/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

เจาะพระไตรปิฎก

เจาะพระไตรปิฎก

เจาะพระไตรปิฎก







---เจาะพระไตรปิฎกฉบับนี้  เวียงการณ์จะพาท่านผู้ฟัง มาสัมผัสกับเรื่องราวใน  "อาฬวกสูตร"  ซึ่งมีหลักธรรมที่น่าสนใจ  ในตอนท้ายจะสรุปหลักธรรม  เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในยุควิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ  หลักธรรมเหล่านี้  ผู้สนใจนำไปปฏิบัติแล้ว  น่าจะเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและสังคม  ประเทศชาติต่อไป


---อาฬวกสูตรนี้  มีปรากฏในพระไตรปิฎก  เล่ม ๒๕  ข้อ ๓๑๐  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


---ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ใกล้เมืองอาฬวี  ครั้งนั้นอาฬวยักษ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ 


---ได้กราบทูลพระพุทธองค์ (เชิงขับไล่)  ว่า  “จงออกไปเถิดสมณะ”


---พระพุทธองค์ตรัสว่า          “ดีละท่าน”  แล้วก็ได้เสด็จออกไป


---อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า          “ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ”


---พระพุทธองค์ตรัสว่า          “ดีแล้วท่าน”  แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา


---อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลอีกว่า          “จงออกไปเถิดสมณะ”


---พระพุทธองค์ตรัสว่า          “ดีละท่าน”  แล้วก็ได้เสด็จออกไป


---อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลว่า          “ขอจงเข้ามาเถิดสมณะ”


---พระพุทธองค์ตรัสว่า          “ดีละท่าน”  แล้วก็ได้เสด็จเข้ามา


---อาฬวกยักษ์ได้กราบทูล ด้วยอาการอย่างนี้ถึง ๓-๔ ครั้ง  และในครั้งที่ ๔ นี้  พระพุทธองค์กลับตรัสว่า  “ดูกรท่าน  เราตถาคตจักไม่ออกไปละ  ท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด”


---อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า  “ดูกรสมณะ”  ข้าพเจ้าจะถามปัญหากับท่าน  ถ้าว่าท่านจะไม่พยากรณ์แก่ข้าพเจ้าไซร้  ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกมาโยนทิ้ง  จักฉีกหัวใจของท่าน  หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา


---พระพุทธองค์ตรัสว่า  “เราตถาคต”  ยังไม่มองเห็นบุคคลที่จะพึงควักดวงจิตของเราตถาคต ออกโยนทิ้ง  จะพึงฉีกหัวใจของเราตถาคต  หรือจะพึงจับเท้าทั้งสอง แล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาได้  ในโลก พร้อมทั้งมารโลก  พรหมโลก  ในบรรดาหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์  เทวดา  และมนุษย์  ดูกรท่าน  ก็และท่านหวังจะถามปัญหา  ก็จงถามเถิด


---ต่อจากนั้น  อาฬวกยักษ์ถูกถามพระพุทธองค์ด้วย  คาถาว่า 


---“อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้ 


---อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ 


---อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย 


---นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวถึงชีวิตของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างไรว่าประเสริฐสุด”


---พระพุทธองค์ตรัสตอบด้วยคาถาว่า


---“ศรัทธา  เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ  อันประเสริฐสุดของคนในโลกนี้


---ธรรมที่บุคคล  ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้


---ความสัตย์นั่นแหละ  เป็นรสอันประเสริฐและยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย 


---นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด”


---อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า


---“คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ  คนย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร  คนย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร  และคนย่อมบริสุทธิ์ได้อย่างไร”


---พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า


---“คนข้ามโอฆะด้วยศรัทธา  ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท  ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร  และความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา”


---อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า


---“คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ  ทำอย่างไร  จึงจะหาทรัพย์ได้  คนได้ชื่อเสียงอย่างไรหนอ  ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้  คนละโลกนี้  ไปสู่โลกหน้า  ทำอย่างไรจะไม่เศร้าโศก”


---พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า


---“บอกชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย  เพื่อบรรลุนิพพาน  เป็นผู้ไม่ประมาท  มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง  ฟังอยู่ด้วยดี  ย่อมได้ปัญญาและมีวิจาร  คนผู้มีธุระทำเหมาะสม  ไม่ทอดธุระ  เป็นผู้มีความเพียร  ย่อมหาทรัพย์ได้  คนได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์  ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้  บุคคลใดอยู่ครองเรือน ประกอบด้วยศรัทธา  มีธรรม ๔ ประการนั้น คือ  สัจจะ  ธรรมะ  ธิติ  จาคะ  ผู้นั้นแหละ  ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก  ถ้าว่า เหตุแห่งการได้ปัญญา  ยิ่งไปกว่าทมะก็ดี  เหตุแห่งการหาทรัพย์ได้ ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี  มีอยู่ในโลกนี้แล้วไซร้  เชิญท่านถามสมณะพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูเถิด”


---อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า  “ทำไมหนอ  ข้าพระองค์จึงมีต้องถามสมณะพราหมณ์  เป็นอันมากในบัดนี้เล่า  ก็วันนี้  ข้าพระองค์ได้ทราบชัด  ถึงประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้า  พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี  ก็เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้  วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด ถึงพระทักขิไนยบุคคลผู้เลิศ  ที่บุคคลถวายทานแล้ว  เป็นทานที่มีผลมาก  ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และพระธรรม  ซึ่งเป็นธรรมดี  ขณะที่พระองค์เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน  จากเมืองสู่เมือง”


*สรุปข้อธรรมจากอาฬวกยักษ์สูตร


---หัวข้อธรรมที่จะพึงนำมาประพฤติปฏิบัติ  ได้จากเรื่องนี้  แบ่งเป็น ๒ หมวด คือ


---หมวดที่ ๑  มี ๔ ประการ  คือ  สัจจะ  ธรรมะ  ธิติ  และจาคะ


---หมวดที่ ๒  มี ๔ ประการ  คือ  สัจจะ  ทมะ  ขันติ   และจาคะ


*อธิบายหัวข้อธรรมประการ


---คำว่า  สัจจะ  แปลว่า  ความสัตย์ซื่อต่อกัน  แปลอย่างนี้เรียกว่า แปลตามศัพท์  ถ้าขยายลักษณะของสัจจะ  ให้มีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติกันได้จริง ๆ แล้วก็คือ  สัจจะนี้มีลักษณะ ๓ อย่างคือ


---๑.สัจจะ  มีลักษณะเป็นความจริง


---๒.สัจจะ  มีลักษณะเป็นความตรง


---๓.สัจจะ  มีลักษณะเป็นความแท้


---๑.สัจจะมีลักษณะเป็นความจริง  หมายถึง  ไม่ใช่เล่น  ไม่หลอก  ไม่ลวง  เป็นของจริง ๆ


---๒.สัจจะมีลักษณะเป็นความตรง  หมายถึงว่า  เป็นความตรง  คือมีความประพฤติทางกาย  ทางวาจา  และทางใจ  ซื่อตรง  ไม่คดโกง  หรือบิดพริ้ว  เบียงบ่ายจากความถูกความเที่ยงธรรม


---๓.สัจจะมีลักษณะเป็นความแท้  หมายถึง  ความไม่เหลาะแหละเหลวไหลในกิจกรรมอันเป็นหน้าที่


*สัจจะซึ่งมีลักษณะดังกล่าวนี้  ผู้ครองเรือนพึงตั้งลงหรือกำหนดใน ๕ สถานที่  คือ


---๑.ตรงต่อหน้าที่  คือ  ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่


---๒.ตรงต่อการงาน  คือ  ตั้งใจทำงานให้ดี


---๓.ตรงต่อวาจา  คือ  รักษาคำมั่นสัญญา


---๔.ตรงต่อบุคคล  คือ  ประพฤติดีต่อคนอื่น


---๕.ตรงต่อความดี  คือ  ยึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติ


---อีกประการหนึ่ง  สัจจะ คือ  ความจริงใจ หรือแท้  ซึ่งก็หมายความว่า  ความเป็นคน  มีจิตใจแน่วแน่  มุ่งมั่นในสิ่งที่ตนปรารถนา  แล้วก็ทำจนเห็นผล  เช่น นักเรียน  เรียนวิชาใดก็เรียนจบ  ได้ความรู้จริงในวิชานั้น  ผู้รักษาศีลประเภทใด  ก็ตั้งใจรักษาศีลประเภทนั้นให้ได้จริง ๆ  หรือผู้เป็นนักบวช ก็เป็นนักบวชที่ดีจริง  เป็นต้น


---คุณธรรม  คือ  สัจจะ  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งทางโลก  ทางธรรม  จึงกล่าวได้ว่า  ใครก็ตาม ที่ขาดสัจจะในใจเสียอย่างเดียว  เอาดีไม่ได้เลย  จะเล่าเรียนก็ไม่จริงจัง  จะรักใคร ๆ ก็รักไม่จริงจัง  จะแต่งงานกับใครก็ไม่จริงจัง  จะเป็นพลเมืองของประเทศใดก็ไม่จริงจัง  จะปฏิบัติธรรมก็ไม่จริงจัง  เป็นต้น  คนประเภทนี้จะเอาดีได้อย่างไร


---ในทางตรงกันข้าม  คือ  คนที่มีสัจจะ  คุณธรรม  คือ สัจจะนั่นเอง  จะเป็นหลักประกัน ประจำตัวให้คนอื่นเชื่อถือไว้วางใจ  จะทำการสิ่งใดก็เจริญ  เพราะได้รับการสนับสนุนจากคนทั้งหลาย


---ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  จิตใจที่มีสัจจะ  อันอบรมดีแล้ว  คือ  มีความจริงใจจนติดเป็นนิสัยมั่นคง  ความจริงใจนั้นจะเป็นเหตุ  ทำให้จิตใจมีพลัง  ฟันฝ่าอุปสรรค เหมือนกระสุนที่ถูกยิงไป ด้วยพลังอย่างสูง  ย่อมแหวกว่าย เจาะไช เอาชนะสิ่งที่ขวางหน้าไปจนได้ และเพราะค่าที่สัจจะ เป็นกำลังส่งจิตใจ ให้บรรลุเป้าหมายได้  แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บรรลุพระอรหันต์สัมมาสัมโพธิญาณ  ก็ด้วยสัจจะนี้  ดังนั้น  สัจจะท่านจึงจัดไว้เป็นบารมีอย่างหนึ่ง  ในบารมีสิบประการ ที่พระโพธิสัตว์จะขาดเสียมิได้  เรียกว่า  “สัจจะบารมี”


*วิธีตั้งสัจจะไว้ในใจมี ๒ วิธีคือ


---๑.สัจจะธิษฐาน  คือ  อธิษฐานด้วยใจ  ตั้งใจให้แน่วแน่ว่า ตนมีความปรารถนาอย่างนั้น  โดยทั่วไปนิยมตั้งสัจจาธิษฐาน  ต่อจากได้ไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน  หรือได้ทำบุญสุนทร์ทานแล้ว  ดังจะเห็นได้ จากคำถวายทานต่าง ๆ  ซึ่งมักจะมีคำสัจจาธิษฐานลงท้ายเสมอ  เช่น  “อาสวกฺขยาวหํ  นิพฺพานํ  โหตุ”  หรือ  “นิพฺพานปัจฺจโย  โหตุ”  ซึ่งแปลว่า  ขอให้ผลบุญนี้ ทำให้ตนสิ้นกิเลสาสวะ  บรรลุพระนิพพานเถิด  ความปรารถนาเหล่านี้  บางคนเข้าใจว่า เป็นคำอ้อนวอนแบบศาสนาอื่นอ้อนวอนพระเจ้า  แต่ความจริงไม่ใช่  ที่ถูกแล้วเราปฏิบัติตามคุณธรรม  คือ  สัจจะนี้  นั่นเอง


---๒.สัจจะปฏิญาณ  คือ  การเปล่งวาจาให้ผู้อื่นได้ยิน  เป็นพยาน ว่าตนได้ตั้งสัจจะไว้อย่างนั้น  ที่ทำอย่างนี้  เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้อื่นด้วย  เพื่อให้เกิดความละอายแก่ใจของตน  เมื่อจะพลั้งเผลอ  ละเมิด  สัจจะนั้นด้วย  นั้นก็คือ  สัจจะนี้คือ  ความนึกคิดที่ตั้งไว้ในใจนั้นเอง


*คุณ - โทษ


---คุณของความมีสัจจะ  เช่น


---๑.เป็นคนหนักแน่นมั่นคง


---๒.มีความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ


---๓.การงานที่ปฏิบัติ  หรือกิจที่ทำนั้นได้ผลดีพิเศษ


---๔.มีคนเชื่อถือ  และยำเกรง


---๕.ทำความมั่นคงให้เกิดแก่ครอบครัว


---๖.ทำดีไม่ท้อถอย


*โทษของการขาดสัจจะ  เช่น


---๑.เหลาะแหละ  เหลวไหล


---๒.ตกต่ำ  หายนะ


---๓.ล้มเหลว


---๔.คนเหยียดหยาม  ไม่เชื่อหน้า


---๕.ความเจริญใจบรรดามีตั้งอยู่ไม่ได้


---๖.หาความสุขในครอบครัวไม่ได้


---คำว่า  ทมะ  แปลได้หลายอย่าง  แปลว่า  ฝึก  ก็ได้  แปลว่า  ข่ม  ก็ได้  ซึ่งรวมความแล้วก็คือ  การปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้าเหมาะสมกับการงาน  และสังคม  นั่นเอง  ในทางปฏิบัติ  ทมะมีลักษณะ ๓ อย่างคือ


---๑.ทมะ  มีลักษณะเป็นความฝึก


---๒.ทมะ  มีลักษณะเป็นความหยุด


---๓.ทมะ  มีลักษณะเป็นความข่ม


*๑.ทมะ  มีลักษณะเป็นความฝึก 


---หมายความว่า  ฝึกทำงานให้เป็น  เพราะในสังคมนั้นมีงาน มากมายหลายอย่างต่าง ๆ กัน  เช่น  งานทำนา  งานทำสวน  งานช่างไม้  งานช่างเหล็ก  งานช่างปูน  เป็นต้น  ถ้าเราเองเกิดมา ในลักษณะเป็นคนทำงานไม่เป็น  และเราก็มีชีวิตอยู่ในสังคมทั้งๆ ที่เราทำงานไม่เป็น อย่างนี้ย่อมเป็นอันตราย แก่ตัวเองและเป็นภาระแก่สังคม อย่างยิ่ง  เพราะคนที่ทำอะไรไม่เป็นเลยนั้น  จะทำได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง  คือ  ทำความลำบากแก่คนอื่น  เพราะฉะนั้น  พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มี  ทมะ  คือ  ฝึกหัด อบรมตนเองให้เป็นงาน  นำมาหาเลี้ยงชีพเป็น  จะฝึกตนได้อย่างนี้  ก็ต้องข่มใจ  ฝึกใจตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ


*๒.ทมะ  มีลักษณะเป็นความหยุด 


---หมายความว่า  การยับยั้งตัวเอง ไม่ให้ถลำไปสู่ความชั่ว  ความผิด  ถ้าไม่มีการยับยั้งไว้เสียเลย  ในคราวที่ตนมีความหันเหไปทางผิด หนักเข้าก็จะนำความลำบากเดือดร้อนกลับมาสู่ตัวและครอบครัว ตลอดจนสังคม  เช่น  ถ้าตัวเราจะกลายเป็นคนติดสุรา  เป็นนักเลงการพนัน  เป็นนักเลงเจ้าชู้  เป็นต้น  เป็นสิ่งเป็นไปได้ทั้งนั้น  ถ้าเราไม่รู้จักยับยั้งตัวเอง


*๓.ทมะ  มีลักษณะเป็นความหยุด 


---จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในคราวที่เราจะถลำไปสู่ความชั่ว ความผิดพลาด  เช่น  ในคราวจะทะเลาะวิวาทกัน  จะคิดทำทุจริต  จะตกไปสู่อบายมุข  และจะหันไปสู่ความเป็นคนเลว  เมื่อถึงคราวอย่างนั้น ก็จะต้องรู้จักหยุด ข่มใจตัวเอง  ฝึกใจตัวเองให้กลับมาสู่ทางที่ดี ที่ถูกที่ควร หรือเหมาะสมตามฐานะของตนเอง


*๔.ทมะ  มีลักษณะเป็นความข่ม 


---หมายความว่า  การข่มใจข่มตัว  อย่าให้กำเริบเสิบสานจนเกินไป  ตามปกติตัวของเรา  ถ้าปล่อยไปตามอำเภอใจ  ย่อมจะมีความจองหอง พองขนขึ้นไปมาก  ทั้งในการกินอยู่  การเที่ยวเตร่  และอื่น ๆ  หนักเข้า ตัวเอง ก็จะไม่สามารถปรนปรือให้แก่ตัวเองได้  กลายเป็นคนมีความเป็นอยู่สูงเกินฐานะ  ผู้ที่เป็นอย่างนี้  ถ้าเป็นคนอยู่ในอุปการะของคนอื่น ก็นำความเดือดร้อน  อิดหนาระอาใจ แก่ผู้อุปการะเลี้ยงดู  ก็แม้ว่าเป็นผู้หาเลี้ยงตัวเอง  ก็ไม่วายเดือดร้อน  รายจ่ายเกินรายได้  หนักเข้าก็กู้หนี้ยืมสินรุงรัง ตั้งตัวไม่ติด  ยิ่งถ้าเป็นคนมีครอบครัว  ก็จะพากันระส่ำระสายไปทั้งครอบครัว  ด้วยเหตุนี้  ท่านจึงสอนให้บำเพ็ญทมะ  คือ รู้จักข่มตัว  ข่มใจไว้   มิให้เห่อเหิมเกินฐานะของตัว


*คุณ - โทษ


---คุณแห่งความมีทมะ  เช่น


---๑.ทำให้มีความสามารถในการทำงาน


---๒.ไม่เป็นที่รังเกียจของคนอื่น


---๓.ไม่มีเวรภัยกับใคร


---๔.มิตรภาพมั่นคง


---๕.ยั้งตัวไว้ได้  เมื่อจะทำผิด


---๖.ตั้งตัวได้

    

*โทษแห่งความไม่มีทมะ  เช่น


---๑.จะตกเป็นกาฝากสังคม


---๒.จะตกเป็นอาชญากร


---๓.จะจมลงสู่อบายมุข


---๔.เต็มไปด้วยการทะเลาะวิวาท


---๕.เพื่อนฝูงรังเกียจ


---๖.ตั้งตัวได้ยาก


---๗.ครอบครัวเดือดร้อน


---คำว่า  ขันติ  แปลว่า  ความอดทน  เป็นลักษณะความเข้มแข็งของจิตใจ ในการพยายามทำความดี  และถอนตัวออกจากความชั่ว


---ที่ว่า  อดทน  ก็ความอดทนนั้น  ขอให้เข้าใจว่า  มีความอดทนต่อฝ่ายที่ไม่ดี  เพื่อยืนหยัดอยู่ในทางที่ดี ให้ได้  ไม่ใช่หมายความว่า  ใครตกอยู่ในสภาพเดิมนั้น  เสมอไปหามิได้  เช่น  เป็นคนยากจนแล้วก็ทนอยู่ในความยากจน  ไม่พยายามขวนขวายหาทรัพย์  หรือตัวเองเป็นคนเกียจคร้าน งานการไม่ทำ  แม้จะถูกคนอื่นสับโขกอย่างไรก็ทนเอา  อย่างนี้ไม่ใช่ขันติ  ไม่ใช่ความอดทน  ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  เป็นลักษณะความ “ตายด้าน”  หรือ “หน้าด้าน” เท่านั้น


---ขันติ ๔ สถาน  ขันติจำเป็น สำหรับคราวที่เราต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่จะทำให้เราหันเหไปจากทางที่ดี  เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นมีอยู่ ๔ ประเภท  เพราะฉะนั้นในทางพระพุทธศาสนา  ท่านจึงกำหนดไว้ว่า  พึงบำเพ็ญขันติในที่ ๔ สถาน  คือ


---๑.อดทนต่อความลำบาก


---๒.อดทนต่อความทุกขเวทนา


---๓.อดทนต่อความเจ็บใจ


---๔.อดทนต่ออำนาจกิเลส


*๑.ความอดทนต่อความลำบาก 


---หมายความว่า  คนทำงานมาก ๆ  แล้วได้รับความลำบากเหน็ดเหนื่อย  หิวกระหายหรือถูกแดด  ลมฝนกระทบ  ย่อมได้รับความลำบากนานับประการ  คนที่ไม่มีขันติ  เมื่อเผชิญกับความลำบากตรากตรำ  มักจะทอดทิ้งการงานเสีย  เป็นคนมือบาง  เท้าบาง  ทำอะไรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ  แต่ผู้มีขันติ ย่อมอดทนต่อสิ่งเหล่านี้  กัดฟันทนทำงานของตนให้สำเร็จ


*๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา 


---หมายความว่า  ทนต่อทุกขเวทนา อันเกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย  คนที่ขาดขันติ  เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วย  มักจะแสดงมารยาทอันไม่สมควรออกมา เช่น เจ็บปวดไม่พอ จะร้องก็ร้องไม่พอ จะครางก็ครางมีอาการ กระบิดกระบอน  เป็นคนเจ้ามายา  โทโสโมโหง่าย  บางคนอ้างความเจ็บป่วยเป็นเลิศ  กระทำความชั่วต่าง ๆ ก็มี  แต่ผู้มีขันติ ย่อมรู้จักอดกลั้น ทนทาน ไม่ปล่อยตัวให้เสีย  หรือตกไปในทางชั่วดังกล่าวนั้น    


*๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ 


---หมายความว่า  เมื่อถูกผู้อื่นกระทำล่วงเกินให้เป็นที่ขัดใจ  เช่น  ถูกด่าว่า  หรือสบประมาท  ผู้ขาดขันติ  ย่อมเดือดดาลแล้วทำร้ายตอบ  ด้วยการกระทำอันร้ายแรงเกินเหตุ  เช่นว่า  เหน็บแนมด้วยวาจาหยาบคายหรือก่อความวิวาท  ตีรันฟันแทง  สร้างเวรกรรมไม่สิ้นสุด  เป็นทางนำมาซึ่งความหายนะแก่ตัวและครอบครัว  แต่ผู้มีขันติ  ย่อมรู้จักอดทน สอนใจตัวเอง  หาวิธีแก้ไขให้เรียบร้อย  เป็นผลดีด้วยความสงบ


*๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส 


---หมายความว่า  ความอดทนต่อความเจ็บใจในข้อ ๓ นั้น  เป็นความอดทนต่ออารมณ์  ข้างฝ่ายเพลิดเพลิน  เช่น  ความสนุก  การเที่ยวเตร่  การได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะไม่ควร  เป็นต้น


---อารมณ์ที่น่ารัก  น่าพอใจ  ดูก็ไม่น่าจะต้องใช้ความอดทนอะไร  เพราะไม่ทำให้เราลำบาก  แต่ที่ต้องใช้ความอดทน  เพราะทำให้เราเสียหายได้  คนที่ไม่มีขันติ  มักจะทำกรรมอันน่าบัดสีต่าง ๆ ได้  เพราะอยากได้สิ่งที่ตนรัก  เช่น  รับสินบน  ผิดลูกเมียเขา  เห็นเงินตาโต  รู้มาก  เห่อเหิม  เมาอำนาจ  ขี้โอ่โอ้อวด  เป็นต้น  ก็การอดทนต่ออำนาจกิเลสเหล่านี้  ว่าโดยย่อ ๆ คือ  อดทนต่ออำนาจความอยาก นั่นเอง


*คุณ - โทษ


*คุณแห่งความมีขันติ  เช่น


---๑.ทำงานได้ผลดี


---๒.บำเพ็ญตนเป็นหลักแห่งบริวารชน


---๓.ไม่มีการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน


---๔.ไม่ทำผิด  เพราะเห็นแก่ความอยาก


*โทษแห่งความขาดขันติ  เช่น


---๑.ทำงานคั่งค้าง  จับจด


---๒.เสียความไว้วางใจของผู้อื่น


---๓.เต็มไปด้วยศัตรู


---๔.จะกลายเป็นอาชญากร


---คำว่า  จาคะ  แปลว่า  ความเสียสละ  หมายถึง  ความตัดใจ  หรือตัดกรรมสิทธิ์ของตน  ตัดความยึดถือเสีย  ความเสียสละในคำว่า  จาคะนี้มี ๒ นัย  คือ  สละวัตถุและสละอารมณ์


---สละวัตถุ  หมายความว่า  สละทรัพย์สิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น  เช่น  สละเงินสมทบทำสะพาน  สร้างโรงพยาบาล  สร้างโรงเรียน  ซื้อรถดับเพลิง  บำรุงการทหารของชาติ  บำรุงศาสนา  บำรุงการศึกษา  ตลอดจนบริจาค สงเคราะห์ ผู้ประสบภัยและผู้ตกทุกข์ได้ยากต่าง ๆ  ผู้ครองเรือน ย่อมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสังคม  นับตั้งแต่การทำมาหากิน  ตลอดการดำรงชีพในแง่ต่าง ๆ


---เพราะฉะนั้น  ผู้ครองเรือนจึงจำเป็นต้องถือเป็นหน้าที่  ในการบริจาค ช่วยเหลือ สังคมตามกำลังความสามารถ  กล่าวคือ  เมื่อสังคมเป็นฝ่ายให้แล้ว  เราจะให้อะไรบ้างแก่สังคม  คนที่อยู่ในสังคมได้รับประโยชน์ต่อสังคม  แต่ไม่อุดหนุนบำรุงสังคม  ก็ย่อมเป็นคนที่สังคมรังเกียจ  ในฐานะเป็นคนรู้มากและเป็นกาฝากของสังคม  สังคมใดมีคนประเภทกาฝากมาก  สังคมนั้นย่อมจะมีความมั่นคงน้อย  ฉะนั้น หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงสอนให้มีจาคะทั่วกัน


---สละอารมณ์  หมายความว่า  เป็นคนรู้จักปล่อยวางอารมณ์ ที่เป็นข้าศึกต่อความสงบใจ  เช่น  ความโกรธเคือง ขัดใจกับคนอื่น  จะเป็นกับภรรยาสามี  กับเพื่อนฝูง  หรือกับเพื่อนบ้านก็ตาม  ซึ่งเป็นเรื่อง ที่คนชาวบ้านจะหลีกเลี่ยงเสียมิได้  แต่การเก็บอารมณ์เหล่านี้  หมักหมมไว้ในใจ ย่อมนำมาซึ่งความร้าวรานไม่สิ้นสุด  และทำให้ตนเองเป็นทุกข์เดือดร้อน  เมื่อสั่งสมไว้นาน ๆ  หรือมาก ๆ  ก็จะเป็นสาเหตุ ของโรคประสาทได้  เพราะฉะนั้น  พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้มีจาคะ  คือ ให้เสียสละ  ปล่อยวางอารมณ์ประเภทนี้เสีย  การปล่อยวางอารมณ์อย่างนี้  ก็เป็นจาคะอย่างหนึ่ง


*คุณ - โทษ


*คุณของความมีจาคะ  เช่น


---๑.ทำความปลอดภัยแก่ตนเอง


---๒.ทำความมั่นคงแก่สังคม  ประเทศชาติ


---๓.เป็นที่นับหน้าถือตาของคนอื่น


---๔.ทำความสงบสุขแก่ครอบครัว  สังคม


---๕.จิตใจเป็นสุข


*โทษของการขาดจาคะ  เช่น


---๑.บั่นทอนความมั่นคงของตน  และของประเทศชาติ


---๒.ได้รับคำครหาติเตียน


---๓.ทุกข์ใจ......................................




................................................................................




 

 ที่มา....คัมภีร์พระพุทธศาสนา

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 20 กันยายน 2558

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,886,162
เปิดเพจ12,106,088
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view