/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

แจ้งข่าว...สุขภาพคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

แจ้งข่าว...สุขภาพคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

(換筋功 อี้จินจิง)

(คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น มรดกคัมภีร์แห่งพระโพธิธรรม)

(ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)









---พระโพธิธรรม หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วมักเรียกว่า ตั๊กม้อ โจ้วซือ คือ ปรมาจารย์องค์แรก ที่เดินทางจาริกจากประเทศอินเดีย เพื่อนำพระพุทธศาสนิกายเซ็น (ณาน) สู่แผ่นดินจีน เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1067



---พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 หากนับจากอินเดีย พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ผู้ซึ่งได้รับ การถ่ายทอดธรรมะ ด้วยวิธีแห่ง จิตสู่จิต พร้อมด้วย บาตร จีวร และสังฆาฏิของบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการสืบต่อกันลงมาโดยลำดับในแต่ละสมัย



---พระประวัติเดิม พระองค์เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของกษัตริย์ แห่งแคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ พระชนม์มายุยังเยาว์ ก็ทรงแตกฉานในคัมภีร์ของทุกศาสนา วรรณคดี รวมทั้งอักษรศาสตร์โบราณ และการแพทย์ นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์เอกแห่งยุคเลยทีเดียว


---ในคราวที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ ท่านได้นั่งเข้าฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เฝ้า ณ เบื้องหน้าและพระบรมศพนานถึง 7 วัน หลังจากนั้น พระองค์ได้ไปศึกษาธรรมะอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้ซึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยิบลูกแก้วชูขึ้นให้พระโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น พระองค์ก็เกิดความสว่างไสว ได้บรรลุธรรมที่ยังสงสัยอยู่ทั้งหมด สามารถไขปัญหา แยกแยะข้อธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง



---ครั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระปรัชญาตาระเถระพิจารณาเห็นปัญญาบารมีอันสูงยิ่งของพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมสงฆ์สาวกทั้งปวงประกาศให้พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยรับมอบ บาตร จีวร และสังฆาฏิ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป


---หลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้ออกเดินทางจากอินเดียมุ่งสู่แผ่นดินจีน ตามคำบัญชาของพระอาจารย์ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีจึงได้มาถึงเมืองกวางตุ้ง ในสมัยของพระเจ้าเหลียง บู้ตี้ (ประมาณ พ.ศ. 1070) ได้มีบันทึกไว้ว่า ขณะที่พระโพธิธรรม เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำแยงซี ทรงตั้งใจจะข้ามแม่น้ำแต่หาเรือไม่ได้ จึงได้ถอนต้นอ้อต้นหนึ่ง โยนลงไปในลำน้ำ ที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนบนต้นหญ้าเล็ก ๆ นั้นลอยข้ามไป (ผู้ที่เข้าไปไหว้พระในวัดจีนบ่อย ๆ มักพบเห็น ภาพพระภิกษุมีหนวดเคราดก นัยน์ตาโต ใช้จีวรคลุมศีรษะยืนอยู่บนต้นอ้อลอยข้ามน้ำ ก็คือ พระโพธิธรรมนั่นเอง) ต่อมาพระโพธิธรรมพร้อมด้วยลูกศิษย์นามว่า เสิน กวง ได้เดินทางไปยังภูเขา ซงซัว และพำนักอยู่ที่วัด เส้าหลิน (เซี้ยวลิ้มยี่) ณ สถานที่แห่งนี้พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ปฏิบัติสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี เพื่อค้นหาวิธีที่จะนำพาเวไนยสัตว์ออกไปพบกับแสงสว่าง หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง


---ครั้นเมื่อพระโพธิธรรม ถ่ายทอดวิถีธรรมด้วย จิต สู่ จิต ให้แก่ พระเสินกวง เพื่อสืบทอด ตำแหน่ง เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 2 แล้ว ก็ได้เดินทางต่อไปกับรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและพำนักอยู่ ณ วัดไซเซี่ยยี่ เมืองอู๋มึ้ง จนกระทั้งถึงวันมรณภาพ


---พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ณ วัดแห่งนี้ โดยประทับนั่งอยู่ในสมาธิฌานสมาบัติ รวมมีพระชนม์มายุได้ 150 พรรษา



---ครั้ง หนึ่งในระหว่าง การเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ



---ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของร่างกาย อันได้แก่ พลังและท่าทาง ของร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเลยร่างกาย ดังนั้น ท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่



1.換筋功 คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


2.洗髄功 คัมภีร์ฟอกไขกระดูก


3.十八羅漢禦 ฝ่ามือสิบแปดอรหันต์



---และ คัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ซึ่งคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้หมายถึง การบริหารแกว่งแขน



---คำว่า เปลี่ยนเส้นเอ็น มิใช่หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจของการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็นด้วยการออกกำลังกาย โดยวิธีแกว่งแขนซึ่งจะส่งผลให้ เลือดลมภายใน โคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด



---ต่อมา คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตำราโบราณนึ้เป็นหนังสือวิชาที่เก่าแก่มีอายุถึง 1400 ปี ซึ่งนับได้ว่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีน อันมิอาจประมาณค่าได้ชิ้นหนึ่ง



*คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นมีประโยชน์อย่างไร



---คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น คือ กายบริหารแกว่งแขน เป็นวิธีออกกำลังเพื่อบริหารร่างกายที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่ง หลังจากได้มีการค้นพบ และเผยแพร่ตำรานี้ออกมาที่ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่าย ๆ นี้ รักษาให้ให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จนแทนไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ กายบริหารแกว่างแขนนี้ ทำง่าย หัดง่ายและเป็นเร็ว นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำการบริหารแบบนี้



*เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้



---สิ่งที่เป็นปัญหาเกิดขัดแย้งกันภายในร่างกายของคนเรา จนก่อให้เกิดความไม่สบายแก่ร่างกายนั้น แพทย์จีนแผนโบราณกล่าวว่า เกิดจาก เลือดลม เป็นต้นเหตุ หากเลือดลมภายในร่างกายของเราผิดปกติโรคต่าง ๆ มากมายก็จะเกิดขึ้นกับเราทันที เริ่มแรก จะทำให้เรา รับประทานอาหาร ได้น้อยลง นอนหลับน้อยลง ต่อไปก็จะกระทบกระเทือนถึงสภาพของร่างกาย คือ ทำให้ซูบผอม อ่อนแอ เป็นต้น เมื่อเราทำให้เลือดลมเดินสะดวกไม่ติดขัดแล้ว โรคร้ายทั้งหลายก็จะหายไปเอง โดยอาศัยหลักดังกล่าวนี้ การทำกายบริหารแกว่งแขน จึงสามารถแก้ไขเลือดลมและเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย หากแก้ให้ถูกจุดสำคัญที่ขัดแย้งกันเสียก่อนได้ เมื่อนั้นปัญหาอื่น ๆ ก็จะแก้ได้ง่ายดายขึ้น



---ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่คนเราเกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อันเนื่องจากการคร่ำเคร่งปฏิบัติงานไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอริยาบถ จนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะชูแขน เหยียดขา ยืดตัวจนสุด อย่างที่คนทั่วไปเรียกว่า บิดขี้เกียจ ทันที หลังจากนั้นเราจะรู้สึกสบายตัว กระชุ่มกระชวยขึ้นอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งอาการเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือ การยืดเส้นเอ็น ตามความหมายในคัมภีร์โบราณนั่นเอง การที่เส้นเอ็น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย มีโอกาสยืดขยายหรือถูกนวดเฟ้น จะทำให้เลือดลมภายใน สามารถกระจายไหลเวียนได้สะดวก อันเป็นเหตุให้เกิดความผ่อนคลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เกิดความกระปี้กระเปร่า สดใสขึ้นและที่สำคัญ เลือดลมที่ไหลเวียนหล่อเลี้ยงไปทั่วร่างกายได้อย่างสะดวก จะช่วยเปลี่ยนสภาพอวัยวะ ที่แข็งกระด้าง ซึ่งเป็นความผิดปกติให้ กลับกลายเป็นอ่อนนิ่ม และจากสภาพที่อ่อนแอ ไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลับคืนมาเป็นแข็งแรงและมีสมรรถภาพดีขึ้น



---แต่โดยทั่วไปคนเราได้ละเลย และมองข้ามความสำคัญของการบริหารกาย เพื่อยืดขยายเส้นเอ็นในร่างกาย จึงทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวกและติดขัด เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ ที่มีน้ำมันถูกส่งมาหล่อเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ ย่อมเป็นเหตุให้รถที่วิ่งไปมีการกระตุก ๆ ไม่ราบรื่น ร่างกาย ของคนเราก็เช่นกัน หากเลือดลมติดขัด ก็จะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ สุขภาพจะทรุดโทรมย่ำแย่ลงไปเรื่อย ๆ



---อันที่จริงการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใด ใช่ว่าจะเป็นเรื้อรังอยู่เช่นนั้นโดยไม่มีทางแก้ไขเยียวยาก็หาไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต่อสู้กับโรคชนิดนั้นหรือไม่ หากเราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่เกาะกินเราจนถึงที่สุดแล้ว แน่นอนเหลือเกิน เราจะต้องประสบชัยชนะ การบริหารร่างกายโดยวิธีแกว่งแขนนี้ มีเหตุผลและหลักวิชาที่ลึกซึ้งแยบยล มิใช่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติไป โดยหลงงมงาย ขาดเหตุผลแต่อย่างใด



---ฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปรารถนาในความมีสุขภาพแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม ควรศึกษาและทำความเข้าใจ วิธีปฏิบัติ ไปตามลำดับโดยเริ่มตั้งแต่



1.เรียนรู้หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


2.เคล็ดวิชา 16 ประการ ของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


3.เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


*หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


1.ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่


2.ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่าเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหน้า


3.ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปาก ควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ


4.จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรงเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้


5.สายตาทั้ง 2 ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่ง แล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น


6.การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า ว่างและเบา แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง สอง สาม ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า แน่นหรือหนัก แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา


---สรุป...แล้วก็คือ ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง


*คำอธิบายเคล็ดวิชา 16 ประการ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


1.ส่วนบนปล่อยให้ว่าง หมายถึง ส่วนบนของร่างกาย คือ ศีรษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่า อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ


2.ส่วนล่างควรให้แน่น หมายถึง ส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหารหากไม่สามารถข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว


3.ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะของท่าต้องปล่อยสบาย ๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ จะต้องปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เกร็ง ไม่ควรโน้มศีรษะไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้าง ๆ ต้องมองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า


4.ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ไม่ควรหุบปากแน่น หรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขนไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น


5.ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือ กล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย


6.หลังยืดตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยแผนหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ


7.บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง


8.ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ


9.ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้าง ไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยตามธรรมชาติ


10.ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้างนั้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน


11.สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนนั้นฝ่ามือด้านในหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกำลังพายเรือ


12.ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น


13.ช่วงขาผ่อนคลาย หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา


14.บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ระหว่างทำกายบริหารนั้น ต้องหดก้น คือ ขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปในลำไส้


15.ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน



16.ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ขณะที่ยืนนั้นปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง



*เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


---ข้อพิเศษของ คัมภีร์คือ บนสาม ล่างเจ็ด ส่วนบน ว่างและเบา เรียกว่า บนสาม แต่ส่วนล่างแน่นและหนัก เรียกว่า ล่างเจ็ด การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง



---ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เพราะส่วนบนแข็งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไป เป็นผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุ่มกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคภัยทั้งหลายในร่างกายถูกขจัดออกไปเองจนหมด



*อธิบายเคล็ดลับพิเศษ บนสาม ล่างเจ็ด



---คำว่า บนสาม ล่างเจ็ด หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย


---บน คือ ส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ


---ล่าง คือ ส่วนล่างของร่างกาย หมายถึง เท้า


---สาม หมายถึง ใช้แรงสามส่วน


---เจ็ด หมายถึง ใช้แรงเจ็ดส่วน


*เคล็ดวิชาคำว่า บนสาม ล่างเจ็ด มีความหมาย 2 ประการ คือ



---ประการที่ 1 ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน



---ประการที่ 2 ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึง ถ้านับกันทั้งตัวการออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบ คือ บน : ล่าง เท่ากับ 3 : 7 (บนต่อล่าง เท่ากับสามต่อเจ็ด) คือ แกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง 3 ต่อ 7 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากแกว่งมือแรง เท้าก็ต้องอกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า ส่วนบนว่าง ส่วนล่างเบา หรือ บนสามล่างเจ็ด ถ้าแขนออกแรงแต่เท้าไม่ออกแรงเป็นการบริหารที่ไม่สมบูรณ์แบบ คือ รู้จักใช้แต่แขนลืมใช้เท้า


---กรณีนี้จะทำให้ยืนได้ไม่มั่นคง ทำให้รู้สึกคล้ายจะหงายหลังล้ม การที่ไม่ต้องการให้ออกแรง มิใช่ว่าจะปล่อยเลยทีเดียว การที่ให้ออกแรงก็มิใช่ว่าให้ออกแรงจนสุดแรงเกิด การปล่อยให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายโดยไม่ออกแรงเลยจนนิดเดียวก็จะไม่ได้ผล เพราะผิดหลัก ผิดอยู่ที่อัตราส่วน เนื่องจากแรงที่เท้าน้อยไป คือ ออกแรงเท้าเท่ากับส่วนบนนั่นเอง หรือหากแขนจะออกแรงมากไปสักหน่อยก็จะกลับตาละปัตร กลายเป็นว่าส่วนล่างว่างส่วนบนแน่น



---การแกว่างแขน ข้อสำคัญต้องระวังที่แขนให้มาก เมื่อต้องการให้ออกแรงก็มักจะคิดแต่การออกแรงที่แขน ลืมไปว่ายังมีเท้า ยังมีเอวที่จะต้องมีส่วนช่วยการเคลื่อนไหวเหมือนกัน



---การเคลื่อนไหวออกแรงของเท้าและเอวนี้สำคัญมากกว่าแขนเสียอีก การที่กล่าวเช่นนี้ บางท่านอาจไม่เข้าใจ หากเคยฝึกมวยจีน ไทเก็กหรือศึกษาหลักการแพทย์จีนสมัยโบราณเกี่ยวกับเส้นเอ็นและชีพจรแล้ว ก็จะเข้าใจได้ไม่ยากนัก แขนที่แกว่งนั้น จะแกว่งไปจากเอวของเรา แต่รากฐานของเอวอยู่ที่เท้า เมื่อเป็นเช่นนี้หากส่วนบน (แขน) ออกแรงแกว่งสะบัด แต่ส่วนล่าง (เท้า) ไม่ออกแรงยึดเกาะพื้นไว้ให้มั่นคง เราก็จะเสียการทรงตัว ขาดความสมดุลกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนไม่น้อย ก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุล เป็นอัมพาตก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลเช่นกัน ความดีเด่นของการแกว่งแขนที่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดก็คือ สามารถช่วยแก้ไขและปรับความไม่สมดุลต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง



---เมื่อเราจะแก้ไขและปรับความสมดุลของร่างกายแล้ว ทำไมจะต้องออกกำลังเท้าด้วย ทั้งนี้ ก็เพราะว่าที่ฝ่าเท้าของคนเรามีจุด ซึ่งทางแพทย์จีนเรียกว่า จุดน้ำพุ จุดนี้ติดต่อไปถึงไต หากหัวใจเต้นแรงหรือนอนไม่หลับ ถ้าทำการบีบนวด ตรงจุดน้ำพุนี้ ก็สามารถทำให้ประสาทสงบ ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้ ตามตำรายังกล่าวไว้ว่า ที่ฝ่าเท้ามีจุดอีกหลายจุด เกี่ยวโยงไปถึง อวัยวะภายในของคนเรา เมื่อเราทราบตำแหน่งของจุดนั้น ๆ แล้ว ก็จะสามารถรักษาโรคซึ่งเกิดกับอวัยวะเหล่านั้นได้เช่นกัน



*ดังนั้นการออกกำลังโดยวิธีแกว่งแขน ก็คือ การปรับร่างกายให้สมดุล ซึ่งเป็น การบำบัดรักษาโรคนั่นเอง



---การที่มีคำกล่าวว่า โรคร้อยแปด อาจรักษาให้หายได้ด้วยเข็มเพียงเล่มเดียว หลายคนคิดว่าออกจะเป็นการอวดอ้างเกินความจริง แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้แตกฉานในวิธีฝังเข็มรักษาโรค ย่อมได้ประจักษ์แจ้งความจริงด้วยตนเองแล้ว ฉะนั้น การที่จะกล่าวว่า การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได้ร้อยแปดนั้น จึงพูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการอวดอ้างเกินความจริงแน่ เพราะวิชากายบริหารแกว่งแขนนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในตัวเองอยู่แล้ว


*การจับชีพจร


---การจับชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ซึ่งชาวจีนเรียกว่า แมะ นั้น เป็นการค้นพบ ที่สำคัญอย่างยิ่ง ของแพทย์จีนแผนโบราณ แพทย์จีนในสมัยโบราณ ได้ศึกษาเกี่ยวกับ หลักการเต้นของชีพจร ไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนและมีผลงาน เป็นเกียรติประวัติ เป็นที่แพร่หลายกว้างขวาง จากการเฝ้าสังเกต การเปลี่ยนแปลง ของชีพจร ทำให้สามารถ รู้ถึงสภาพของร่างกาย ว่าแข็งแรงหรืออ่อนแอประการใด เหตุที่การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได้ ก็เพราะการแกว่งแขน สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข สภาพของร่างกาย เมื่อแก้ไขสภาพของร่างกายได้ ผลสะท้อน ก็จะแสดงออกไปยังชีพจรด้วย



*ตัวอย่างเกี่ยวกับการจับชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรค


---1.โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปชีพจรจะลอยสูงเน้นเร็วเกินไป ความดันโลหิตยิ่งสูง ชีพจรก็จะยิ่งเต้นเร็วเป็นเงาตามตัว ดังนั้น โรคหัวใจกับความดันโลหิตสูง จึงเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ชีพจรของคนปกติจะเต้นอยู่ระหว่าง 60 - 80 ครั้งต่อนาที มีการเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอเต้นอย่างลึก ๆ และอย่างมีแรง ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การเต้นของชีพจรจะอยู่ในระหว่าง 60 ครั้งต่อนาที แต่เต้นอ่อน และผู้ป่วยที่เป็นโรความดันโลหิตต่ำ การเต้นของชีพจรก็จะมีกำลังอ่อนเช่นกัน



---2.โรคประสาท โรคจิต โรคไต ชีพจรจะเต้นเร็วบ้างช้าบ้างไม่สม่ำเสมอ



---3.โรคเกี่ยวกับโลหิต เกี่ยวกับน้ำเหลือง ชีพจรเต้นช้ามีแรงอ่อนมาก จนกระทั่งบางราย คลำดูไม่รู้สึกว่าเต้น บางราย ชีพจรทางซ้ายกับขวาเต้นไม่เหมือนกัน เมื่อชีพจรทางซ้ายและขวาขัดกันเช่นนี้ การหมุนเวียนของโลหิตก็จึงติดขัด



---4.โรคอัมพาต คนที่เป็นลม มักมีชีพจรทั้ง 2 ข้างต่างกัน บางรายการเต้นของชีพจรแต่ละข้างต่างกันถึง 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเกี่ยวโยงกับโรคไขข้ออักเสบเหมือนกัน เมื่อข้างหนึ่งทางเดินของเลือดติดขัดไม่สะดวก อีกข้างหนึ่งก็จะมีกำลังกดดันมากขึ้น



---โรคดังกล่าวเหล่านี้ ล้วนสามารถรักษาให้หายได้ โดยการฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น  การฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นสามารถควบคุมการเต้นของชีพจรให้เป็นปกติได้อย่างไร



---โรคชีพจรเต้นเร็ว การที่ชีพจรเต้นเร็ว ก็เพราะโลหิตในร่างกายของเรา ไม่สามารถบังคับการไหลของโลหิตให้เป็นปกติ เมื่อบังคับและควบคุมไม่ได้ ลมก็เสีย สาเหตุเนื่องจากปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน จะทำให้ สามารถเสริมสร้างบำรุงโลหิต และยังบังเกิดผลในการบังคับควบคุมได้ด้วย



---การออกกำลังด้วยการบริหารแบบนี้ สามารถบำรุงและเสริมสร้างโลหิตได้ ก็เพราะเมื่อกระเพาะและลำไส้ ได้รับการออกกำลัง จึงเสมือนกับได้รับการนวดเฟ้น ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ สามารถรับเอาอาหารไปบำรุงร่างกาย ได้อย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ ก็เพราะการหมุนเวียนของโลหิตติดขัด และปริมาณของโลหิตไม่เพียงพอ การบริหารแกว่งแขนจะทำให้มือและเท้าได้รับการบริหาร และหลังของเรา จะพลอยได้รับการเคลื่อนไหวด้วย สิ่งกีดขวางทางเดิน ของเลือดลมในทรวงอก และช่องท้องจะถูกขจัดไป โลหิตที่คั่งก็จะกระจายหายคั่ง เมื่อนั้นชีพจรจึงจะเต้นเป็นปกติ



---การแก้ไขชีพจรให้ดีได้ ก็โดยถือหลักของแพทย์จีนแผนโบราณที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ?ชีพจรขึ้นมาจากส้นเท้า เวลาทำกายบริหารแกว่งแขน น้ำหนักการทรงตัวทั้งหมดอยู่ที่เท้า เมื่อเท้าได้รับการออกแรงก็เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ใช้รากยึดเกาะถึงพื้นดิน และคล้ายกับการตอกเสาเข็มซึ่งตอกลึกลงไป ๆ ทำให้เกิดมีอาการบีบนวดเลือดลมที่บริเวณเท้า แล้วส่งกระจายออกไปทั่วร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระดูก ไขข้อ ก็จึงไม่ยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้นกายบริหารแกว่งแขน จึงมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคภัยเรื้อรังและร้ายแรงต่าง ๆ ได้อย่างเกินความคาดฝันทีเดียว



*กายบริหารแกว่งแขน เพื่อรักษาโรคอัมพาต



---โรคอัมพาตหรืออาการที่ตายไปครึ่งตัว เป็นลม ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ ส่วนมากโรคเหล่านี้ มักจะเกี่ยวเนื่องกัน เกิดขึ้นเพราะ เลือดลมภายในร่างกาย ขาดความสมดุล ซึ่งกระทบกระเทือนการไหลเวียนแจกจ่ายของเลือดลม และทำให้ชีพจร กล้ามเนื้อ และกระดูกไขข้อ เกิดการแปรปรวนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏว่า ชีพจรทั้งสองข้างเต้นไม่เท่ากัน คือ ข้างหนึ่งเต้นเร็วอีกข้างหนึ่งเต้นช้า การเต้นของชีพจรบางครั้งต่างกัน 10 - 20 ครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาโดยมือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการรู้สึกปวดเมื่อย หรือชา ขาดความรู้สึก ที่จริงส่วนบนกับส่วนล่างก็มักมีปัญหาเช่นกัน ได้แก่ ส่วนบนเลือดคั่ง แต่ส่วนล่างเลือดกลับเดินไม่ถึงเช่นนี้



*เหตุใดการออกกำลังโดยการแกว่งแขนจึงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างชะงัด



---การออกกำลังแบบนี้ มิเพียงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้ แต่ยังสามารถป้องกันการเป็นลมอีกด้วย การที่คนเราเกิดเป็นลมขึ้นมา ก็เพราะการไหลเวียนของโลหิต ทั้งสองด้านของร่างกายขัดแย้งกัน ดังนั้นชีพจรจึงแสดงการไม่สมดุลกันออกมาให้ปรากฏ


---แพทย์จีนแผนโบราณให้คำอธิบายไว้ว่า ชีพจรนั้นได้เริ่มจากส้นเท้า การทำกายบริหารแกว่งแขนมีประโยชน์ก็เพราะหลังจากแกว่งแขนแล้ว ชีพจรจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติ ชีพจรเป็นเสมือนตัวแทนของอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา สาเหตุของโรคอัมพาตก็คือ ศีรษะหนักเท้าเบา ซึ่งเท่ากับส่วนบนหนัก ส่วนล่างว่าง กรณีเช่นนี้ จึงเป็นความผิดปกติอย่างยิ่ง เพราะที่ถูกต้องร่างกายของคนเรา ส่วนบนต้องเบา และส่วนล่างต้องหนัก



*กายบริหารแกว่งแขนเพื่อพิชิตโรคมะเร็ง



*สมุตติฐานของโรคมะเร็งคืออะไร



---ตามหลักการแพทย์จีนโบราณ มะเร็งและเนื้องอกเป็นผลจากการรวมตัวเกาะกันเป็นก้อนของเลือดลม และเส้นชีพจรติดขัด ระบบการขับถ่ายของเสียไม่ทำงาน การหมุนเวียนของโลหิตไม่สะดวก และโลหิตไหลช้าลง น้ำเหลือง น้ำดี น้ำเมือก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ เมื่อการหมุนเวียนของโลหิตขาดประสิทธิภาพ และทำงานไม่เต็มที่ พลังงานหรือความร้อนก็ไม่เพียงพอ จึงทำให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน แต่เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขนแล้ว จะช่วยให้เจริญอาหาร เม็ดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ไหล่ทั้ง 2ข้างได้รับการออกกำลัง อาการเกร็งซึ่งแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาก็จะหายไป เยื่อบุช่องท้องจะได้รับการบริหารขึ้น ๆ ลง ๆ ตื่นตัวอยู่เสมอ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากระตุ้นและบีบบังคับลม เคลื่อนไหวระหว่างไต เมื่อโลหิตสามารถผลิตความร้อน ก็จะเกิดพลังในการรับของใหม่ แล้วถ่ายของเก่าออก เช่นนี้แล้ว จึงมีประโยชน์ทางบำรุงเลือดลมด้วย



---อนึ่ง จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่งดบริโภคเนื้อสัตว์ หันมารับประทานอาหารพืชผัก อาหารมังสวิรัต อาหารเจ ซึ่งมีปริมาณใยมาก จะช่วยให้เลือดในกายสะอาด สามารถขับพิษออกจากร่างกายได้เร็ว และส่งผลให้การแกว่งแขนบำบัดโรคประสบผลเร็วยิ่งขึ้น



*กายบริหารแกว่งแขนกับการรักษาโรคตา



---การทำกายบริหารแกว่งแขน มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคตา มีบางท่านใช้แว่นสายตาหนามาก แต่เมื่อได้ทำกายบริหารแกว่งแขน ระยะหนึ่ง กลับไม่ต้องใช้แว่นอีกเลย มีบางคนอ่านหนังสือพิมพ์รู้สึกลำบาก มองไม่ค่อยจะเห็น อ่านแต่ละตัวต้องเพ่งแล้วเพ่งอีก หนังสือ (เน่ยจัง) คัมภีร์แพทย์เล่มแรกของจีนกล่าวไว้ว่า ตาเมื่อได้รับเลือดหล่อเลี้ยงจึงสามารถมองเห็น แสดงว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่เลือด เมื่อเลือด เดินไปไม่ทั่วถึง ทุกส่วนของร่ายกายก็จะเกิดโรคต่าง ๆ อย่างแน่นอน


---ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั่วร่างกายมีส่วนสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชีพจร เส้นเลือด ทางลม หากเลือดหมุนเวียนทั่วทุกส่วน เราก็จะรู้สึกสบาย ไม่เจ็บป่วย ถ้าใครคิดว่า ดวงตานั้นมีระบบอยู่อย่างเอกเทศ ตัดขาด จากกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ เมื่อเราได้ทำกายบริหารแกว่งแขนทั่ว ๆ ไป จะรู้สึกเจริญอาหาร เดินกระฉับกระเฉง นอนหลับสบาย ท้องก็ไม่ผูก ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า ระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกาย (METABLISM) นั้นทำงานดี



*กายบริหารแกว่งแขนรักษาโรคตับ



---กายบริหารแกว่งแขน สามารถรักษาโรคตับแข็ง และโรคท้องมานให้หายขาดได้ ถ้าเป็นตัวบวมหรือตับอักเสบ การแกว่งแขน ก็จะยิ่งรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าตัวการที่ทำให้เกิดโรคประเภทนี้ก็คือ เลือดลมเช่นกัน การที่เลือดลมผิดปกติ จะทำให้ตับเกิดปฏิกริยา เกิดมีน้ำขังและไม่สามารถขับถ่ายออกได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะรู้สึกจุกแน่น อึดอัด จนกระทบกระเทือนไปถึงกระเพาะ ม้าม และถุงน้ำดีด้วย เมื่อเราทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะขจัดปัญหาเหล่านี้ไปได้ เป็นต้นว่า เมื่อลงมือทำการแกว่งแขน จะมีอาการเรอ สะอึก ผายลม อาการเหล่านี้ เป็นสิ่งดีอันเนื่องจาก ผลทางการรักษาโรค ทั้งนี้ก็เพราะเข้ากฎเกณฑ์ตามตำราจีนแผนโบราณที่ว่า เลือดลมผ่านตลอดทั้งสามจุด



---จุดสามจุด ตามตำราแพทย์จีนโบราณหมายถึง 1 ทางข้าว 2. ทางน้ำ 3. เนินที่เริ่มต้น และจุดที่สิ้นสุดของลม ได้แก่ จุดบน อยู่ที่ปากกระเพาะด้านบน มีหน้าที่รับเข้าไม่รับออก จุดล่าง คือ ภายในส่วนกลางของกระเพาะ มีระดับไม่สูงไม่ต่ำ มีหน้าที่ย่อยข้าวน้ำ จุดต่ำ อยู่เหนือกระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่แบ่งแยกสิ่งสะอาดและสิ่งสกปรกออกจากกัน และมีหน้าที่ขับถ่าย



---เมื่อตับเกิดอาการแข็ง ส่วนที่แข็งคือส่วนที่ต้องตายไป อาการแข็งเป็นเรื่องของวัตถุธาตุ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสมรรถภาพที่เสื่อมถอย ไม่มีชีวิตชีวา นอกจากนี้ ยังมีสิ่งขัดแย้งเป็นปัญหาอีกก็คือ เลือดที่เสียคั่งค้างไม่เดิน เพราะแรงขับดันเคลื่อนไหวไม่พอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะกระตุ้นให้เลือดลมตื่นตัวหมุนเวียนเร็วขึ้น และจะทำให้เจริญอาหาร ช่วยเพิ่มเม็ดเลือด เปิดทวารทั้งเก้าและรูขน ตับที่อยู่ในสภาพเกาะติดจนแข็ง ก็จะเริ่มฟื้นตัวมีชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ตับที่แข็งก็จะกลายเป็นอ่อน นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างหนึ่ง



---เมื่อเรากล่าวถึง สภาพการแข็งตัว ก็คือ การต่อสู้ระหว่างพลังใหม่กับพลังเก่า จากผลของการต่อสู้ หากพลังเก่าได้ชัยชนะ โรคก็จะกำเริบ หนักขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากพลังใหม่มีอำนาจเหนือพลังเก่า สิ่งที่อยู่ในสภาพแข็งตัวก็จะค่อย ๆ อ่อนลง การแกว่งแขนนั้น ให้คุณประโยชน์ ทางเสริมสร้างพลังใหม่ ให้สามารถต่อสู้กับสภาพแข็งตัวของตับได้ ความรู้ที่ค้นพบนี้นับว่า เป็นอัจฉริยะ ชิ้นโบว์แดง ในวงการแพทย์จีนโบราณทีเดียว.








...........................................................................................







ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 1 ตุลาคม 2558



Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,700,015
เปิดเพจ11,861,953
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view