ่มไปสักหน่อยว่าเป็นการตัดกรรมแบบของใคร เพราะหากใช้วิธีทางไสยศาสตร์ ไสยเวทย์ แล้วมาเรียกว่าเป็นการตัดกรรม จะเป็นการนำคำสอนนอกรีตนอกรอยมาใส่ลงในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมปนเปื้อน ทำให้ชาวพุทธสับสน




---พระ มหาวุฒิชัยให้ความรู้ต่อไปอีกว่า กรรม คือ การกระทำอันเป็นปัจเจกของบุคคลใดบุคคลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนเอาไว้ว่า ความบริสุทธิ์หรือไม่เป็นเรื่องของปัจเจก



---พระ พุทธเจ้าทรงสอนว่า ตนทำชั่วเอง จิตก็จะเศร้าหมองเอง ตนทำดีเอง จิตก็จะบริสุทธิ์เอง คนอื่นจะมีช่วยทำพิธี อธิษฐานตัดกรรมแทนกันหาได้ไม่ การที่ทำชั่วเองแล้วจะให้คนอื่นมาตัดให้ไม่ใช่แนวของศาสนาพุทธอย่างสิ้นเชิง ที่คิดจะทำกันไม่ใช่เรื่องของพุทธ แต่เป็นเรื่องของทางไสยศาสตร์



---ที่สำคัญ การหงายบาตรการตัดกรรมไม่ควรจะเป็นเรื่องของการเมือง การหงายบาตรเป็นมาตรการของสงฆ์ในการเตือนให้คนทำผิดสำนึกผิด การตัดกรรมเป็นเรื่องของการสั่งสอนให้คนทำผิดทำชั่วเลิกทำผิดทำชั่ว เปลี่ยนพฤติกรรม ตัดความชั่วออกไป นั่นคือการตัดกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา



---ในประเด็น สุดท้ายที่ชาวพุทธหลายๆ คนอยากรู้ คือ การที่วัดออกมาทำพิธีที่ดูแล้วออกจะไม่ใช่แก่นแท้ทางศาสนา แต่หนักไปในทางไสยศาสตร์เช่นนี้ จะถือเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรมหรือไม่นั้น พระมหาวุฒิชัยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยกล่าวเพียงว่า ให้ข้อมูลในเชิงวิชาการ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ที่เหลือก็อยากให้ประชาชนพิจารณากันเองด้วยปัญญา



---ส่วน ที่โยมถามเรื่องการหงายบาตร-ตัดกรรมอย่างที่เป็นข่าวนั้น อาตมาไม่ขอพูด แต่ขอให้เป็นหลักการอย่างที่กล่าวมา ที่อธิบายให้ฟังมาในเชิงวิชาการ ก็อยากให้ประชาชนนำไปขบคิดพิจารณาหาคำตอบว่า พุทธหรือไม่พุทธ ใช่ตามหลักศาสนาหรือไม่ใช่...อาตมาขอเจริญพร พระมหาวุฒิชัยทิ้งท้าย.


*คว่ำบาตร-สังฆกรรม-อัปเปหิ-สังคายนา


---“ฝ่ายค้านคว่ำบาตร”เป็นคำพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ รวมทั้งสื่ออื่นๆ ก็รายงานข่าวการคว่ำบาตรของ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะคิดติดตลกไปว่า “ฝ่ายค้านเป็นพระหรืออย่างไรถึงมีบาตรให้คว่ำ” หรือว่า “ฝ่ายค้านไปยืมบาตรจากสมณะแห่งสันติอโศกมาหรือ จึงมีบาตรให้คว่ำ” ในขณะที่พุทธศาสนิกชนคนไทยก็ย่อมนึกไปถึงวัตรปฏิบัติของพระเณรในพุทธศาสนา ว่า ทำไมท่านต้อง “คว่ำบาตร” ทั้งๆ ที่ “บาตร” จัดอยู่ใน “อัฐบริขาร” เป็นเครื่องใช้สำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เป็นอุปกรณ์ในการบำเพ็ญบุญ หรือออกโปรดสัตว์ รับการถวายอาหารจากประชาชนที่เรียกว่า “บิณฑบาต”



---คำว่า “คว่ำบาตร”เป็นคำกิริยา ใช้ในบริบทของวัฒนธรรมชาวพุทธ เมื่ออุบาสก อุบาสิกา กระทำการที่เป็นอกุศล ขัดแย้งกับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์จะมีวิธีการแสดงออกที่แสดงว่าไม่เห็นด้วยต่อการกระทำนั้นๆ โดยการคว่ำบาตร ไม่รับของถวายจากบ้านนั้นๆ เรื่องเช่นนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล



---ในพระพุทธศาสนาเมื่อมีคำ “คว่ำบาตร” ก็มีคำ “หงายบาตร” คู่กัน นั่นคือเมื่อประกาศ “คว่ำบาตร” ใครแล้ว ต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตน กลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์จึงประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคม รับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับเครื่องถวาย (ไทยธรรม) ได้ เรียกว่า “หงายบาตร” เป็นสำนวนคู่กัน



---จากนั้นคำว่า “คว่ำบาตร” ก็ถูกนำมาใช้ในเพื่อการตอบโต้เมื่อเกิดความไม่เห็นด้วยในหมู่ฆราวาส เช่น คว่ำบาตรทางการเมือง คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ค่ำบาตรทางการค้า เป็นต้น



---อย่าง ไรก็ตาม ในช่วงสมัยหนึ่งมีนักวิชาการทางภาษาพยายามเปลี่ยนแปลง โดยให้ใช้คำว่า “ไม่ร่วมสังฆกรรม” ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้รับความนิยม สุดท้ายแล้วก็กลับไปใช้คำว่า “คว่ำบาตร” เช่นเดิม



---พระสงฆ์คว่ำบาตร ในยุคปัจจุบันเกือบไม่มีให้เห็นในสังคมไทย แม้ว่าจะมีความขัดแย้งในแนวความคิดระหว่างพระสงฆ์กับฆราวาสอยู่เป็นประจำ แต่ฆราวาสกลับนำไปใช้มากที่สุด ทั้งๆ ที่ไม่มีบาตรให้คว่ำ



---แต่เมื่อ ประมาณกลางปี ๒๕๔๗ ที่ผ่านมานี้ บรรดานายพลในคณะรัฐบาลพม่านำอาหารไปถวายพระสงฆ์ มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งประมาณ ๒๐ รูป แสดงอาการ “คว่ำบาตร” กล่าวคือ ไม่ยอมฉันอาหารที่นายพลถวาย



---การคว่ำบาตรของพระพม่าในครั้งนั้น แท้ที่จริงแล้วการจะฉันอาหารหรือไม่ เป็นสิทธิของพระสงฆ์ ซึ่งไม่ว่ารัฐนั้นจะเป็นรัฐบาลทหารหรือไม่ ไม่ควรล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อาการ “คว่ำบาตร” ที่พระสงฆ์พม่าแสดงเป็นความหมายที่ต้องการจะสื่อให้รัฐบาลทหารทราบว่า สิ่งที่รัฐบาลทำ พระสงฆ์อย่างน้อยที่สุด ๒๐ รูปนี้ ไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากรัฐ เพราะทำให้เสียการปกครอง



---อย่างไรก็ตาม “คม ชัด ลึก” ได้รวบรวมคำวัดและคำในวงการพระสงฆ์ที่วงการเมืองรวมทั้งวงการอื่นๆ นิยมใช้มากที่สุด ซึ่งมีอยู่ ๔ คำ ที่มักได้ยินอยู่บ่อยๆ คือ คว่ำบาตร สังฆกรรม อัปเปหิ และ สังคายนา



---ทั้ง นี้ได้นำคำอธิบายความหมายจากหนังสือ “คำวัด” ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตสถาน เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ผู้รวบรวมและเรียบเรียง ซึ่งเป็นคำที่ใช้พูดใช้เขียนกันเป็นปกติในแวดวงคนวัด คือ พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยแต่ละคำมีความหมายดังนี้



---๑.คว่ำบาตร หมายถึง การที่พระสงฆ์พร้อมใจกันทำสังฆกรรมสวดประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้คิดร้ายต่อพระ พุทธศาสนาหรือพระสงฆ์เพื่อให้รู้สึกตัวและเข็ดหลาบ วิธีลงโทษ คือ ไม่คบหา ไม่พูดคุยด้วย และไม่รับอาหารบิณฑบาต โดยอาการเหมือนคว่ำบาตรเสีย ไม่ยอมเปิดบาตรรับอาหารจากผู้นั้น วิธีการเช่นนี้สมัยก่อนถือว่าเป็นการลงโทษที่รุนแรง สำหรับผู้ที่เป็นพุทธมามกะ ทำให้ผู้นั้นได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะไม่ได้ทำบุญใส่บาตรพระ เป็นการขาดโอกาสที่จะได้สร้างบุญบารมี



---หงายบาตร หมายถึง การที่พระสงฆ์พร้อมใจกันทำสังฆกรรม ประกาศยกโทษให้แก่ผู้ที่ถูกคว่ำบาตร หลังจากผู้นั้นรู้สำนึกและยอมขอโทษพระสงฆ์ พร้อมทั้งปฏิญาณว่าจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก



---๒.สังฆกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำ หมายถึง กิจกรรมทางพระวินัยที่ภิกษุจำนวน ๔รูปขึ้นไป ถือว่าเป็นสงฆ์จะพึงร่วมกันทำเป็นสังฆสามัคคี ในการทำสงฆ์จะต้องพร้อมเพรียงกันทำ ต้องทำในเขตสีมาที่เรียกว่าอุโบสถ หรือโบสถ์ ต้องนั่งให้ได้หัตถบาสอยู่ในที่ประชุมตลอดเวลาที่ทำ เวลามีมติต้องเป็นเอกฉันท์ โดยใช้วิธีเงียบหรือรับว่าสาธุ และเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรม ไม่มีอคติ เช่นนี้จึงจะเป็นสังฆกรรมแท้



---กิจกรรมหรืองานที่ต้องทำเป็นสังฆกรรม ได้แก่ การทำปาฏิโมกข์ การปวารณา การสมมติสีมา การให้ผ้ากฐิน การอุปสมบท เป็นต้น



---๓.อัปเปหิ อเปหิ หมายถึง ขับไล่ ผลักไสให้ออกไป อัป เปหิ มาจากคำวัดว่า อเปหิ ซึ่งแปลว่า จงออกไป จงไปให้พ้น เป็นคำพูดขับไล่ไสส่ง ในคำไทยจึงให้ความหมายว่า ขับไล่ ผลักไสให้ออกไป เช่นพูดว่า



---“เขาถูกอัปเปหิออกจากงานไปแล้ว”



---“ชาวบ้านไม่ยอมคบหาเขาเพราะรังเกียจความประพฤติ เขาจึงอัปเปหิตัวเองออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่น”



---๔.สังคายนา แปลว่า การซักซ้อม การสวดพร้อมกัน การร้อยกรอง คำ ว่า สังคายนา ใช้เรียกการที่พระสงฆ์ประชุมพร้อมกัน แล้วช่วยกันสอบทานชำระสะสาง และซักซ้อมทำความเข้าใจพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อรักษาความไม่ถูกต้องไว้แล้ว จัดเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งจดจำสาธยายกันไว้ การนี้เรียกว่า สังคายนาพระธรรมวินัย หรือเรียกเป็นคำวัดว่า ธรรมสังคีติ การสังคายนามีเป็นระยะๆ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมา



---สังคายนา ถือว่าเป็นวิธีการรักษาพระพุทธศาสนาส่วนที่เป็นหลักคำสอนได้ดีที่สุดกว่า วิธีอื่น เพราะเป็นการรักษาหลักพระธรรมวินัยไว้มิให้ผิดเพี้ยนจากที่พระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนไว้.






..........................................................................................






ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 30 กันยายน 2558

 

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,700,245
เปิดเพจ11,862,208
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view