อนูปวาโท (ไม่กล่าวร้าย)
---ถ้าพระเจอผู้หญิงแล้วบอกว่า “โยมหน้าใสเชียววันนี้” อย่างนี้ คนองกายมากเกินไปทีเดียว ไม่เหมาะ คำว่า "อปฺปคพฺภ" เป็นศัพท์เฉพาะ แปลว่า ไม่คนองกายวาจา คำนี้เราจะไปแยกแปล ไม่ได้ อปฺป แปลว่าน้อย คพฺภ แปลว่าครรภ์ ถ้าผสมกันจะมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เหมือนกับคำว่า season คำว่า sea แปลว่าทะเล คำว่า son แปลว่าลูก แต่รวมเป็น season แล้วแปลว่า ฤดูกาล ไม่ได้แปลว่า ลูกทะเล
---คุณสมบัติข้อนี้ ถ้าเป็นพระสงฆ์ก็เห็นได้ง่าย เพราะท่านสอนไม่ให้คลุกคลีกับตระกูล ไม่ให้ติดพันตระกูล ให้ชักกายชักใจออกห่าง มองเห็นตระกูลเป็นอันตรายเหมือนมองเห็นภูเขาที่โตรกน เหมือนบ่อน้ำที่ปากเป็นหล่มเลน ไม่กล้าเข้าไปใกล้กลัวจะตกลง ประพฤติตนเหมือนดวงจันทร์ให้แสงสว่างแก่โลก แต่ไม่ลงมาคลุกคลีกับโลก จันทูปมา ปฏิปทา
---พระมหากัสสป ได้รับยกย่องมากในเรื่องนี้ และมีพระติสสะเถระผู้หนึ่งที่เข้าไปคลุกคลีกับนายช่างแก้วเป็นประจำ และถูกหาว่าไปขโมยแก้วมณีเขา ในเรื่องนกกระเรียน จากวันนั้นมาท่านบาดเจ็บ แล้ว ท่านก็อธิษฐานใจว่าไม่ยอมเข้าสู่ร่มชายคาของบ้านใด ถ้ายังมีปลีแข้งอยู่ ก็จะเที่ยวบิณฑบาตไปตามประตูบ้าน คือจะไม่เข้าบ้านใคร เพราะว่าประสบภัยพิบัติจากการเข้าสนิทสนมในตระกูล
---ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ถ้าจะทำตัวให้สอดคล้องกับข้อนี้ คือว่า ไม่คลุกคลีกับเพื่อนบ้านมากเกินไป แม้ในหมู่ญาติก็ไม่ คลุกคลีมากเกินไป เพราะเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกัน บาดหมางกันได้ง่าย มีสุภาษิตที่ว่า “มิตรภาพย่อมจืดจางเพราะห่างเหินกันเกินไป หรือเพราะคลุกคลีกันเกินไป”
---1.อัจจาภิกขณสังสัคคา จ คลุกคลีกันมากเกินไป
---2.อสโมสรเณน จ ห่างเหินกันมากเกินไป คือไม่สโมสรกันเลย
---3.อกาเล ยาจนาย จ ขอให้กาลที่ไม่ควรขอ เอเตน มิตฺตา ภิชฺชนฺติ มิตรทั้งหลายย่อมจะจืดจางไปเพราะเหตุนี้
*3 ข้อนี้เป็นเหตุในการรักษามิตรภาพ คือ วางจังหวะให้พอดีๆ
---น จ ขุ ทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญญู ปเร อุปวเทยฺยุํ แปลว่า ติเตียนผู้อื่นอย่างไร ก็ไม่ควรทำอย่างนั้น วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยการกระทำอย่างใด ก็ไม่ถึงกระทำกรรมหรือการกระทำอย่างนั้น ผมก็เลยขอรวบเป็นว่า ไม่ทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่น และขอรวบเป็นศัพท์ว่า อนูปวาโท ไม่กล่าวร้าย คือแต่งศัพท์ขึ้นใหม่ จากการรวบบาลียาวๆ
---โดยทั่วไป เป็นนิสัยที่ไม่ดีอย่างหนึ่งของคนบางคน หรือโดยมากก็ได้ อาจจะตำหนิผู้อื่นในแบบที่ว่า “โทษคนอื่นมองเห็นเป็นภูเขา โทษของเรามองไม่เห็นเท่าเส้นขน” ตามอุทานธรรมของท่านศาสนโสภน แจ่ม จตฺตสลฺโล
---ถ้าตำหนิผู้อื่น ในสิ่งที่ตัวเราหรือตนเองไม่ได้ทำ ก็ไม่เป็นไร ไม่สู้กระไรนัก ถ้าทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่นไว้ ก็จะน่าขายหน้าเพราะเขาจะชี้หน้าเอาได้ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
---ตัวอย่างที่เห็นชัด อย่างคอร์รัปชั่นในวงราชการก็จะมี วงการทั่วๆไปก็จะมี หรือผู้ใหญ่ในวงการราชการพูดถึงการปราบคอร์รัปชั่น สั่งปราบคอร์รัปชั่น ถ้าหากว่าผู้ใหญ่เองไม่คดโกงก็ดีแล้ว ก็คงจะเป็นไปได้เรียบร้อยสะดวกดี ถ้าหากผู้สั่งเป็นผู้ทุจริตเสียเอง ก็ไม่รู้จะไปปราบได้อย่างไร
---หรือเจ้าอาวาสที่เป็นปาราชิก ก็จะเลี้ยงลูกวัดที่เป็นปาราชิกเอาไว้เพื่อเป็นพวกพ้องของตัว ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนหาพวก
---ตัวอย่างก็คือพระอุปนนท์ เทศนาให้คนทั้งหลายภิกษุทั้งหลายสันโดษ แต่ท่านไปที่วัดไหน เวลาเข้าพรรษา ท่านก็อยากได้ของออกพรรษา ท่านก็ไปวางรองเท้าไว้บ้าง วางร่มไว้บ้าง เพื่อท่านจะมีส่วนด้วย พอออกพรรษาแล้วท่านก็เดินเก็บไปทีละวัด นี่ก็เห็นชัด กล่าวยกย่องความมักน้อยสันโดษ แต่ตัวเองกลับไปทำตรงกันข้าม
---แต่บางเรื่องก็มีข้อยกเว้น เช่นพระแก่ ท่านหวังดีแก่ลูกศิษย์ ตื่นมาตี 4 ก็เที่ยวเดินปลุกให้พระหนุ่ม เณรน้อย ขึ้นมาท่องหนังสือ เสร็จแล้วท่านก็ไปนอนต่อ เพราะท่านแก่แล้ว อย่างนี้ ก็ยกเว้นให้ ด้วยสุขภาพของท่าน ไม่ควรตำหนิท่าน
---ใน พุทธพจน์มีว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา อตฺตนา หิ สุ ทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยาก ต้องฝึกตนก่อนแล้วฝึกผู้อื่นภายหลังก็ไม่เศร้าหมอง
---อีกบทหนึ่งว่า อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ นหาปเย ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นให้มากรู้ประโยชน์ของตนแล้ว พึงทำประโยชน์ของตนให้บริบูรณ์ พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน
---แต่อันนี้ไม่ได้สอนให้เห็นแก่ตัว เพียงแต่ว่าทำตัวให้ดี แล้วก็ช่วยผู้อื่นให้ดีด้วย คือ ไปพร้อมๆกัน แต่ถ้าเผื่อฝึกตนได้แล้วก็จะดียิ่งขึ้น
---เกี่ยวกับเรื่องวาจา ที่ว่าไม่ควรทำอย่างที่ตำหนิผู้อื่น หรือไม่ควรกล่าวร้ายผู้อื่นโดยไม่มีข้อเท็จจริง มีพุทธภาษิต ในสังยุตนิกาย พรหมสังยุต อยู่ตอนหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจอยู่มาก
---พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า คนที่เกิดมาทุกคน มีขวานติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาล ผู้ที่ชอบพูดร้าย พูดชั่ว ๆ ไว้เชือดเฉือนตนเอง ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นเรียกว่า เกลี่ยโทษลงด้วยปาก เขาก็จะไม่ได้รับความสุขเพราะโทษนั้น
---การเสียทรัพย์เพราะแพ้การพนัน สิ้นเนื้อสิ้นตัวก็ยังโทษน้อยกว่า การทำใจให้ประทุษร้ายในพระสุคต
---การทำใจให้ประทุษร้ายในพระสุคต คือ พระพุทธเจ้านี้มีโทษมากกว่า มีโทษติดตามไปหลายชาติ น่ากลัว
*บุคคล 4 จำพวก
---1.ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ตำหนิคนที่ควรตำหนิ
---2.ไม่ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ไม่ตำหนิคนที่ควรตำหนิ
---3.สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ แต่ไม่ติเตียนคนที่ควรติเตียน
---4.ติเตียนคนที่ควรติเตียน แต่ไม่สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
---พระพุทธเจ้าคุยกับโปตลิย ปริพาชก ปริพาชกก็ตอบว่า คนที่เฉยๆแหละดี คือไม่ติเตียนใคร ไม่สรรเสริญใคร เขาชอบใจคนพวกนี้ เพราะว่าตั้งอยู่ในอุเบกขา
---พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นด้วย ท่านบอกว่าเรานิยมคนที่ติคนที่ควรติ สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ตามความเป็นจริง ตามกาลอันควร เพราะว่าตั้งอยู่ใน กาลัญญุตา
---ในสังคมเรา บางทีก็พลาด ไปให้ค่ากับคนที่เฉยๆ ไม่ว่าใคร ว่าท่านดีเหลือเกินไม่ว่าใครเลย ทำผิดทำถูกก็ไม่ว่าใครเลย อันนี้มันเป็น concept ที่ผิด เอาหลักพระพุทธพจน์มาเทียบ ก็ต้องตำหนิคนที่ควรตำหนิ ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
---พระพุทธเจ้าท่านไม่เฉย ใครควรตำหนิท่านก็ตำหนิ ใครควรยกย่องท่านก็ ยกย่อง ถ้าเป็นคนมีสาระเอาจริงเอาจัง ทนต่อคำสอน เขาก็จะอยู่ได้ คือพระพุทธเจ้าท่านทรงต้องการแก่น
---มีอีกพุทธพจน์ที่ว่า ยถาวาที คถาการี ทำอย่างที่พูด พูดอย่างที่ทำ
---ท่านมหาตมะ คานธี มีคนไปถามท่านว่า ท่านอยู่ในปัจฉิมวัย ท่านมีคำพูดอะไรสักหน่อยหนึ่งไหม จะฝากเอาไว้สำหรับให้คนรุ่นหลังถือเอาเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม ท่านบอกว่า “ชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหมดนั่นแหละคือคำพูดของข้าพเจ้า” หมายความว่า ถ้าอยากรู้ว่าข้าพเจ้าจะพูดอะไร ก็ดูชีวิตของข้าพเจ้าก็แล้วกัน แปลว่า ทำให้ดู เป็นอยู่ให้เห็น แทนคำพูดของท่าน
---ในสังคมเรา บางคนสอนเก่ง ได้รับยกย่องว่ามีวาทศิลป์ แต่ตัวเองทำตรงข้ามกับที่สอน ถ้าจะตัดสินก็คือว่า ก็ดีที่สอนได้ แต่ก็แย่ที่ทำไม่ได้ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ถูกสอน ลองอ่านจากพระไตรปิฎกก็ได้นะครับ ค่อนข้างยาว เดี๋ยวค่อยพูดกันไปทีละตอนก็ได้
---“พึงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความ เกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังมีตัณหาอยู่ หรือเป็นผู้มั่นคง ไม่มีตัณหา” คือ แผ่เมตตาไปให้หมดเลย ทั้งสัตว์ที่ทั้งยาวหรือสั้นหรือใหญ่ หรือ เล็ก ผอม อ้วน ที่ได้เห็นหรือไม่ได้เห็น อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาที่เกิดอยู่ ภูตาวา สัมภเวสีวา ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข
---ภูตา นี่ในความหมายหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์
---สัมภเวสี หมายถึง ทั้งหมดยกเว้นพระอรหันต์
---ตั้งแต่พระอนาคามีลงมา ยังเป็นสัมภเวสี คือยังมีภพอยู่
---สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขาในที่ใด ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตนด้วยชีวิตฉันใด พึงเจริญเมตตาในใจไม่มีประมาณไปในสัตว์ทั้งปวงฉันนั้น
---พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณในโลกทั้ง ปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง เป็นธรรมอันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงคือยังไม่ง่วงนอนเพียงใด ก็พึงตั้งสติไว้เพียงนั้น
---ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ ว่า พรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ผู้มีเมตตาไม่เข้าถึงทิฏฐิ คือสักกายะ ทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสนะ หรือสัมมาทิฏฐิ ในโสดาปัตติ มรรค นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในขันธ์อีกโดยแท้
---นี่คือข้อความทั้งหมดเกี่ยวกับเมตตา การแผ่เมตตา เราแผ่ให้ตัวเองก่อน อหัง สุขิโต โหมิ ขอข้าพเจ้าจงมีความสุข เถิด เราแผ่ให้ตัวเองก่อน เพื่อเป็นพยานว่าเรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด คน อื่นสัตว์ ฯ
......................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
ที่มา..พระธรรมบทพระพุทธศาสนา
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 5 กันยายน 2558
ความคิดเห็น