/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัดเขาไกรลาศ 17 ก.ย. 2554

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัดเขาไกรลาศ  17  ก.ย. 2554

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

 (วัดเขาไกรลาศ  555 หมู่ 2  ต. บ้านโข้ง อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี 72160  โดยกำนันศุภฤกษ์ วินาราวรากูล)








*การท่องเที่ยวคืออะไร 

  
---การท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างไร


*คือคำตอบของการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสำคัญที่หลากหลายมาก ดังนี้



---1.การท่องเที่ยวเป็นการใช้เวลาว่างของมนุษย์เพื่อแสวงหาความสุขและความเพลิดเพลิน จากแหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือน  เป็นการช่วยผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และความเครียด  ทำให้สุขภาพทางกายและจิตใจ  สดชื่นดีขึ้น  พร้อมที่จะกลับไปเผชิญกับภารกิจต่างๆ และการดำรงชีวิตที่จำเจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


---2.การท่องเที่ยวเปิดโอกาส ให้มีการศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์ความแปลกใหม่ตลอดเวลาการเดินทาง ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ และเข้าใจสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือนดีขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มจิตสำนึกที่มีต่อสิ่งแวดล้อม


---3.หากการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมีระบบที่ดี จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณโดยรอบได้  ซึ่งเรื่องนี้ในอดีตไม่ได้สนใจกันมากนัก  จนกระทั่งกระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับโลก  ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย หลายฝ่ายเริ่มมองเห็นคุณค่า ของการท่องเที่ยวต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามลำดับ


---4.การท่องเที่ยวเป็นกลไกธรรมชาติที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนท้องถิ่น  เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายดีขึ้น และนำไปสู่ความเข้าใจและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน


---5.การท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้  การไหลเวียนของเศรษฐกิจและการจ้างงานทั้งในระดับท้องถิ่นภูมิภาคและประเทศโดยรวม



*การท่องเที่ยวเชิงนิเวศคืออะไร



---Ecotourism   เป็นคำที่เกิดใหม่ในวงการ  อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยนำคำ ๒ คำมารวมกัน ได้แก่ eco และ tourism


---คำว่า  "eco"  แปลตามรูปศัพท์ว่า  บ้านหรือที่อยู่อาศัย


---ส่วน   "tourism"   แปลว่า  การท่องเที่ยว ecotourism  จึงแปลว่า  การท่องเที่ยวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หมายความถึง  การท่องเที่ยวที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์


---คำว่า  "นิเวศ"   ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย  ก็แปลว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัยเช่นกัน (ดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)  ฉะนั้น   การท่องเที่ยว  เชิงนิเวศจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม 


---หลักการสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมี ๒ ประการ คือ : ประการแรก ต้องเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประการที่ ๒ ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์



*หลักการของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


---การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (sustainable tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) คือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี   เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน  และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่  รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้  ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้


---๑.จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว  ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน  จนถึงชั่วลูก  ชั่วหลาน  มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น


---๒.ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม


---๓.มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์  ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่   เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


---๔.มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ  ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  เช่น  หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว  และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อการวางแผนงาน  การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม


---๕.มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ออกไปในหมู่ประชาชน  ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง



*หลักการของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์



---การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (conservation tourism) มีหลักการที่สำคัญคือ 


---๑.จะต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  หรือทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ให้คงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ไม่ถูกทำลายไป


---๒.กระตุ้นจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้พยายามดูแลรักษาและปกป้องทรัพยากรการท่องเที่ยวเหล่านั้น โดยไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นผลเสียต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน


---๓.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว  เพื่อตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวที่ตนเดินทางเข้าไปเยือน  และให้ความร่วมมือแก่ชุมชนในท้องถิ่น  ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   อันเป็นมรดก      ตกทอดของคนในท้องถิ่นนั้นๆ  ให้คงสภาพที่ดีต่อไป นานๆ 


---นโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  ให้ทำการศึกษาโครงการดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบาย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


---นโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเสนอไว้ในรายงานมีดังนี้


---๑.ต้องมีการควบคุม ดูแล รักษา และจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพ เดิมแท้ไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่อ่อนไหว ง่ายต่อการถูกกระทบ หรือฟื้นตัวได้ยาก


---๒.ต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ มีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และปรับให้เกิดความสมดุลกับรูปแบบและกิจกรรมที่มีอยู่แต่เดิม


---๓.ต้องคำนึงถึงการพัฒนาด้านการให้การศึกษา สร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาระบบนิเวศร่วมกัน มากกว่าการมุ่งเน้นความ เจริญทางด้านเศรษฐกิจ และการมีรายได้แต่เพียงอย่างเดียว


---๔.ต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรในท้องถิ่น  ในการจัดการทรัพยากร การบริการ       การแลก-เปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมของชุมชน  ในกระบวนการท่องเที่ยว รวมทั้งการมีส่วนร่วม ในการวางแผนพัฒนา หรือการให้ประชาชน มีตัวแทนเป็นคณะกรรมการร่วมในทุกระดับ


---๕.ให้องค์กรต่างๆ  กำหนดบทบาทที่ชัดเจนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีการจัดสรรงบประมาณ  บุคลากร  และกำหนดวิธีการจัดการที่เหมาะสม


---๖.นำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  เข้าสู่แผนพัฒนาระดับต่างๆ  อย่างมีความสำคัญ ได้แก่ แผนพัฒนาท้องถิ่น  แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาภาค  พร้อมทั้ง  ให้มีการจัดสรรและกระจายงบประมาณ   อย่างทั่วถึง และเพียงพอ


---๗.สนับสนุนการศึกษาวิจัยและประเมินผลการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างรอบด้าน   เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการ การแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงแผนอย่างเป็นขั้นตอน


---๘.มีการใช้กฎหมายในการควบคุมดูแลและรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว  อย่างเคร่งครัด โดยเน้นการแนะนำ  ตักเตือนและการสร้างวินัยการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย


---๙.จัดทำแนวทางปฏิบัติ  หรือคู่มือการจัดการ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างถูกต้อง


---๑๐.จัดให้มีเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งในทางแนวตั้งและแนวนอน โดยให้มีการประสานงานด้านข้อมูลข่าวสารและการจัดการร่วมกันในทุกระดับ



*การจำแนกระบบนิเวศ



---๑.ระบบนิเวศทางบก (land ecosystem) หมายถึง ระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นแผ่นดิน ซึ่งเป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบ หุบเขา


---ในบริเวณดังกล่าวถ้าหากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยมนุษย์ไม่เข้าไปดัดแปลงหรือทำลาย ก็จะมีพืชพรรณธรรมชาติและสัตว์ป่าอาศัยอยู่


---ในประเทศไทย ระบบนิเวศทางบกที่ยังคงสภาพตามธรรมชาติ ดั้งเดิม ส่วนใหญ่พบอยู่ตามบริเวณป่าเขา ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ตามกฎหมาย เช่น อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า



---๒.ระบบนิเวศทางทะเล (marine ecosystem) หมายถึง  ระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล และในท้องทะเล  ได้แก่ เกาะ  สันดอนและสันทรายชายฝั่ง  หาดปะการัง ปะการังใต้น้ำ


---ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศทางทะเล  อยู่เป็นจำนวนมาก     ทั้งทางด้านอ่าวไทยและทางด้านทะเลอันดามัน   เป็นตัวอย่างของระบบนิเวศทางทะเลในเขตภูมิอากาศร้อน  ซึ่งยังคงมีความอุดมสมบูรณ์และความงดงามตามธรรมชาติอยู่มาก เป็นที่รู้จักและชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั่วโลก


---๓.ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland ecosystem) ระบบนี้ได้รับการกำหนดขึ้นใหม่   ต่างหากจากระบบนิเวศทางบกและระบบนิเวศ ทางทะเล   คือ "ที่ลุ่ม  ที่ราบลุ่ม   ที่ลุ่มชื้นแฉะ  พรุ แหล่งน้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว    ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล   ทั้งที่เป็นน้ำจืด   น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงที่ชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล   ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด   มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน  ๖  เมตร ในประเทศไทย พื้นที่ชุ่มน้ำประกอบด้วย  ป่าชายเลน   ป่าพรุ  หนอง  บึง  ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ



*รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ได้มีการนำเสนอให้แก่นักท่องเที่ยวแล้วมีอะไรบ้าง



---๑)การเดินเส้นทางธรรมชาติ  


---เส้นทางธรรมชาติ (nature trail) หมายถึง  เส้นทางที่กำหนดไว้ หรือแนะนำให้นักท่องเที่ยว  เดินชมสภาพธรรมชาติของพื้นที่แห่งหนึ่งแห่งใด  เช่น  บริเวณป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ป่าชายเลน  ป่าพรุ   ทั้งนี้   เพื่อมิให้นักท่องเที่ยวหลงทางหรือเดินสะเปะสะปะไปเหยียบย่ำทำลายพืช พรรณไม้ หรือได้รับอันตราย


---๒)การส่องสัตว์/ดูนก


---เป็นการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ป่าและนกชนิดต่างๆ  ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน โดยการมองจากกล้องส่องทางไกล  การส่องไฟฉายในช่วงเวลากลางคืน และการถ่ายภาพ



---๓)การสำรวจถ้ำ/น้ำตก  


---เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนา  ให้เดินทางเข้าถึงได้ไม่ยากนัก   ถ้ำเป็นลักษณะภูมิประเทศที่พบมากในบริเวณภูเขาหินปูน   หากเกิดตามบริเวณชายฝั่งทะเล  เรียกว่า   ถ้ำทะเล   ภายในถ้ำมักมีหินงอกหินย้อยสวยงาม   หากเป็นถ้ำขนาดใหญ่อาจมีความยาวหลายร้อยเมตร


---๔)การปีนเขา/ไต่เขา  


---เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยว   ที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เคยชินและเพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาเผยแพร่โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้   การปีนเขา/ไต่เขา   ต้องอาศัยประสบการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ


---๕)การล่องแก่ง


---ลำน้ำบางสายที่มีแก่งหินพาดผ่านกลางลำน้ำ  ทำให้น้ำไหลเชี่ยวมากเป็นพิเศษ หรืออาจมีโขดหินโผล่พ้นพื้นน้ำ   กั้นขวางทางเป็นตอนๆ   ลักษณะเช่นนี้ทำให้เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบผจญภัยที่เรียกว่า  "การล่องแก่ง"  (rapids shooting)

 

---๖)การนั่งเรือ/แพชมภูมิประเทศ


---เป็นการท่องเที่ยวแบบพักผ่อนสบายๆ  ซึ่งเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย    ที่มี แม่น้ำลำคลองเป็นจำนวนมาก   นักท่องเที่ยวได้ชมภูมิประเทศตามสองฝั่งลำน้ำและสังเกตดูชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน   ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ


---๗)การพายเรือแคนู/เรือคะยัก


---เรือแคนู (canoe) และเรือคะยัก (kayak)  เป็นรูปแบบของเรือพายที่นำมาจากต่างประเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการท่องเที่ยวตามลำน้ำ  เป็นเรือพายขนาดเล็ก  นั่งได้ ๑ - ๓ คน  ตัวเรือใช้วัสดุที่คงทน  แต่มีน้ำหนักเบา ไม่ล่มได้ง่ายและพายได้คล่องตัว


---๘)การขี่ม้า/นั่งช้าง


---การขี่ม้าหรือนั่งช้าง   เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่สร้างความสนุกสนาน  ตื่นเต้น  ให้แก่นักท่องเที่ยว  ที่เข้าไปชมสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ   โดยเฉพาะการนั่งช้าง  ซึ่งเหมาะสำหรับการเข้าไปในบริเวณป่า อันเป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้


---๙)การขี่รถจักรยานชมภูมิประเทศ


---การขี่รถจักรยานชมภูมิประเทศให้ทั้งความเพลิดเพลิน  ในการชมภูมิประเทศสองข้างทางและการออกกำลังกาย   จึงเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยว  ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก  ปัจจุบันมีรถจักรยานที่ออกแบบให้ขับขี่ได้คล่องแคล่วและเบาแรง   เหมาะสำหรับการเดินทางในระยะไกลและการเดินทางขึ้นลงตามลาดเขา เรียกชื่อรถจักรยานดังกล่าวว่า "รถจักรยานเสือภูเขา"


---๑๐)การกางเต็นท์นอนพักแรม


---การกางเต็นท์นอนพักแรม   เป็นกิจกรรมที่นิยมทำกันในบริเวณอุทยานแห่งชาติ  หรือในสถานที่ซึ่งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้โดยเฉพาะ  เป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยว  ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด


---๑๑)การดำน้ำในทะเล


---การดำน้ำในทะเลเพื่อดูปะการัง  พืชน้ำและปลาสวยงามใต้น้ำ   เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความ นิยมอย่างมากในขณะนี้   แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ  


---"การดำน้ำในน้ำตื้น"   ใช้เครื่องมือช่วยการหายใจที่เรียกว่า  "ท่อหายใจ"  (snorkel) เพื่อให้ผู้ดำน้ำสามารถดำน้ำได้ในระดับผิวน้ำ ที่ลึกไม่เกินความยาวของท่อหายใจ


---"การดำน้ำในน้ำลึก"   อาศัยเครื่องมือช่วยการหายใจเป็นถังออกซิเจนขนาดเล็กผูกติดไว้กับผู้ดำน้ำ เป็นวิธีการดำน้ำที่เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า   "scuba diving"


*แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


---ตามคำจำกัดความ  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของราชบัณฑิตยสถาน   แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  จะหมายรวมถึง  "แหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทุกแห่ง  ตั้งแต่แหล่งธรรมชาติ  โบราณสถาน  ไปจนถึงชุมชนท้องถิ่น"

 

---เพราะฉะนั้นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่  อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  อุทยานประวัติศาสตร์  แหล่งโบราณคดี   ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  ที่เปิดให้มีการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบัน  เรื่องการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้มาเยือน   ตามคำจำกัดความกระทำได้บ้างในระดับหนึ่ง   คือ  ยังไม่สมบูรณ์หรือได้มาตรฐานเพียงพอ



*ลักษณะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


---โดยลักษณะทั่วไปของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีดังนี้


---1.เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์ไว้ รวมถึงแหล่งประวัติศาสตร์  โบราณคดีและวัฒนธรรมที่ปรากฏในพื้นที่ธรรมชาตินั้นๆ


---2.มุ่งเน้นที่คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวมากกว่าการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ


---3.เน้นให้ทุกฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติและวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยว


---4.ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรียนรู้  หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ  นอกจากจะได้รับความพึงพอใจแล้ว  ยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม


---5.เป็นการท่องเที่ยวที่คืนประโยชน์สู่ธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม


---6.เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนการท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อม

          

---สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว  มีหลากหลายลักษณะ  ขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งท่องเที่ยว    โดยทั่วไป   ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ   ชีวภาพและทางสังคมหรือวัฒนธรรม    รวมทั้งวิถีชีวิตของคนในสังคม   


---สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว  มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวและการดำรงชีวิตของคนที่อาศัยอยู่เพราะเป็นฐานของการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวอันสำคัญยิ่ง  ดังนั้น การท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก


---เปรียบเสมือน  "ป่ากับสัตว์ป่า"  หรือ "ปลากับน้ำ"  หากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง  เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเสีย  การจราจรแออัด  ระบบนิเวศของป่าถูกทำลาย   ชายหาดสกปรกหรือปะการังเสื่อมโทรม ฯลฯ   การท่องเที่ยวก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน    ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นก็จะมีคุณภาพชีวิตด้อยลง   ผู้ประกอบการท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ   จะขาดรายได้และการจ้างงานจะลดน้อยถอยลง   ซึ่งทั้งหมดเป็นผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวม



---ในอดีตที่ผ่านมา  หลายประเทศในโลก  เคยประสบปัญหาดังกล่าวมาแล้ว  ประเทศไทยเองก็มีบทเรียนในเรื่องนี้  ตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง  ซึ่งสาเหตุสำคัญเกือบทุกกรณีมักเกิดจาก


---การพัฒนาสาธารณูปโภค  สาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวก ประเภทสิ่งปลูกสร้าง  สร้างเกินขอบเขตหรือกำลังความสามารถที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ 

 

---ขาดการแบ่งโซนที่ถูกต้องเหมาะสม   คำนึงถึงปริมาณนักท่องเที่ยวมากกว่าคุณภาพ


---ขาดการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและฐานทรัพยากร


---การไม่เคารพต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น โดยขาดการวางแผนและการจัดการที่ดี

---รายได้ซึ่งเกิดจากการท่องเที่ยวในแต่ละปี จึงไม่มากพอที่จะนำมาใช้ในการฟื้นฟูหรือบูรณะสิ่งแวดล้อมตามแหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ ได้

 

*ผลกระทบจากการท่องเที่ยว


---กระแสเงินตราและค่านิยมที่ผิดๆ จากการท่องเที่ยว ชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็งเพื่อเป็นฐานรากสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง  ยั่งยืน  และเป็นเกราะป้องกันกระแสความยั่วยวน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ในรูปของเงินตราที่มากับการท่องเที่ยว 


---เราเห็นตัวอย่าง  เรื่องการพัฒนาของประเทศมามาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านใดก็ตาม   ผลลัพธ์สุดท้าย  ในด้านลบมักจะตกอยู่กับชุมชนท้องถิ่น   แต่ด้านบวกซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล   กลับถึงมือชุมชนชนบท    ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศค่อนข้างจำกัด    เพราะกระบวนการของการพัฒนาเหล่านั้น  ให้ความสำคัญหรือน้ำหนักกับการเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมน้อยมาก


---และบางกรณี  การมีส่วนร่วมที่เปิดให้  ก็มักจะเป็นช่วงปลายของโครงการหรือใกล้จบโครงการแล้ว  จนชุมชนไม่อาจจะเตรียมตัว  เตรียมใจรับสถานการณ์ได้ทัน   เพราะเนื่องมาจากขาดองค์ความรู้   ข้อมูล และทักษะ   ที่พร้อมจะรับผลพวงอันเกิดจากการพัฒนาได้   แทนที่การพัฒนาจะเป็นประโยชน์  แต่กลับเป็นผลเสียแก่คนหมู่มากในชุมชน  ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืนฯ  







................................................................................







                                                                                                                                     

 ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 1 ตุลาคม 2558


Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท02/06/2024
ผู้เข้าชม7,700,295
เปิดเพจ11,862,258
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view