/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

พลังจิตกับวิทยาศาสตร์

พลังจิตกับวิทยาศาสตร์

การฝึกพลังจิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้า







 
---ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังจิตและพลังชีวิต


---พลังชีวิต คือ ดวงจิต นั่นเอง ลองคิดดูว่า เหตุใดรถยนต์ไม่สามารถขยับเองได้ ทั้งๆ ที่เติมน้ำมันมากมาย พลังจากน้ำมันไม่อาจทำให้รถยนต์เคลื่อนเองได้ เพราะพลังนั้นไม่ใช่พลังชีวิต ในขณะที่ไวรัสสามารถเคลื่อนที่เองได้ เหตุใด เพราะไวรัสตัวเล็กนั้น มีพลังชีวิตนั่นเอง


---พลังชีวิต คือ พลังงานรูปหนึ่ง มีคลื่นความถี่เฉพาะ สามารถตรวจวัดได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การตรวจคลื่นสมอง, การตรวจดูด้วยการถ่ายภาพออร่า, กล้องถ่ายภาพวิญญาณและพลังงานพิเศษ เป็นต้น พลังชีวิตนี้ เรียกว่า “ดวงจิต” เพราะปกติจะมีลักษณะกลม เหมือน อะตอม พลังชีวิต นี้ประกอบด้วย



---1.ดวงจิต   คือ พลังชีวิตที่แท้จริง  เป็นที่บันทึกกรรมต่างๆ ที่จิตทำไว้ทั้งหมด


---2.ปราณ   คือ   พลังจักรวาล  ที่จิตดึงมาก่อเป็นวิญญาณเพื่อใช้ครอบครองร่างใดๆ


---3.พลังจักรวาล   คือ  พลังธรรมชาติ  ในรูปแบบที่สอดคล้องกับที่ดวงจิตจะดึงมาใช้ได้


---4.พลังธรรมชาติ   คือ  พลังธรรมชาติในรูปแบบที่จิตไม่


---สามารถดึงมาใช้ได้ เช่น น้ำมัน



*พลังจิตคืออะไร 


---จิต ก็คือ พลังงานอยู่ในตัวอยู่แล้ว ดังนี้ จึงมีพลังในตัวเอง การฝึกพลังจิตจึงไม่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มกำลังจิตเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง  การใช้จิตที่มีพลังนั้น ทำสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย


---นอกจากนี้ จิตยังรับรู้สิ่งต่างๆ ได้แม้นไม่มีร่างกาย จิตนั้น เข้าไปรับรู้เรื่องของสมองและร่างกาย  โดยอาศัยการรับกระแสประสาทของสมอง เป็นต้น


---ดังนี้ แม้นจิตไม่มีร่างกาย ก็สามารถรับรู้กระแสประสาท, ประจุไฟฟ้าต่างๆ และพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนี้ จิตของคนหนึ่ง ก็สามารถเข้าไปสู่สมองและร่างกายของบุคคลอื่น และรับรู้ และสั่งการบุคคลอื่นได้อีกด้วย เรียกว่า "การสะกดจิต" นั่นเอง  เพราะว่าจิตนั้นมีทั้งพลัง เคลื่อนที่ได้เอง และรับรู้ พร้อมทั้งสั่งการได้หมดในตัวเอง



*พลังปราณคืออะไร 



---พลังปราณ คือ พลังจักรวาลที่จิตนำมาใช้ครอบครองร่างนั้นๆ โดยสร้างรูปร่างให้คล้ายกับร่างที่ครอง ที่เรียกว่า “วิญญาณ” นั่นเอง ดังนี้ การฝึกพลังปราณ ก็คือ การฝึกให้วิญญาณนั้นตื่นตัว ครองร่างนั้นๆ ดูแลรักษาส่วนต่างๆ ของร่างนั้นๆ และควบคุมใช้งานร่างนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง


---โดยพลังปราณนี้  สามารถถ่ายเทให้กันและกันได้ เช่น การบำบัดด้วยออร่า ซึ่งก็เหมือนการใช้พลังปราณผ่านทางฝ่ามือรักษาโรค ในทางการแพทย์แบบจีน หรือแบบสมัยใหม่ก็ตาม ; พลังปราณนี้ จะเห็นเป็นดวงเมื่ออยู่ร่วมกับดวงจิต  โดยจะปกป้องอยู่รอบดวงจิตอีกที  แล้วฉายแสงออกรอบทิศเป็นรัศมี  เรียกว่า       “ฉัฬพรรณรังสี” ปราณนี้สามารถบ่งบอกโรคภัยต่างๆ ในร่างกายได้ โดยการดูสีต่างๆ ที่ปรากฏออกมา ก็สามารถรู้ได้ว่าบาดเจ็บในส่วนใดของร่างกาย  ทั้งนี้ยังสามารถรับรู้ได้ด้วยการสัมผัสและประสาทสัมผัสอื่นๆ การรักษาโรคด้วยปราณ จึงเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง



*พลังจักรวาลคืออะไร



---พลังจักรวาล คือ พลังธรรมชาติที่จิตสามารถดึงมาใช้ได้ ปกติจะอยู่ในรูปคลื่นความถี่ต่างๆ


---ดังนี้ การฝึกจิตควบคู่กับการหมุนขันแบบทิเบต, การเคาะระฆัง, การใช้ซ่อมเสียงบำบัด จึงสามารถกระตุ้นพลังจิตได้ คือ จิตเปิดรับพลังจักรวาล เหล่านี้มาแล้ว ใช้ให้เป็นประโยชน์ในรูปต่างๆ เช่น ฆ่าเชื้อโรคแปลกแปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เชื้อโรคแปลกปลอมนี้ มักไม่คุ้นเคยกับพลังปราณ หรือพลังคลื่นจักรวาล ที่มีความบริสุทธิ์


---เพราะเชื้อโรคชั้นต่ำ เป็นดวงจิตที่เกิดจากคนชั้นต่ำ ดวงจิตที่เลวทราม เมื่อพบคลื่นความบริสุทธิ์ที่แตกต่างจากตนมาก จะได้รับผลกระทบจนอยู่อาศัยไม่ได้ และตายลงในที่สุด


---ดังนี้ พลังจักรวาล จึงช่วยรักษาโรคได้ในบางกรณี พลังจักรวาลนี้ บางท่านจะเรียกว่า “ชี่ กง” ก็มี แต่บางท่านไม่จัด “ชี่กง” (หรือ ไทเก็ก หรือ พลังธรรมจักร) เป็นพลังจักรวาล สำหรับผู้ฝึกพลังจักรวาลโดยตรง จะเปิดรับพลังนี้ผ่านทางหัวด้านบน ที่เรียกว่า "จักระเจ็ด"  ซึ่งการเปิดจักระนี้  จำต้องใช้พลังปราณที่สูงในการเปิด อาจเปิดโดยมีผู้ช่วยเปิดซึ่งมีพลังสูง หรืออาจเปิดเองก็ได้


---และเมื่อเปิดจักระนี้แล้ว ส่งผลให้ดวงจิตอื่นๆ เข้ามาสู่สมองได้ง่ายด้วย ดังนี้ บางท่าน เมื่อจักระเจ็ด   ถูกเปิดจะมีดวงวิญญาณอื่นๆ เข้ามาแทรกได้ ที่เรียกว่า “ผีเข้า” หรือ “ทรงเทพ” ก็สามารถพบได้เช่นกัน และที่หลอกลวงว่า เทพเข้าร่าง ก็มีเช่นกัน


---โดยระยะแรกๆ ที่ดวงจิตอื่นเข้ามาร่วมครอบงำร่างกาย  ดวงจิตสองดวง  จะฝืนและยื้อกัน มีอาการ เช่น สั่นเทา, ควบคุมร่างกายได้ไม่เต็มที่, ยื้อกันไปมา แต่เมื่อดวงจิตเจ้าของร่าง ยอมให้ดวงจิตจร ที่เข้ามาอาศัยร่างแล้ว อาการนั้นก็สงบลง


---จากนั้น ดวงจิตจรที่เข้ามาร่วมอาศัยร่าง มักจะไม่อยากออกจากร่าง  เพราะการได้ร่างกายมนุษย์นั้น    ยากเย็นยิ่งนัก ดวงจิตจร ที่เข้ามาเหล่านี้ มีทั้งที่ดีและร้าย ส่วนใหญ่จะพบดวงจิตร้ายๆ ก่อน คือ ดวงจิตที่เป็นเจ้ากรรมนายเวร มากลั่นแกล้ง และขอส่วนบุญ เป็นต้น


---บางท่านโชคดี เมื่อดวงจิตจรเข้ามาแล้ว มีดวงจิตที่ดีเข้ามาช่วยได้ทันท่วงที เช่น เทพต่างๆ ที่ตนนับถือบูชามาช่วยไว้ ก่อนที่จะถูกดวงจิตร้ายๆ ดวงอื่นครอบงำ ; ทว่า ผู้ฝึกจิต พึงฝึกจิตเพื่อรู้จักและควบคุมพลังจักรวาลต่างๆ เหล่านี้ให้ได้ดี ก่อนเปิดจิต



*องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต (ชีวิตินทรีย์) 



---สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย  จิต วิญญาณ สมองและร่างกาย ร่วมอยู่ด้วยกัน โดยแรกเริ่มเดิมทีนั้น เซลล์พ่อและแม่ได้ผสมกัน เรียกว่า “ปฏิสนธิ เซลล์” จากนั้น ดวงจิตที่สูญปราณ หรือกายทิพย์สลายลง จะเคลื่อน (จุติ) จากภพเดิม สู่ปฏิสนธิเซลล์นี้ เรียกจิตที่เคลื่อนนี้ว่า “จุติจิต” เมื่อจิตเคลื่อนเข้าผสมในเซลล์ปฏิสนธิก็เรียกจิตนั้นว่า “ปฏิสนธิจิต”


---จากนั้น จากดวงจิตที่เล็กมากกว่าปลายเข็ม   ซึ่งเท่าเทียมกันในทุกสิ่งมีชีวิต ก็จะใช้ “พลังจิต” ดึงปราณ หรือพลังจากธรรมชาติ  ที่เสริมพลังชีพของตน ด้วยแรงอุปทานของจิต (จิตยึดมั่นอยากหรือยึดในสิ่งใดๆ ก็ตาม นำพาให้ไปสู่ร่างกายสัตว์ที่สอดคล้องกับจิตนั้นๆ)


---จากนั้นปราณจะเริ่มก่อรูปร่าง เรียกว่า “รูปขันธ์เกิด” เมื่อรูปขันธ์ก่อตัวครองร่างกาย เติบโตพร้อมร่างกายดีแล้วครบส่วนดีแล้ว เราเรียกทั้งหมดนี้ว่า “วิญญาณขันธ์” หรือ วิญญาณใน "ปฏิจจสมุทบาท" ซึ่งจะเกิดหลังมีสังขารเกิดแล้วนั่นเอง


---เพราะจิตนี้ ใช้สังขารก่อรูปวิญญาณให้เหมือนสังขารนั้น เพื่อยึดครองร่างๆ นั้น  ดังนี้ ดวงจิตจะมีปราณอาบหุ้มปกป้องไว้ เปรียบเหมือนเซลล์อะมีบา ที่นิวเคลียสอยู่ตรงกลาง (เปรียบเหมือนจิต) แล้วมีอะไรหุ้มอยู่ ดวงจิตเคลื่อนได้และเคลื่อนตลอด มักไม่ค่อยหยุดยั้ง แต่ปกติมักอยู่ที่หัว คือ ครองสมอง เพื่อรับรู้ประสาทต่างๆ ทั่วตัว ที่ส่งกระแสประสาทมาที่สมอง แต่บางทีจิตก็ลงไปร่วมรับรู้ ณ จุดนั้นๆ โดยตรง จิตสามารถเคลื่อนไปได้ตามแต่เราจะกำหนด เช่น นั่งสมาธิ รวมจิตไว้ที่หน้าอกก็ได้ คนจึงมักกว่าว่าจิตอยู่ที่หัวใจ


---เพราะเวลานั่งสมาธิ ไปกำหนดไว้ที่นั่น แท้แล้วจิตอยู่ที่สมองมากกว่า และเคลื่อนที่ได้ตลอดอย่างรวดเร็ว ดังนี้ เมื่อถ่ายออร่า จึงมักเห็นแสงออร่าของดวงจิตที่หัว หรือหากคนมีตาทิพย์ ดูหัวคนจะเห็นดวงจิตสว่างส่องออกมา เห็นออร่าที่หัวนี่เอง


---นอกจากนี้ จิตยังสามารถเคลื่อนไปภพอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักฝึกจิตแนว"มโนมยิทธิ"  มักเรียกว่า “ถอดจิต” ส่วนผู้ฝึกจิตแนว "สติปัฏฐานสี่" มักไม่นิยมส่งจิตออกนอก เพราะจะดูสมอง เห็นความคิดที่เกิดกับสมองโดยตลอดมากกว่า


---นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ถอดกายทิพย์” ซึ่งก็คือ  การถอดวิญญาณนั่นเอง โดยการใช้พลังจิตกำหนดปราณให้เป็นรูปร่าง “กายทิพย์” หรือใช้อุบายดึงวิญญาณบางส่วนออกมา  สร้างรูปเป็น “กายทิพย์” แต่ถ้าดึงออกมาทั้งหมดจะสิ้นใจตายได้ จากนั้นก็ใช้กุศโลบาย นำจิตไปสู่ภพภูมิต่างๆ ในลำดับถัดไปก็ได้เช่นกัน ตราบเมื่อถึงเวลาสิ้นอายุขัย ปราณจะแตกดับ คือ สูญสลายรั่วไหลออกจนหมดจากดวงจิตนั้น


---ชั่วระยะทันทีที่จิตยึดมั่น ถือมั่นก็จะก่อรูปใหม่อีกทันที เรียกว่า "เกิดทันทีที่ตายลงสู่ภพใหม่" หรือเกิดแบบโอปาติกะ คือ ไม่ได้เกิดในท้องพ่อแม่ใดๆ ดังนี้ วิญญาณไม่ได้หลุดออกจากร่าง แล้วล่องลอยไปเกิดใหม่ แต่สูญสลายชั่วระยะหนึ่ง หากจิตยังยึดมั่น ยังอยากไปต่อ ยังไม่ปล่อยวางลงได้ทั้งหมด   ก็จะเกิดใหม่อีกเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ตามแต่กรรมที่จิตก่อไว้  จะส่งผลให้ไปเกิดเป็นอะไร  โดยดวงจิตดวงนั้น จะบันทึกความจำจากกรรมต่างๆ ที่ทำไว้ทั้งหมด ไม่อาจเลี่ยงได้


---และดวงจิตไม่มีสูญสลาย เพราะดวงจิต คือ  พลังชีวิต นั่นเอง  หากดวงจิตนั้นๆ ไม่อยาก, ไม่ยึด,    ปล่อยวางได้หมด ก็จะหลุดพ้นจากการเกิดใหม่ ดวงจิตนั้นจะมีอิสระ ไม่สูญสลาย ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องกิน, ถ่าย, มีเพศสัมพันธ์, นอน  ดังนี้  ชีวิตก็คือ "จิตวิญญาณ"  ที่เข้ามาร่วมกับสมองร่างกายในชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจะดับสิ้นไปสู่ภพใหม่ นั่นเอง




*ดวงจิตและการรับรู้ของดวงจิต


---เริ่มจากประตูรับสัมผัสทางกาย ไปสู่ สมอง (หรือใจ) แล้วไปสู่จิต เป็นสุดท้าย หากไม่มีจิตสั่งการแล้ว สมองก็เปรียบเสมือนรถยนต์หรือจักรยานที่ไม่มีผู้ขับขี่


---เมื่อจิตควบคุมบงการสมอง แรกๆ สมองก็คิดได้ตามนั้น แต่สมองจะหยุดไม่ค่อยเป็น เหมือนผู้ถีบจักรยานหยุดถีบแล้วแต่จักรยานยังแล่นไปตามแรงกรรมแห่งการถีบ ที่ส่งผลยังไม่หมดสิ้น ด้วยเพราะกำลังจิตมีมากนั่นเอง


---เมื่อหมดแรงจิต, หมดแรงวิบากกรรมที่จิตทำไว้ สมองก็หยุดทำงาน เรียกว่า “ภวังคจิต” คือ จิตว่างเฉยอยู่, ไม่คิด, ไม่ทำอะไร  ประสาทอัตโนมัติทำงานไปอย่างเดียว แต่ภวังคจิตนี้เอง มาคั่นให้ชีวิต   ไม่ตาย รักษาร่างกายต่อไปได้ รอดวงจิตมาบงการสมองต่อไป


---ดังนี้ คำว่า "จิต" ในขณะที่ยังทำงานร่วมกับสมองนี้  จึงนับว่าซับซ้อนพิสดาร ไม่ได้จำแนกแยกแยะ  ออกมาระหว่างจิตที่ไม่ร่วมกับสมอง  และจิตขณะร่วมกับสมอง เช่น ขณะถอดจิต ถามว่าจิตที่เกิดดับนั้น พิจารณาที่ดวงจิตถอดออกไป  หรือพิจารณาที่สมองเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขอเน้นเฉพาะจิต  ที่หมายถึง "จิตวิญญาณ"  จะไม่เน้นถึงสมอง ดังนี้



---1.เปลือกจิต   คือ   อารมณ์, การเสแสร้ง ต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ เพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม


---2.เนื้อในจิต   คือ   ส่วนของจิตที่เป็นตัวเองของดวงจิตนั้นๆ เช่น กิเลสปัจจุบัน, อดีตชาติ


---3.แก่นจิต   คือ   ส่วนที่เป็นพุทธะ คือ ความว่างจากกิเลส อิสระ ไม่ต้องการใดๆ



---ในการฝึกจิตนั้น ผู้ฝึกจะต้องทะลายเกราะเปลือกจิต เรามักเรียกว่า “สักกายทิฐิ” คือ ความถือตน       ไม่ยอมลดตัวลง ไม่ยอมเปิดใจรับฟัง ดื้อรั้น นั่นเอง เมื่อละเปลือกนอกนี้ลงได้แล้ว จะเข้าสู่การฝึกจิตที่แท้จริง คือ การดูเนื้อในจิต เพื่อเห็นกิเลสต่างๆ แล้วสลัดกิเลสต่างๆ ให้หลุดลอกออกไป จนไม่เหลือกิเลสใดๆ ในเนื้อจิตแล้ว จึงเข้าสู่ “ภาวการณ์ระลึกชาติ” หรือบางท่านอาจไม่เข้าสู่ภาวะนี้ก็ได้ คือ เข้าสู่แก่นจิตเดิมแท้ คือ จิตพุทธะ คือ ความบริสุทธิ์ได้เลยก็มี


---ซึ่ง"พุทธศาสนามหายานนั้น"จะเรียกว่า "วิญญาณบริสุทธิ์"  ซึ่งจะมาจากจิต ซึ่งจิตก็กำเนิดมาจากดวงจิตใหญ่ที่เรียกว่า "สภาวะจิตเดิม" หรือ "สภาวะจิตแท้"  ผู้มีวิญญาณที่บริสุทธิ์นั่นเอง นั่นก็หมายถึง จิตเดิมแท้นั้นประภัสสรไร้กิเลส อยู่แล้วนั่นเอง แต่ความที่จิตบริสุทธิ์ไม่ได้แปลว่า  จิตรู้แจ้งในเรื่องทางโลก เมื่อมาจุติแล้วจึงหลงโลก หลงใหลสิ่งต่างๆ ในโลก เกิดเป็นกิเลสต่างๆ


---การฝึกจิตจึงมีจุดมุ่งหมาย  มิใช่พุ่งไปที่สมองรู้เลย แต่พุ่งไปที่จิตสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส จิตนั้นก็จะเห็นแจ้งเองในสรรพสิ่ง ว่าไม่ใช่สิ่งที่จิตไขว่คว้าเลย  เปรียบเหมือนดวงจิตใหญ่ที่บริสุทธิ์ แบ่งแยกออกเป็นดวงจิตเล็กๆ พุ่งออกมาโดยแรง  แล้วขวักไขว่ วิ่งวน  เวียนว่ายตายเกิด หลายต่อหลายรอบ จนเหนื่อยล้า และหมดแรงก็จะหยุดพัก ไม่ไปต่อ คือ หมดสิ้นกิเลส  อยู่นอกเหนือการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก คือ"นิพพาน"



*ประตูการรับสัมผัสและการรับรู้ (อายตนะหก)


---การใช้ประตูการรับรู้ หรือประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจธรรม หรือธรรมชาติ เป็นการฝึกจิต และกาย  ให้สามารถล่วงรู้ธรรมชาติ  ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ทั้งนี้ การพิสูจน์ให้รู้แจ้งด้วยประสาททางกายนั้น  ไม่พอที่จะให้จิตรับรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ มีดังนี้


---1.ทางกาย   คือ   ประสาทสัมผัสหลักทั้งห้า


---ทางกาย ได้แก่ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, สัมผัสในการฝึกจิตนี้ ปกติจะใช้ ตามากที่สุด, หูรองลงมา, ผิวสัมผัสมักใช้พิจารณากรณีนั่งหลับตา แล้วมีอาการปวดเมื่อย เป็นต้น ส่วนลิ้นนั้น จะใช้กรณีฝึกพิจารณาอาหารใน "อาหาเรปฏิกูลสัญญา" โดยควบกับ "อาหาเรเนวสัญญา"  (กำหนดอาหารให้ไร้รส) ส่วนจมูกแทบไม่ค่อยได้ใช้เลย



---2.ทางจิตใจ   คือ ประสาทสัมผัสทางจิตใจ


---ประกอบด้วยสองส่วน คือ ใจหรือกระบวนการทำงานของสมอง อันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและจิต อันเป็นองค์ประกอบของจิตวิญญาณ ในการฝึกจิตนี้ แตกต่างจากการฝึกสมอง, เราควรฝึกสมองด้วยการเรียนต่างๆ และควรฝึกจิตควบคู่ไปด้วย จิตจึงไม่ทำอะไรตามใจ (สมอง) ไม่ตกเป็นทาสแห่งเรือนร่างกาย เมื่อฝึกจิตดีแล้ว ฝีกสมองดีแล้ว ก็จะฝึกให้สมองและจิต (จิตใจ) ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ ดังนี้


---จึงเป็นการพัฒนา EQ, IQ, MQ นั่นเอง  เราต้องเข้าใจกระบวนการรับรู้ ทางกายก่อน มาสู่ทางใจ จากประตูรับรู้หรือประสาทสัมผัสต่างๆ มาสู่สมอง แล้วเข้ามาสู่จิต เป็นขั้นสุดท้าย


---ในสติปัฏฐานสี่ พระพุทธเจ้าได้ใช้คำว่า “จิตในจิต”  อันแสดงถึงว่า  มีจิตข้างในจิตอีกด้วย ; ซึ่งหลวงปู่เทสก์ จะแยกคำให้ง่ายขึ้นเป็น "จิตและใจ" โดยให้   จิตในจิต  หมายถึง  จิตปกติ


---ส่วน "จิตนอกจิต"  คือ ใจ หรือพูดง่ายๆ คือ ใจอยู่นอก จิตอยู่ใน จึงเรียกว่า “จิตในจิต” ซึ่งเรียกแบบนี้ทำให้ฉงน สนเท่ห์และสงสัยใคร่รู้ จนต้องค้นหาเอง เป็นกุศโลบายของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “จิตในใจ” นั่นแหละ 


---ส่วนใจ ก็คือ การทำงานของสมอง เช่น ทำอะไรตามใจ หมายถึง ทำตามสมอง คือ สนองความต้องการทางร่างกาย ซึ่งก็เป็นผลจากประสาทสัมผัสรับมา เป็นปฏิกิริยาตอบโต้พื้นฐาน เหมือนโดนเคาะเข่า ปลายเท้ากระดกขึ้นไปเท่านั้นเอง


---เคยสังเกตไหมว่า บางครั้ง เราเป็นเช่นนั้น เราเห็นคนหน้าตาดี เราต้องคล้อยตามองอัตโนมัติ ไม่ได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองก่อน หลงใหลเพราะไม่เข้าใจแจ้งจริงในสรรพสิ่ง (อวิชชา) จนนำไปสู่การอยากได้มากๆ เกินหยุดยั้ง (ตัณหา) และการยึดมั่นในความคิดเห็นนั้น (อุปทาน)


*ระดับการรับรู้ (Degree of perception)


---1.การรับรู้ทางใจ   ได้แก่   สุตตมยปัญญา คือ การรับรู้โดยสมอง การดู, ฟัง, อ่าน


---2.การรับรู้กึ่งจิตกึ่งใจ   ได้แก่  จินตมยปัญญา คือ การรับรู้โดยการนึกคิดเอาต่อจากเดิม


---3.การรับรู้ทางจิต   ได้แก่   ภาวนามยปัญญา คือ การรับรู้โดยจิต ไม่ได้คิดหรือฟัง

 

---การรับรู้ระดับ "สุตตมยปัญญา"  จะปรากฏในรูป การจำ, ฟัง, อ่าน เป็นต้น ไม่ได้คิดเอง มีผู้บอก มีข้อมูล เป็นต้น การรับรู้แบบนี้ ง่ายต่อการถูกยั่วเย้า, ยุยง, ชวนเชื่อ และโน้มน้าว แต่ก็มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตบนโลกปัจจุบันระดับพื้นฐาน (ระดับโลกียะ) ซึ่งการรับรู้แบบนี้ ไม่ได้ใช้สมองมากนัก ใช้ประสาทสัมผัสเป็นส่วนใหญ่ สมองจะรับรู้จากประสาทสัมผัสแล้วจำบ้าง แปลความหมายบ้าง เป็นต้น


---บุคคลหากฝึกสมองก็ได้การรับรู้ระดับนี้ สามารถจดจำอะไรได้มากมาย แต่ได้อย่างมากเพียงความเก่ง  แต่ไม่ใช่คนฉลาด และไม่ใช่คนที่มีปัญญาเลย


---ส่วนการรับรู้ระดับ "จินตมยปัญญา"  นั้นสูงขึ้นมาอีกระดับ เป็นการใช้ "จิต" ร่วมในการรับรู้ด้วย เช่น บางท่านไม่เคยรู้มาก่อนว่า  จะมีเครื่องบินได้ แต่สามารถจินตนาการเครื่องร่อนออกมาได้ นี่ด้วยจิตเข้ามาช่วยสมอง ให้จินตนาการถึงสิ่งที่ไม่มี ให้เห็นในปัจจุบันได้นั่นเอง ; การรับรู้ระดับนี้ใช้ความสามารรถของสมองมากที่สุด ซึ่งสมองจะควบคุมจิต บงการจิต และใช้ความสามารถในการรับรู้จากจิต 


---บุคคลที่จินตนาการเก่ง จะมีพัฒนาการทางสมองสูงกว่าคนที่จำเก่ง จัดได้ว่าเป็นคนฉลาด แต่ยังไม่ถึงขั้นเรียกได้ว่า "เป็นผู้มีปัญญา" 


---ส่วนการรับรู้ระดับสูงสุด คือ "ภาวนามยปัญญา" หรือ "การรู้แจ้งด้วยจิต" :  เพราะจิตจะรับรู้ได้มากกว่าร่างกายที่มีขีดจำกัด ร่างกายมนุษย์มีวิวัฒนาการสูง พอที่จิตจะใช้งานได้ถึงขั้นบรรลุธรรม คือ เห็นความเป็นไปแห่งสรรพสิ่ง แต่สัตว์อื่นๆ ไม่สามารถทำได้ถึงขั้นนี้ จิตจะแจ้งในธรรมได้  จะต้องพึ่งพาสมองก่อน เพราะจิตเคลื่อนมาฟักตัวในเซลล์ปฏิสนธินาน สัญญาเก่าเลือนหาย และไม่แจ้งในธรรมได้  จึงจำต้องมีสมองในระดับเท่าเทียมมนุษย์เท่านั้น  และจำต้องใช้สมองช่วยด้วยเช่นกัน เช่น ศึกษาหลักการก่อน ซึ่งต้องใช้การอ่านการฟัง ใช้สมองเป็นเบื้องต้น จึงจะใช้จิตต่อไปได้


*วิธีการฝึกจิต



---การฝึกให้จิตรู้ ประกอบไปด้วย การฝึกสติ, สมาธิ, ปัญญา เป็นสำคัญ โดยการที่จะมีองค์ประกอบทั้ง 3 นี้ได้       จำเป็นต้องมี ศรัทธาและวิริยะ เป็นเหมือนขาซ้ายขาขวา


---หากไร้ "ศรัทธา" แล้ว จะต้องวิริยะมากมาย เพราะพบเห็นสิ่งต่างๆ แต่ไม่เชื่อสิ่งที่ได้เห็นนั้นๆ จำต้องค้นหาไปอีกเรื่อยๆ


---แต่หากว่าขาดซึ่ง "วิริยะ"แล้ว  จำต้องเพิ่มศรัทธาให้มาก จึงจะเกิดความวิริยะได้ ดังนี้ ศรัทธาและวิริยะ จึงเป็นขาซ้ายขวาเบื้องต้นของการฝึกจิต เพื่อนำมาซึ่งผล 3 ประการขั้นต้น คือ สติ, สมาธิ, ปัญญา


---ซึ่งเมื่อถึงผลสุดท้ายแล้วจะเหลือเพียง “ปัญญา” เป็นประธานใหญ่  คอยดำเนินการเป็นหลัก การฝึก  ทั้ง 5 ประการนี้เรียกว่า  "การอบรมพละ 5" เมื่อพละ 5 แก่กล้าแล้วก็เรียกว่า  "อินทรีย์ 5 " เหมือนร่างกายที่แข็งแรงพร้อมทำกิจการใดๆ ได้นั้นเอง


---ดังนี้ บุคคลจะบรรลุธรรมได้ จำต้องมีอินทรีย์ 5 ที่แก่กล้าด้วยเป็นสำคัญ จึงต้องฝึกจิตให้มี สติ, สมาธิ และปัญญา เป็น 3 แนวทางหลัก  ของการฝึกจิตที่เรียกว่า “กรรมฐาน” คือ การฝึกจิต คือ กระบวนการหรือกุศโลบาย หรือก็คือ  อุบายวิธีในการฝึกจิต



*สุดท้ายแล้วจิตต้องการรู้อะไร


---ดวงจิตทุกดวง  ถูกบันทึกไว้ให้อยากรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง  เด็กที่เกิดมาแรกๆ ก็จะสงสัยสิ่งต่างๆ รอบตัว เมื่อไม่ทันรู้เท่าทันโลก ก็หลงโลก มีกิเลสตัณหาต่างๆ ตามโลกียวิสัยทั่วไป สุดท้ายแล้ว จิตต้องการรู้แค่ว่าสรรพสิ่งรอบๆ จิต คือ อนิจจัง และจิตไม่ต้องการอะไร แค่นั้นเอง

 

*สรุปการสมาธิให้สำเร็จ คือ จำเป็นต้องมี "ปัญญา"


---ในพระพุทธศาสนา ท่านแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ



---๑.ปริยัติปัญญา  หมายถึง  การเรียนรู้จากโรงเรียน  การเรียนรู้จากการศึกษา การสนทนา การพูด รวมถึงอายตนะด้วย เช่น เรียนวิชานั้น วิชาช่างด้านนั้นด้านนี้ เรียนเรื่องศีล ๕ เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา จำได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส อย่างนี้เป็นต้น (อย่างนี้อนุโลมเข้าเป็นสัญญาก็ได้)



---๒.ปฏิบัติปัญญา  การนำเอาความรู้นั้นมาประพฤติปฏิบัติ เช่น นำวิชาช่างด้านนั้นๆ มาทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้  ตามที่ได้เล่าเรียนมา นำเอาศีล ๕ มาปฏิบัติทางกาย ทางวาจา  ทางใจ ปฏิบัติในศีล ปฏิบัติในสมาธิ เป็นปัญญาที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาโดยลำดับ



---๓.ปฏิเวธปัญญา  หมายถึง  ปฏิบัติจนถึงที่สุด จนสามารถชำระจิตใจได้ ซึ่งเราเรียกว่า "ได้มรรค, ได้ผล, ได้นิพพาน" ท่านก็เรียกรวบยอดว่า "ปฏิเวธปัญญา" :  เป็นปัญญาที่แท้จริง คือ  ความรู้แจ้งแทงตลอด ละได้ เว้นได้ หยุดได้ ปล่อยได้ ปัญญานี้แหละคือ  ปัญญาที่เราต้องการ


*ตัวอย่าง


---เรื่องพระโปฐิลเถระ   เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป แต่ท่านก็ไม่บรรลุธรรม คือ ความรู้ที่ยังละไม่ได้ ตัดไม่ได้ ท่านก็ได้แต่เพียง (สัญญา) ปริยัติปัญญา จนพระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านว่า “คุณใบลานเปล่า” อยู่เนื่องๆ ทำให้ท่านเกิดสังเวชและได้ปัญญาคือ ตัดได้ ปล่อยได้ นำมาซึ่ง  ปฏิบัติปัญญาและปฏิเวธปัญญาของท่านในที่สุด

 

---เรื่องพระพาหิยะ   “พาหิยะเธอจงอย่าสนใจในรูป” เพียงเท่านี้ท่านก็ได้ปัญญา ที่ละได้ ตัดได้ ปล่อยได้ จนเป็นเอกทัคคะด้าน "ตรัสรู้เร็วพลัน"

 

---เรื่องของท่านองคุลีมาล   “เราหยุดแล้วแต่เธอยังไม่หยุด” เท่านั้นแหละท่านก็เกิดปัญญา ทิ้งดาบ กราบพระบาทองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอบวชจนบรรลุอรหันต์ผล

 

---เรื่องที่พ่อพาลูกไปยิงนก   ลูกถามว่า “นกตัวนี้มันทำอะไรให้พ่อ พ่อจึงยิงมัน” เท่านั้นผู้เป็นพ่อก็เกิดปัญญาคือ หยุดได้ เว้นได้ หยุดยิงนกตั้งแต่นั้นมาจนตลอดชีวิต


*ซึ่งก็พอสรุปได้ว่า  


---ความรู้ที่เกิดจาก "สัญญา" ต่างจาก  ความรู้ที่เกิดจาก "ปัญญา" อย่างไร

          

---ถ้าถามว่า   ปัญญาที่เราต้องการนี้ เกิดขึ้นตามที่เราต้องการหรือไม่ 


---ก็ตอบว่า  ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ   ต้องปฏิบัติถึงขั้นถึงตอน หรืออบรมถึงขั้นถึงตอน ถ้าไม่ถึงขั้นถึงตอนก็ไม่ได้ อันที่จริงก็เกิดจากการอบรมมาเรื่อยๆ นั้นแหละ ทำมาเรื่อยๆ จะทำในอดีตนานเท่าใดก็ตาม หรือในปัจจุบันก็ตาม ถ้าถึงขั้นถึงตอนแล้ว ถ้าได้คำ  แนะนำ ชี้แนะ  ก็จะได้ปัญญาทันที อย่างเรื่องที่ยกตัวอย่าง 


*อิทธิบาท  ๔ 


---อิทธิ  แปลว่า  “ความสำเร็จ” 


---บาท  แปลว่า  “ทางหรือสิ่งที่ช่วยนำทาง” 


---เมื่อนำมารวมกันเป็น  อิทธิบาท  แปลว่า  "ทางแห่งความสำเร็จ"


---วิธีการที่คนจะพึงใช้ ในการสร้างความสำเร็จให้ชีวิตนั้น  ในทางพระพุทธศาสนามีคุณธรรมอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า "อิทธิบาท  ๔"  ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ ๔ ประการ  คือ  ฉันทะ,  วิริยะ,  จิตตะ,  วิมังสา.


---๑)ฉันทะ  แปลว่า  ความพอใจ ในการทำงาน  เราต้องสร้างความพอใจ  สนใจในงาน  จะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย


---๒)วิริยะ  แปลว่า  ความเพียร  ในการทำงานทุกอย่าง  ต้องมีความลำบากและอุปสรรคบ้างไม่มากก็น้อย  เราต้องมีความขยัน หมั่นเพียร  อดทน  ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นให้ได้  เพื่อจะให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


---๓)จิตตะ  แปลว่า  ความเอาใจใส่  การตั้งใจแน่วแน่ในสิ่งที่ทำ  ย่อมทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปในเวลารวดเร็ว


---๔)วิมังสา  แปลว่า  การพิจารณา  สอบสวน เป็นการใช้เหตุผลพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่ทำให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุดฯ





 

...................................................................




ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

ที่มา...พระไตรปิฎก

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,886,223
เปิดเพจ12,106,158
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view