/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

สรุปหลักความเชื่อ

สรุปหลักความเชื่อ

หลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา







---หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  เมื่อกล่าวถึง "ศรัทธา" แล้วต้องมี "ปัญญา" กำกับอยู่ในหลักธรรม      นั้นเสมอ ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อมีความเชื่ออย่างเดียว  โดยไม่มีปัญญาก็จะเป็นความเชื่อที่งมงาย (Blind Faith) ปราศจากเหตุผล (Cause and Effect) และการพิสูจน์


---เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นลักษณะความรู้แบบหยาบๆ โดยไม่ผ่านการเจียระไนทางความคิดหรือ     ไม่ผ่านการไตร่ตรองด้วย "โยนิโสมนสิการ" พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่อง "ศรัทธา" ไว้ที่ไหนก็จะมีปัญญามาพร้อมด้วย  ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เชื่อเกิดความงมงาย

 

*หลักความเชื่อหรือความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา 


---ในเรื่องของ ความเชื่อหรือความศรัทธา  ตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในหลักกาลามสูตร  ดังที่ปรากฎในเกสปุตตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต แต่คนส่วนมากมักจะเรียกว่า "กาลามสูตร" (องฺ.ติก. ๒๐/๕๐๕/๒๑๒) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญที่พระพุทธเจ้าแสดง ณ เกสปุตตนิคม มีใจความสรุปว่า


---"เกสปุตตะ" เป็นนิคมแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล  ชาวนิคมนี้เป็นที่รู้จักกันว่า "ชาวกาลามะ"  เมื่อชาวกาลามะได้สดับว่า  พระพุทธเจ้าเสด็จมายังนิคมของตน จึงมาเฝ้าพระองค์เพื่อขอคำแนะนำและกราบทูลว่า 


---“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศแต่เฉพาะทรรศนะของตนเท่านั้น  ส่วนทรรศนะของผู้อื่น ช่วยกันตำหนิ, ดูหมิ่น,  ประณาม  ทำให้ไม่น่าเชื่อ     สมณพราหมณ์พวกอื่นๆ ซึ่งมายังเกสปุตตนิคมก็ทำในลักษณะเดียวกัน  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พวกข้าพระองค์  มีความเคลือบแคลงสงสัย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า  สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ ”


---พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ถูกแล้วที่ท่านทั้งหลายมีความเคลือบแคลงสงสัยในสิ่งที่ควรเคลือบแคลงสงสัย  มาเถิดท่านทั้งหลาย


---๑.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ   เพียงเพราะ        ฟังตามกันมา   (มาอนุสฺสเวน)


---๒.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ   เพียงเพราะ        ถือสืบๆกันมา   (มาปรมฺปราย)


---๓.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ    เพียงเพราะ       เล่าลือ    (มาอิติกิราย)


---๔.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ    เพียงเพราะ       อ้างตำราหรือคัมภีร์  (มาปิฏกสมฺปทาเนน)


---๕.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ    เพียงเพราะ       ตรรก    (มาตกฺกเหตุ)


---๖.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ    เพียงเพราะ        คาดคะเน     (มานยเหตุ)


---๗.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ    เพียงเพราะ        ตรึกตามอาการ     (มาอาการปริวิตกฺเกน)


---๘.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ     เพียงเพราะ        เข้ากันได้กับความเห็นของตน    (มาทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)


---๙.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ     เพียงเพราะ        ผู้พูดสมควรเชื่อได้    (มาภพฺพรูปตาย)


---๑๐.อย่าเพิ่งรีบเชื่อ      เพียงเพราะ        นับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา   (มาสมโณโนครุ)


---เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า  สิ่งเหล่านั้นเป็นอกุศล มีโทษ  ผู้รู้ติเตียน  ไม่เป็นประโยชน์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละสิ่งเหล่านั้นเสีย แต่ในกรณีตรงกันข้าม, เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า  สิ่งเหล่านี้เป็นกุศล ไม่มีโทษ  ผู้รู้สรรเสริญ  เป็นประโยชน์  เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรปฏิบัติสิ่งเหล่านั้น ”




*ความเห็นถูก - ผิด ในทางพระพุทธศาสนา



---จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าเริ่มการสอน  ไม่ใช่ยัดเยียดให้เขาเชื่อ ยัดเยียดให้เขานับถือ แต่เป็นการสอนให้เห็นข้อเท็จจริงและรู้ประจักษ์พิจารณาด้วยปัญญาของตนเอง ไม่มีการชักจูงแต่อย่างใด เพียงแต่แนะแนวทาง ให้คนนำไปสู่การประพฤติ ในทางที่ถูกต้อง


---อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้  ในอปัณณกสูตร  (ม.ม.๑๓/๙๒/๙๕) ซึ่งเป็นพระสูตรที่ว่าด้วย   "การปฏิบัติไม่ผิด" พระองค์ทรงวางแนวทางของการสมาทานที่ถูกต้องและทรงชี้โทษแห่งการสมาทานที่ผิด แก่พวกพราหมณ์และคหบดีที่อยู่ในหมู่บ้านสาลา


---ซึ่งในขณะนั้น พวกชาวบ้านยังงุนงง สงสัยกับเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ต่างเสนอลัทธิของตนว่า ลัทธิของเราถูก ลัทธิของคนอื่นผิด จนทำให้ชาวบ้านเกิดความสงสัยและยังไม่สมาทานเอาความเชื่อของลัทธิใดๆ มานับถือ พระพุทธเจ้าก็ทรงให้ชาวบ้านสาลา สมาทานอปัณณกธรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

 

*ทิฎฐิที่ไม่ควรสมาทานถือเอา


---๑.นัตถิกทิฎฐิ    คือ   ผู้มีความเห็นว่าไม่มี  ปฏิเสธเรื่องบุญ-บาป  ทานที่ให้แล้วไม่มีผล   ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล  การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล  ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี-ทำชั่วก็ไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มีคุณ  บิดาไม่มีคุณ เป็นต้น


---๒.อกิริยทิฎฐิ   คือ   ผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือความสบายก็ตามไม่ได้อาศัยเหตุใดๆ ให้เกิดขึ้นเลยเป็นไปเองทั้งนั้น


---๓.อเหตุกทิฎฐิ   คือ   ผู้ที่มีความเห็น  "ปฏิเสธเหตุ"  ไม่เชื่อว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว  ที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำกันอยู่ทุกวันนี้จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้


*ทิฎฐิที่ควรสมาทานถือเอา


---๑.อัตถิกทิฎฐิ   คือ ผู้ที่มีความเห็นว่า บาป บุญ คุณ โทษมีจริง  ทานที่ให้แล้วก็มีผล  ยัญที่บูชาแล้วก็มีผล  การเซ่นสรวงก็มีผล  ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่วก็มีอยู่  เป็นต้น


---๒.กิริยทิฎฐิ     คือ ผู้ที่มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับความลำบากต่างๆ ย่อมอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเอง


---๓.เหตุกทิฎฐิ    คือ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่กำลังเป็นไปอยู่ มีเหตุนำ เหตุหนุน เหตุเนื่อง อยู่เบื้องหลัง  ไม่ปฏิเสธเหตุ และเชื่อว่า กรรมดี หรือกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายทำกันอยู่ จะเป็นเหตุให้เกิดผลได้  ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัย



*สรุปหลักความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ



---ความเชื่อถือว่า มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม เพราะถ้าหากเราเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นปัจจัยนำไปสู่ การประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้อง แต่ในทางกลับกันถ้าหากเราเชื่อในทางที่ผิด มันก็เป็นปัจจัยนำเราไปสู่การประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ไม่ดีได้เช่นกัน


---ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าหากว่า บุคคลถือเอาความเห็นของ นัตถิกทิฎฐิ, อกิริยทิฎฐิ และ  อเหตุกทิฎฐิ    ทิฎฐิ ทั้ง ๓ นี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเขาเหล่านี้ ย่อมจักเว้นกุศลธรรม  ๓ ประการ ได้แก่

 

---๑.กายสุจริต


---๒.วจีสุจริต


---๓.มโนสุจริต


---บุคคลที่ถือเอาความเห็นต่างๆ เหล่านี้ ดังที่กล่าวแล้ว เมื่อสมาทานถือเอาความเชื่อที่ผิดก็จะเป็น  "มิจฉาทิฐิ"  คือ  มีความเห็นผิด  อย่างสำนวนไทยว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว"    ไม่มีการประพฤติชอบ กอปรด้วยมนุษยธรรม ทางกาย วาจาและใจ กล่าวคือ

 

---ทางกาย   พวกเขาเหล่านั้นจักประพฤติทุจริต มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนหรือย่ำยีบีฑาสิ่งมีชีวิตด้วยกัน มีการลักทรัพย์ ทุจริตคอรัปชั่นและประพฤติผิดในกาม มีชู้ ประพฤตินอกใจ  ละเมิดต่อจริยธรรมทางเพศ เป็นต้น


---ทางวาจา   พวกเขาเหล่านั้นจักประพฤติทุจริต  มีการพูดจาโกหก หลอกลวง หยาบคาย ให้สะเทือนใจแก่ผู้รับฟัง หรือทำให้ผู้ฟังโกรธ  อีกทั้งพูดจาส่อเสียด  ยุยุงให้ผู้อื่นร้าวแตกกัน และเวลาจะพูดอะไรก็จะไร้สาระไม่เกิดประโยชน์


---ทางใจ    พวกเขาเหล่านั้นจักประพฤติทุจริต  มีการคิดอยากได้ของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต คิดที่จะลักขโมย ยื้อแย่ง อยากจะคดโกง ทุจริตคอรัปชั่น คิดผูกอาฆาตพยาบาท จองเวรจองกรรมกับผู้อื่น 


---ส่วนบุคคลที่ถือเอา ทิฐิทั้ง ๓ อย่างมี อัตถิกทิฐิ, กิริยทิฐิและเหตุกทิฐิ   ทิฎฐิ ที่ถูกต้องควรสมาทาน ถือเอาปฏิบัติ พวกเขาเหล่านั้นก็จะประพฤติสุจริต มีการเว้นจากอกุศลธรรม  ๓  ประการ   ดังที่กล่าวมาแล้ว


---"ศรัทธา"  เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป  ที่จะเข้าสู่ "มัชฌิมาปฏิปทา"  จึงเป็นธรรมสำคัญที่จำเป็นต้องเน้นให้มาก  ว่าจะต้องเป็นศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักที่จะเป็น "สัมมาทิฏฐิ"  ในที่นี้  จึงขอสรุปคุณสมบัติและการทำหน้าที่ของ  "ศรัทธาที่จะต้องสัมพันธ์กับปัญญา"  ไว้เป็นส่วนเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง ว่า


---๑.ศรัทธาต้องประกอบด้วย ปัญญา และนำไปสู่ปัญญา


---๒.ศรัทธาเกื้อหนุนและนำไปสู่  ปัญญา  โดย


---ก)ช่วยให้ปัญญาได้จุดเริ่มต้น   เช่น  ได้ฟังเรื่องหรือบุคคลใด  แสดงสาระ  มีเหตุผล  น่าเชื่อถือหรือน่าเลื่อมใส  เห็นว่าจะนำไปสู่ความจริงได้  จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าจากจุดหรือแหล่งนั้น


---ข)ช่วยให้ปัญญามีเป้าหมายและทิศทาง    เมื่อเกิดศรัทธาเป็นเค้า ว่าจะได้ความจริงแล้ว  ก็มุ่งหน้าไปทางนั้น  เจาะลึกไปในเรื่องนั้น  ไม่พร่า  ไม่จับจด


---ค)ช่วยให้ปัญญามีพลัง   หรือช่วยให้การพัฒนาปัญญาก้าวไปอย่างเข้มแข็ง  คือ  เมื่อเกิดศรัทธามั่นใจว่าจะได้ความจริง  ก็มีกำลังใจเพียรพยายามศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง  วิริยะก็มาหนุน


---ด้วยเหตุนี้   พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดง "หลักความเสมอกันหรือหลักความสมดุลแห่งอินทรีย์"  ที่เรียกว่า "อินทริยสมต" ไว้ โดยให้ผู้ปฏิบัติทั่ว ๆไป มีศรัทธาที่เข้าคู่สมดุลกับปัญญาให้ธรรมสองอย่างนี้  ช่วยเสริมกันและคุมกันให้พอดี

 

*ทัศนคติตามแนวกาลามสูตร


---สำหรับทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นผู้นับถือทฤษฎี ลัทธิ หรือ คำสอนอันใดอันหนึ่งอยู่แล้ว  หรือยังไม่นับถือก็ตาม  มีหลักการตั้งทัศนคติ ที่ประกอบด้วยเหตุผล  ตามแนวกาลามสูตร  ดังนี้ 


---พระพุทธเจ้าเสด็จจาริก  ถึงเกสปุตตนิคม ของพวกกาลามะ ในแคว้นโกศล  ชาวกาลามะได้ยินกิตติศัพท์ของพระองค์  จึงพากันไปเฝ้า  แสดงอาการต่าง ๆ กัน ในฐานะยังไม่เคยนับถือมาก่อน  และได้ทูลถามว่า


---"พระองค์ผู้เจริญ  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมาสู่เกสปุตตนิคม  ท่านเหล่านั้นแสดงเชิดชูแต่วาทะ  (ลัทธิ)  ของตนเท่านั้น  แต่ย่อมกระทบกระเทียบ  ดูหมิ่น  พูดกดวาทะฝ่ายอื่น  ชักจูงไม่ให้เชื่อ  สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็มาสู่เกสปุตตนิคม  ท่านเหล่านั้น  ก็แสดงเชิดชูแต่วาทะของตนเท่านั้น  ย่อมกระทบกระเทียบ  ดูหมิ่น  พูดกดวาทะฝ่ายอื่น  ชักจูงไม่ให้เชื่อ  พวกข้าพระองค์  มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า  บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น  ใครพูดจริง  ใครพูดเท็จ"


---"กาลามชนทั้งหลาย  เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง  สมควรที่จะสงสัย  ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะกาลามชนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการฟัง  (เรียน)  ตามกันมา  (อนุสสวะ)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการถือสืบ ๆ  กันมา  (ปรัมปรา)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการเล่าลือ  (อิติกิรา)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอ้างตำรา  (ปิฏกสัมปทาน)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยตรรก  (ตักกะ)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอนุมาน  (นยะ)


---อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล  (อาการปริวิตักกะ)


---อย่าปลงใจเชื่อ   เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน  (ทิฏฐินิชฌานักขันติ)


---อย่าปลงใจเชื่อ   เพราะนับถือว่า  ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา  (สมโณ โน ครูติ) 

 

*สร้างศรัทธาด้วยการใช้ปัญญาตรวจสอบ


---สำหรับคนสามัญทั่วไป  ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สำคัญยิ่ง  เป็นอุปกรณ์ชักนำให้เดินหน้าต่อไป  เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี  ทำให้การก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย ได้ผลรวดเร็วขึ้น 


---ด้วยเหตุนี้  จึงปรากฏว่า   บางคราวผู้มีปัญญามากกว่า  แต่ขาดความเชื่อมั่น  กลับประสบความสำเร็จช้ากว่าผู้มีปัญญาด้อยกว่า แต่มีศรัทธาแรงกล้า  สิ่งที่ถูกต้องแล้ว  จึงเป็นการทุ่นแรง ทุ่นเวลาไปในตัว  ตรงกันข้าม  ถ้าศรัทธาเกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการทำให้เขว  ยิ่งหลงชักช้าหนักขึ้นไปอีก


---อย่างไรก็ดี  ศรัทธาให้พุทธธรรม  มีเหตุผลเป็นฐานรองรับ  มีปัญญาคอยควบคุม  จึงยากที่จะผิด  นอกจากพ้นวิสัยจริง ๆ  และก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้  ไม่ดิ่งไปในทางที่ผิด  เพราะคอยรับรู้เหตุผล  ค้นคว้า  ตรวจสอบ  และทดลองอยู่ตลอดเวลา การขาดศรัทธา  เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง  ซึ่งทำให้ชะงัก  ไม่ก้าวหน้าต่อไปในทิศทางที่ต้องการ  ดังพุทธพจน์ว่า


---"ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ยังสลัดทิ้งตอในใจ  ๕  อย่างไม่ได้  ยังถอนสิ่งผูกรัดใจ  ๕  อย่างไม่ได้  ข้อที่ว่าภิกษุนั้น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้  ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต่อเมื่อในใจที่ภิกษุนั้นยังสลัดทิ้งไม่ได้  คือ"


---๑.ภิกษุสงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปลงใจ  ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระศาสดา


---๒.ภิกษุสงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปลงใจ  ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในธรรม


---๓.ภิกษุสงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปลงใจ  ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสงฆ์


---๔.ภิกษุสงสัย  เคลือบแคลง  ไม่ปลงใจ  ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสิกขา


---๕.ภิกษุโกรธเคือง  น้อยใจ  มีจิตใจกระทบกระทั่ง  เกิดความกระด้าง  เหมือนเป็นตอเกิดขึ้นในเพื่อนพรหมจรรย์


---โดยนัยนี้  การขาดศรัทธา  มีความสงสัย  แคลงใจ  ไม่เชื่อมั่น  จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาปัญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย ; สิ่งที่ต้องทำในกรณีนี้ก็คือ  ต้องปลูกศรัทธาและกำจัดความสงสัยแคลงใจ 


---แต่การปลูกศรัทธาในที่นี้  มิได้หมายถึงการยอมรับและมอบความไว้วางใจให้โดยไม่เคารพในคุณค่าแห่งการใช้ปัญญา แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ ทดสอบด้วยปัญญาของตน ให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจหมดความลังเลสงสัย


---ความเลื่อมใสศรัทธา ต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้น  ถ้าใช้ให้ถูกต้อง  คือเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป  ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์  แต่ในเวลาเดียวกัน  ก็มีข้อเสีย  เพราะมักจะกลายเป็นความติดในบุคคล  และกลายเป็นอุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป


---เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่น ๆ  เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่น ๆ  ก็ย่อมไม่ได้สดับสัทธรรม  เมื่อไม่ได้สดับสัทธรรม  ก็ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เมื่อความเลื่อมใสศรัทธากลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความลำเอียงจะมาปิดบัง การใช้ปัญญาก็เกิดขึ้นอีก  เช่น


---ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้  คือ ความรักเกิดจากความรัก ; โทสะเกิดจากความรัก  ความรักเกิดจากโทสะ ; โทสะเกิดจากโทสะ ; โทสะเกิดจากความรักอย่างไร


---บุคคลที่ตนปรารถนา รักใคร่พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติต่อด้วยอาการที่ไม่ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่  ไม่น่า  พอใจ  เขาย่อมมีความคิดว่า  บุคคลที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจนี้ ถูกคนอื่นประพฤติต่อ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจนี้ ดังนี้ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น


---แม้แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระศาสดาเอง  เมื่อกลายเป็นความรักในบุคคลไป  ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหลุดพ้น  หรืออิสรภาพทางปัญญาในขั้นสูงสุดได้ 


---พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ "ละเสีย"  แม้บางครั้งจะต้องใช้วิธีค่อนข้างรุนแรง ก็ทรงทำลำพังศรัทธาเพียงอย่างเดียว  เมื่อไม่ก้าวหน้าต่อไปตามลำดับ จนถึงขั้นปัญญา  ย่อมมีผล  อยู่ในขอบเขตจำกัด เพียงแค่สวรรค์เท่านั้น  ไม่สามารถให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้  ดังพุทธพจน์ว่า 


---"ภิกษุทั้งหลาย  ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว  ซึ่งเป็นของง่าย  เปิดเผยประกาศไว้ชัด  ไม่มีเงื่อนงำใด ๆ  อย่างนี้"


---สำหรับภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ  ย่อมไม่มี "วัฏฏะ " เพื่อจะบัญญัติต่อไป


---ภิกษุที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งห้าได้แล้ว  ย่อมเป็น  "โอปปาติกะ" ปรินิพพานในโลกนั้น 


---ภิกษุที่ละสังโยชน์สามได้แล้ว  มีราคะ  โทสะ  โมหะเบาบาง  ย่อมเป็น "สกทาคามี "


---ภิกษุที่ละสังโยชน์สามได้  ย่อมเป็น "โสดาบัน"  ฯลฯ


---ภิกษุที่เป็นธัมมานุสารี  เป็นสัทธานุสารี  ย่อมเป็น "ผู้มีสัมโพธิ"  เป็นที่หมาย


---ผู้ที่มีเพียงศรัทธา  มีเพียงความรักในเรา  ย่อมเป็น "ผู้มีสวรรค์" เป็นที่หมาย

 

*เมื่อรู้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา  ก็ไม่ต้องเชื่อด้วยศรัทธา

 

---ในกระบวนการพัฒนาปัญญา  ที่ถือเอาประโยชน์จากศรัทธาอย่างถูกต้อง  ปัญญาจะเจริญขึ้นโดยลำดับ  จนถึงขั้นเป็น "ญาณทัสสนะ"   คือเป็นการรู้การเห็น  ในขั้นนี้  จะไม่ต้องใช้ความเชื่อและความเห็นอีกต่อไป  เพราะรู้เห็นประจักษ์แก่ตนเอง  จึงเป็นขั้นที่พ้นขอบเขตของศรัทธา


---สรุป....อีกครั้ง  ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาต้องประกอบพร้อมด้วยความเชื่อทั้ง ๓ คือ  เชื่อกรรม ๑ ความเพียร ๑ , ปัญญา ๑ ให้เสมอกันก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทในกาลทั้งปวง ฯ






................................................................... 






อ้างอิงพระธรรมปิฎก.  พุทธธรรม.   กรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

 (แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 20 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,886,111
เปิดเพจ12,106,031
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view