/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

สรุป...พราหมณ์ กับ พุทธ

สรุป...พราหมณ์ กับ พุทธ

สรุป...พราหมณ์ กับ พุทธ ต่างกันอย่างไร







---ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมหรือปลอมปน เข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้ว โดยชาวพุทธไม่รู้ตัว จึงทำให้ชาวพุทธ เข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือ กลายเป็นว่าชาวพุทธนั้น มีแต่ชื่อ ว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมด โดยไม่รู้ตัว และยังยึดมั่น ถือมั่น ว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้ คือ คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย 


---อีกทั้ง เมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่ จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ ๆ นั้นสอนว่าอย่างไร และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร  บทความนี้  จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสอง อย่างถูกต้องต่อไป

 

*๑.เรื่องสิ่งสูงสุด



---ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู)  เป็นศาสนาประเภท "เทวนิยม" คือ เคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุดโดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุด อันได้แก่



---๑.พระพรหม          ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งใน  จักรวาลขึ้นมา



---๒.พระวิษณุหรือพระนารายณ์          ที่เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา



---๓.พระอิศวรหรือพระศิวะ          ที่เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย



---เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า "ตรีมูรติ" ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารอง ๆ ลงมาอีกมากประมาณ ๓๐๐ ล้านองค์



---ส่วน "พุทธศาสนา" จะสอนว่า  สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือ "ธรรมชาติ" ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า "กฎอิทัปปัจจยตา" (คือกฎที่มีใจความสรุปว่า “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)




*๒.เรื่องการกำเนิดชีวิต



---ศาสนาพราหมณ์จะสอนว่า  โลกและทุกชีวิตเกิดมาจาก "พระพรหม"  เป็นผู้สร้างขึ้นมาและคอยควบคุมอยู่ (พรหมลิขิต)   ส่วน "พระนารายณ์" จะเป็นผู้คอยปกป้องรักษา (โดยการอวตารลงมาเป็นมนุษย์ เช่น เป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายมนุษย์ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อสอนมนุษย์ผิดๆ เพื่อให้มนุษย์ตกนรกกันมากๆ เพราะสวรรค์เต็มหมดแล้ว เป็นต้น) ส่วน "พระอิศวร"  จะเป็นผู้ทำลาย



---ส่วน พุทธศาสนาจะสอนว่า    โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ  โดยมีธาตุ  ๔  เป็นพื้นฐาน  คือ  

    

---๑.ธาตุดิน  (ของแข็ง)


---๒.ธาตุน้ำ  (ของเหลว)


---๓.ธาตุไฟ  (ความร้อน)


---๔.ธาตุลม  (อากาศ)


---โดยธาตุทั้ง ๔ นี้ จะปรุงแต่งกันทำให้เกิดเป็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยวัตถุสิ่งของทั้งหลายนี้จะอาศัย "ธาตุว่าง" (สุญญากาศ) ตั้งอยู่และธาตุทั้ง ๔ นี้ ยังปรุงแต่งให้เกิดวัตถุที่แสนมหัศจรรย์ (คือร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช) ขึ้นมาอีกด้วย


---โดยวัตถุที่แสนมหัศจรรย์นี้ก็จะปรุงแต่งหรือทำให้เกิดมีธาตุที่พิเศษสุดขึ้นมาอีก นั่นก็คือ "ธาตุรู้" (หรือธาตุวิญญาณ) ซึ่งธาตุรู้นี้เอง ที่ทำให้ร่างกายและระบบประสาทต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืชเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของธรรมชาติได้  และสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดก็คือ  มนุษย์นั้นจะมี เนื้อสมองพิเศษ  ที่สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่รับรู้และรู้สึก มาได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความทรงจำมากและการคิดนึกปรุงแต่งได้มากและสลับซับซ้อน อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกกันว่า "จิต" หรือ "ใจ" ขึ้นมา




*๓. เรื่องของจิต (หรือวิญญาณ)



---ศาสนาพราหมณ์จะสอนว่า "จิต" (หรือวิญญาณ) ของมนุษย์และสัตว์ นี้เป็น "อัตตา" (ตัวตนที่เป็นอมตะ คือจะมีอยู่ไปชั่วนิรันดร) ที่แยกออกมาจาก "ปรมาตมันหรือพรหม" แล้วก็จะเวียนว่ายตายเกิด เพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะบำเพ็ญ "ตบะ"เพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตได้ จิตก็จะบริสุทธิ์และกลับไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมดังเดิม และมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดร  



---ส่วนพุทธศาสนาจะสอนว่า จิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็น "อนัตตา"(คือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือไม่เป็นอมตะ รวมทั้งยังต้องทนอยู่อีกด้วย) ที่เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของระบบประสาทที่ยังดีอยู่ของร่างกาย ที่ยังเป็น ๆ อยู่เท่านั้น


---เมื่อจิตนี้มีเจตนาดี ก็ จะทำดี แล้วก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นเทวดาที่กำลังอยู่บนสวรรค์) 


---แต่ถ้าจิตนี้มีเจตนาชั่ว ก็จะทำชั่ว แล้วก็จะเกิดความทุกข์ใจ เสียใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นสัตว์นรกที่กำลังอยู่ในนรก)


---ซึ่งอาการนี้เรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิดในทางจิตใจ จนกว่าเมื่อใดที่จิตนี้ จะหลุดพ้นจากความดีและชั่ว จิตก็จะบริสุทธิ์และไม่เกิดเป็นอะไรๆ  (ตามที่สมติเรียกกัน)  อีกต่อไป  ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า  "นิพพาน"  ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตใจ โดยนิพพานนี้ ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร ซึ่งอย่างถาวรก็คือ มีตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่

 

*๔.เรื่องจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอนว่า  ชีวิตจะมีการเวียนว่ายตายเกิด หลายภพ หลายชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ  การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป และได้กลับไปรวมกับพรหม หรือปรมาตมัน ที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ; ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ   การได้เสพสุขอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านาน โดยไม่ต้องทำงาน



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอนว่า  ชีวิตนี้จะมีร่างกายและจิตใจที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่ จะแยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเมื่อใด ก็จะแตกสลาย (ใช้กับร่างกาย) และดับ (ใช้กับจิตใจ) หายไปด้วยกันทั้งคู่ทันที ซึ่งเท่ากับพุทธศาสนาไม่สอนว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดในทางร่างกายอีก


---ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ  การมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจเลยอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร (คือตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่) ที่เรียกว่า "นิพพาน" ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็น ; ส่วนจุดมุ่งหมายที่รองลงมาก็คือ  การมีชีวิตที่มีความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ถึงแม้จะยังคงมีความทุกข์ทางด้านจิตใจอยู่บ้างก็ตาม



*๕.เรื่องกรรม-วิบาก



---ศาสนาพราหมณ์ สอนเรื่องว่า  การกระทำ (กรรม) ของเราในชาตินี้ จะมีผล (วิบาก) ให้เราต้องไปรับผลกรรมนั้นในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  ใครทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป (เช่น ได้ขึ้นสวรรค์ หรือเกิดมาแล้วร่ำรวยสุขสบายและมีเกียรติ เป็นต้น)ส่วนใครทำกรรมชั่วก็จะได้รับผลชั่วในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  (เช่น ตกนรก หรือเกิดมาแล้วยากจนลำบากและต่ำต้อย เป็นต้น)



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่อง  การกระทำด้วยเจตนา (เจตนา ก็คือ กิเลส คือโลภ โกรธ ไม่แน่ใจ)ว่านี่คือกรรม ที่มีผลเป็นวิบาก คือ เกิดความรู้สึกไปตามที่จิตใต้สำนึกมันรู้สึก คือ  เมื่อทำกรรมดี จิตใต้สำนึกมันก็จะรู้ว่านี่คือ สิ่งที่ดี แล้วมันก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว) หรือเมื่อทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกมันก็รู้อยู่ว่านี่คือ สิ่งที่ชั่ว แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็เสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว)


*๖.เรื่องนรก-สวรรค์



---ศาสนาพราหมณ์จะสอนเรื่อง นรก-สวรรค์ (ที่เราชอบเรียกกันว่า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเอาไว้รองรับจิตที่เป็นอมตะ  ที่เมื่อใครทำความชั่ว เมื่อตายไปแล้ว จิตก็จะไปลงนรก ที่มีแต่การลงโทษ ให้มีแต่ความทุกข์ทรมาน ที่คนทั่วไปหวาดกลัวกันอย่างยิ่ง (ที่มีแต่เรื่องการทรมาน เช่น ถูกต้ม ถูกตี ถูกแทง เป็นต้น แต่ก็ไม่ตายสักทีแต่จะอยู่เช่นนี้เป็นร้อยเป็นพันปี)


---แต่ถ้าทำความดี เมื่อตายไปแล้ว ก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขตามที่คนเราทั่วไปอยากจะได้ (ที่มีแต่เรื่องความสนุกสนานรื่นเริงและเรื่องทางเพศเป็นร้อยเป็นพันปี เช่น อยู่ในปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ มีเครื่องแต่งกายที่วิจิตรสวยงาม และมีนางฟ้าที่สวยงามอย่างยิ่ง เป็นบริวารมากมาย เป็นต้น)


---ซึ่งนี่คือ นรก-สวรรค์ ที่เป็นไสยศาสตร์ ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ที่มีไว้สอนคนป่า คนดงหรือชาวบ้านธรรมดา ที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือสำหรับคนที่มีความรู้ แต่ไม่สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง

 

---ส่วนพุทธศาสนา สอนเรื่อง  สวรรค์ในอก นรกในใจ คือ  จะสอนว่า เมื่อเราทำความดีเมื่อใด  ก็จะเกิดเป็นความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาในทันทีหรือเมื่อทำเสร็จ ; หรือเมื่อเราทำความชั่วเมื่อใด  ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใน ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็เป็นความไม่สบายใจขึ้นมาทันทีหรือเมื่อทำเสร็จแล้ว

 

---ซึ่งนี่คือ นรก-สวรรค์ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือพิสูจน์ได้ มีเหตุผล ที่มีไว้สอนคนมีปัญญาที่สนใจจะศึกษาชีวิตหรือสนใจจะศึกษาเพื่อดับทุกข์

 

*๗.เรื่องความเชื่อ



---ศาสนาพราหมณ์จะสอน  ให้เชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว ห้ามถามห้ามสงสัย ถ้าใครไม่เชื่อก็จะตกนรก ซึ่งหลักการนี้ก็นับว่าดี สำหรับคนรุ่นเก่าหรือคนป่าคนดง ที่ไม่มีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือคนที่ไม่ได้สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง



---ส่วน พุทธศาสนา  ในระดับพื้นฐาน (คือศีลธรรม ที่เป็นคำสอนในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ปกติสุข)จะไม่เน้นเรื่องความเชื่อ  คือ ใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอเพียงว่าอย่าทำความชั่วก็แล้วกัน


---แต่พุทธศาสนาระดับสูง  (ปรมัตถธรรม ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า "หลักอริยสัจ ๔")


---จะสอนให้ใช้  "ปัญญา"  นำหน้า  "ความเชื่อ"  คือ   สงสัยได้ ถามได้ และต้องพิสูจน์ให้เห็นแจ้งก่อน จึงค่อยเชื่อ คือ สรุปว่าพุทธศาสนาระดับสูงจะสอนว่า  “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง เมื่อพบคำสอนใดก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย ; แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติ  ดูก่อน  ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริง ก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน ; แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็ให้ปลงใจเชื่อได้ และให้นำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นต่อไป”




*๘.เรื่องหลักการศึกษา



---ศาสนา พราหมณ์จะใช้หลักไสยศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจาการคาดคะเนเอา หรือเชื่อตามคนอื่น โดยจะไม่มีเหตุผล ไม่มีของจริงมาให้พิสูจน์ ไม่มีหลักการและระบบมาให้ศึกษา ดับทุกข์ไม่ได้ จะช่วยได้ก็เพียงช่วยให้สบายใจขึ้นมาบ้างเท่านั้น



---ส่วนพุทธศาสนาจะ ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง พิสูจน์ได้ ศึกษาอย่างมีเหตุผล ศึกษาอย่างเป็นระบบ และจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้พิสูจน์จนเห็นผลอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น และใช้ดับทุกข์ของจิตใจได้จริง



*๙.เรื่องหลักการปฏิบัติ



---ศาสนาพราหมณ์ จะเน้นใช้   "พิธี" หรือการกระทำ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์หรือเกิดโชคลาภ ซึ่งเป็นหลักไสยศาสตร์ เช่น พิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เทพเจ้าพอใจและช่วยดลบันดาลสิ่งที่ต้องการได้ หรือเพื่อให้เกิดอำนาจวิเศษ ความศักดิ์สิทธิ์ โชคลาภ และความพ้นทุกข์



---ส่วน ศาสนาพุทธ จะใช้  "วิธี" หรือการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ๆ หรืออะไรๆมาช่วย ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์ คือ จะมีการปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล ไม่งมงาย อย่างเช่น การละ เลิกอบายมุขทั้งหลาย เพื่อทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อน หรือการขยันอดทน ประหยัด ไม่คบเพื่อนชั่ว ก็จะทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ หรือวิธีการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน เป็นต้น



*๑๐.เรื่องสมาธิ



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง  สมาธิสูงๆ ชนิดที่คนเราธรรมดาปฏิบัติได้ยากอย่างยิ่ง  ถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะมีฤทธิ์มีเดช หรือมีอำนาจ เหนือธรรมชาติต่างๆ มากมาย เช่น เหาะ หรือหายตัวได้ เนรมิตสิ่งของได้ ถอดจิตไปเที่ยวนรก-สวรรค์ได้ และมีญาณ (ความรู้ที่เกิดมาจากการปฏิบัติ) ในการกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปอย่างถาวรได้ (ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างถาวร) เป็นต้น



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่อง  สมาธิตามธรรมชาติ ที่เราทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้ อันได้แก่ ความตั้งใจในการเรียน การทำงาน การคิด การพูด และการกระทำทางกายทั้งหลาย ที่มั่นคง แน่วแน่และต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ  โดยผลโดยตรงของสมาธิก็คือ  ทำให้เกิดความสุขสงบที่ประณีตขึ้นมาทันทีที่จิตมีสมาธิ และช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลาย ให้ระงับดับลงทั้งอย่างชั่วคราวและถาวรได้ ; ส่วนผลโดยอ้อมของสมาธิก็คือ  สมาธินี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาที่นำมาใช้ในการดับทุกข์ของจิตใจได้ทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร

*๑๑.เรื่องวิธีการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง  การอ้อนวอนเทพเจ้าและการฝึกสมาธิอย่างหนัก รวมทั้งการบำเพ็ญโยคะ (การทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ)เพื่อให้อัตตาหรือตัวตนบริสุทธิ์จากกิเลส เมื่ออัตตาไม่มีกิเลสแล้วก็จะกลับไปรวมกับพรหมหรือปรมาตมันและพ้นจากทุกข์ ได้ตลอดไป หรือมีชีวิตที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป (ที่เรียกว่าโมกษะ)



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่อง  "การปฏิบัติเพื่อให้เกิด ปัญญา"  (ความรู้และเข้าใจ  ตลอดจนความเห็นแจ้งว่า ไม่มีอัตตาหรือไม่มีตัวเรา)   สมาธิ (ความตั้งใจมั่นสม่ำเสมอ) และ ศีล (การมีกายและวาจาที่เรียบร้อย) เพื่อนำมาใช้ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร (นิพพาน)

 

*๑๒.เรื่องบุญ-บาป



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอนเรื่อง  การฆ่าสัตว์บูชายัญ  บูชาเทพเจ้า, การฝึกสมาธิ, การสวดอ้อนวอน, การนำทรัพย์สินของมีค่ามามอบให้แก่พราหมณ์ (ผู้ประกอบพิธี), และการบำเพ็ญตบะตามหลักโยคะ (การทรมานร่างกาย) เป็นต้น  ว่านี่คือ การสร้างบุญ ; ส่วนบาปก็คือ  การล่วงละเมิดศีล ๕   (คือฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในเรื่องทางเพศ, การพูดโกหก, และการดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด) รวมทั้งการดูหมิ่นไม่เชื่อฟังเทพเจ้า เป็นต้น



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่อง  การช่วยเหลือชีวิตของสัตว์และมนุษย์ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ให้ทรัพย์ ให้อภัย, ให้โอกาส, ให้ความรู้, ให้ธรรมะ   เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อนว่านี่คือ "บุญ" (การทำความดีแล้วสุขใจ) ส่วนการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวิธีใด ก็คือ "บาป" (การทำความชั่วแล้วทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็ไม่บายใจ หรือเสียใจ)



*๑๓. เรื่องการศึกษา



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอน  เรื่องลึกลับ ไกลตัว พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ไม่มีระบบหรือหลักในการศึกษา เช่น เรื่องเทวดา นางฟ้า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า และเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน   เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นหลักไสยศาสตร์



---ส่วนพุทธศาสนา จะสอน  เรื่องที่ลึกซึ้งในร่างกายและจิตใจของเราเอง ที่พิสูจน์ได้ มีหลักหรือระบบในการศึกษา มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งจัดเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ



*๑๔.เรื่องการวางตัวในสังคม



---ศาสนาพราหมณ์ จะสอน  ให้มีวรรณะ (ชนชั้น) โดยชาวอินเดียวจะมีการแบ่งผู้คนออกเป็นพวกๆ หรือวรรณะตามความเชื่อจากศาสนาฮินดูคือ



---๑.วรรณะพราหมณ์          เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่ พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ



---๒.วรรณะกษัตริย์          ได้แก่  พวกกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง



---๓.วรรณะแพศย์          ได้แก่พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ



---๔.วรรณะศูทร          ได้แก่พวกคนใช้


---ชาวอินเดีย จะยึดถือเรื่องวรรณะกันมาก  ถ้าใครแต่งงานกันต่างวรรณะ ลูกออกมาจะเป็นพวก"จัณฑาล" ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดที่สังคมรังเกียจ  



---ส่วนพุทธศาสนา จะไม่สอนให้มีวรรณะ แต่จะสอนว่า  ทุกคนนั้นจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่ที่กำเนิด แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำของแต่ละบุคคล ถ้าใครทำดีจึงจะเป็นคนดี  ถ้าใครทำชั่วก็จะเป็นคนชั่ว และจะสอนให้ทุกคนรักกัน เคารพกัน สามัคคีกัน และช่วยเหลือกันอย่างเสมอหน้า เพราะทุกคนคือ เพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งนั้น


*สรุปอีกครั้ง...


---เป็นได้อีก ๒ แนว


---ขึ้นชื่อว่า "พิธีกรรม" ทั้งสิ้น  คือ "พราหมณ์" ทั้งหมด


---ขึ้นชื่อว่า "ความพร้อม" ทั้งหมด  คือ  "พุทธ" ทั้งสิ้น.....................





 ...................................................................




 ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

(แก้ไขแล้ว ป.)

อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,885,995
เปิดเพจ12,105,898
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view