/music/.mp3 http://www.watkaokrailas.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

 ติดต่อเรา-แผนที่

มายาหญิงและชาย

มายาหญิงและชาย

มายาหญิงและชาย







*ในสมัยหนึ่ง


---พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้กระสันปั่นป่วนเพราะหญิงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…


---กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสีมีพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ได้จุดไฟตั้งไว้ตั้งแต่วันลูกชายเกิดไม่ให้ดับเป็นเวลา ๑๖ ปีแล้ว วันหนึ่ง มารดาเรียกลูกชายมาบอกว่า


---” ลูกรัก แม่ได้จุดไฟตั้งไว้ในวันที่ลูกเกิดเรื่อยมา ถ้าหากเจ้าประสงค์จะไปพรหมโลก จงเข้าป่าบูชาพระอัคนิเทพเจ้าเถิด ถ้าอยากจะครองเรือน จงไปเรียนศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมืองตักกสิลาเถิด ”


---ลูกชายตัดสินใจเดินทางไปเรียนที่เมืองตักกสิลาจนสำเร็จแล้วกลับมาบ้าน ส่วนมารดาไม่อยากจะให้ลูกชายครองเรือนอยากจะแสดงโทษของสตรีหวังให้ลูกชายออกบวช จึงส่งลูกชายให้กลับไปเรียนอสาตมนต์ที่สำนักของอาจารย์ ณ เมืองตักกสิลาอีก 


---ที่สำนักเรียนเมืองตักกสิลา อาจารย์มีมารดาผู้แก่ชรามีอายุได้ ๑๒๐ ปีอยู่คนหนึ่ง ท่านจะเป็นผู้ปรนนิบัติมารดาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ป้อนข้าว ป้อนน้ำตลอดมา ผู้คนชาวเมืองจึงรังเกลียดท่าน ท่านจึงได้พามารดา เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง เมื่อเห็นลูกศิษย์กลับมาหาอีกครั้ง อาจารย์ทราบว่า ต้องการจะมาเรียน"อสาตมนต์" จึงเข้าใจเจตนาของมารดาของเขา 


---ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา อาจารย์จึงมอบหน้าที่ปรนนิบัติมารดาผู้ชราให้แก่ลูกศิษย์ไป พร้อมกับสั่งสอนว่า ” เจ้าจงอาบน้ำ ป้อนข้าว ป้อนน้ำ มารดาของเรา ปรนนิบัติด้วยการนวดมือ เท้า ศีรษะและหลังของท่าน พร้อมกับพูดยกย่องคำหวานเป็นต้นว่า คุณแม่ครับ ถึงจะแก่เฒ่าแล้ว ร่างกายของคุณแม่ยังดูกระชุ่มกระชวยอยู่เลย สมัยเป็นสาวคุณแม่คงจะสวยสะคราญหาที่เปรียบไม่ได้ ถ้าหากมารดาของเราพูดอะไรกับเจ้า ต้องบอกให้เราทราบทั้งหมดห้ามปิดบัง เจ้าทำเช่นนี้ถึงจะได้อสาตมนต์ ”


---เขาได้ปรนนิบัติมารดาของอาจารย์เช่นนั้นตลอดมา จนนางคิดว่าหนุ่มน้อยคนนี้คงต้องการอภิรมย์กับเราเป็นแน่นอน วันหนึ่งนางจึงถามชายหนุ่มว่า


---” เธอต้องการฉันใช่ไหม ”


---เขารับคำว่า


---” ครับ แต่ผมเกรงกลัวอาจารย์ ”


---นางพูดว่า


---” ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงฆ่าลูกฉันเสียสิ ”


---เขากล่าวว่า


---” ผมเรียนหนังสือกับท่าน จะให้ฆ่าท่านได้อย่างไร ”


---นางพูดว่า


---” ถ้าหากเธอไม่ทอดทิ้งฉันจริง ฉันจะฆ่าเขาเอง ”


---ธรรมดาหญิงส่วนมากไม่น่ายินดี มีลับลมคมใน ถึงจะแก่แล้วก็ยังมีกิเลสราคะถึงกับคิดจะฆ่าลูกชายตนเอง


---ชายหนุ่มได้บอกเรื่องทุกอย่างแก่อาจารย์ อาจารย์จึงทราบว่ามารดาตนจะสิ้นชีวิตในวันนี้ จึงเรียกให้ลูกศิษย์ไปตัดต้นมะเดื่อมาทำเป็นรูปหุ่นเท่าตัวให้นอนในที่นอน คลุมผ้าทั่วร่าง ผูกราวเชือกไว้เสร็จแล้ว มอบขวานให้ลูกศิษย์นำไปมอบให้มารดา บอกว่าอาจารย์เข้านอนแล้ว


---นางเดินไปตามราวเชือกแล้วเงื้อขวานจามลงบนหุ่นไม้นั้นหวังให้ตายคาที่ พอเกิดเสียงดังกึก จึงทราบว่าฟันถูกไม้ ทันใดนั้นเองลูกชายก็โผล่มาถามว่าแม่ทำอะไร นางทราบว่าถูกหลอกแล้ว จึงล้มลงสิ้นใจตาย ณ ที่นั้นนั่นเอง ความที่จริงถ้านางไม่เดินมาก็จะนอนตายที่ศาลาของตนเองอยู่แล้ว นางเดินมาด้วยอำนาจกิเลสตัณหา


---อาจารย์ได้ทำการเผาศพมารดาแล้วเรียกลูกศิษย์มาสอนว่า



---”อสาตมนต์ไม่มีดอก ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมาก ไม่รู้จักจืดจาง มารดาของเจ้าส่งเจ้ามาเพื่อให้รู้จักโทษของหญิง บัดนี้ เจ้าเห็นโทษของมารดาเราแล้ว พึงทราบว่า ผู้หญิงส่วนมากไม่รู้จักอิ่ม ชั่วช้า ”แล้วให้เขากลับบ้าน เมื่อชายหนุ่มกลับไปถึงบ้าน มารดาจึงถามว่า



---” บัดนี้เจ้าจักบวชหรือจะครองเรือน ”


---เขาได้ตัดสินใจออกบวชเพราะเห็นโทษของหญิง และได้กล่าวคาถาว่า



---” ขึ้นชื่อว่า หญิงในโลกนี้ไม่นายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีขอบเขตมีแต่ความกำหนัด คะนอง เหมือนเปลวไฟไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ข้าพเจ้า จักละทิ้งหญิงทั้งหลายเหล่านั้น ไปบวชเพิ่มพูนวิเวก ”



---เพื่อความชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นพึงทราบว่า


---” หญิงเหล่านั้น ร้อยเล่ห์ หลอกลวง เป็นบ่อเกิดแห่งความโศก มีเชื้อโรค เป็นตัวอุบาทว์หยาบคาย ก่อให้เกิดความผูกพันธ์ เป็นชะนวนแห่งความตาย เป็นนางบังเงา ชายใดวางใจในนาง ชายนั้น จัดเป็นคนเลวในฝูงคน ”


---นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ภรรยา ทาส ช้างสาร งูเห่า (คนไม่ดี) ไว้ใจไม่ได้.


มีต่อ......


*[๓๐๒]  ดูก่อนสหายปุณณมุขะ    สิ่งของ  ๖ อย่างนี้ 


---เมือกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้  คือ ธนูไม่มีสาย  ๑  ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ  ๑  เรือที่ฝั่งโน้น   ๑   ยานพาหนะที่เพลาหัก  ๑  มิตรอยู่ไกล  ๑   สหายลามก   ๑  สิ่งของทั้ง  ๖  นี้  เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น  ใช่ประโยชน์ไม่ได้.


*[๓๐๓]   ดูก่อนสหายปุณณมุขะ     หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุ  ๘  ประการ   คือ 

 
---เพราะสามีเป็นคนจน   ๑   


---เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ   ๑


---เพราะสามีเป็นคนแก่  ๑  


---เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา  ๑   


---เพราะสามีเป็นคนโง่  ๑



*พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 523



---เพราะสามีเป็นคนมัวเมา   ๑   


---เพราะคล้อยตามในกิจทุกอย่าง   ๑   


---เพราะไม่ก่อให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ 


---ดูก่อนสหายปุณณมุขะ  ได้ยินว่า  หญิงย่อมดูหมิ่น  สามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้.


 
*[๓๐๕]  ดูก่อนสหายปุณณมุขะ     หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ  ๔๐  ประการ


---คือ    ดัดกาย    ก้มตัว    กรีดกราย   ทำอาย    แกะเล็บ    เอาเท้าเหยียบกัน    เอาไม้ขีดแผ่นดิน   ทำกระโดดเอง  ให้เด็กกระโดด   เล่นเอง   ให้เด็กเล่น   จุมพิตเด็ก     ให้เด็กจุมพิต     กินเอง     ให้เด็กกิน    ให้ของแก่เด็กขอของจากเด็ก    ทำตามที่เด็กกระทำ    พูดเสียงสูง    พูดเสียงต่ำ    พูดเปิดเผยพูดกระซิบ  ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน 


---การขับ   การประโคม   ร้องไห้   กรีดกรายด้วยการแต่งกาย ทำปิ่ง ยักเอว  ส่ายผ้าที่ปิดของลับ  เลิกขา  ปิดขา ให้เห็นนมให้เห็นรักแร้   ให้เห็นท้องน้อย   หลิ่วตา   เลิกคิ้ว   เม้มปาก  แลบลิ้น    ขยายผ้ากลับนุ่งผ้า    สยายผม   มุ่นผม    ดูก่อนสหายปุณณมุขะ   ได้ยินว่า    หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ  ๔๐  ประการนี้แล.......ฉะนั้น 

 
---ไฟกินเปรียง  ๑   


---ช้างสาร  ๑  


---งูเห่า  ๑ 


---พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว  ๑  


---หญิงทั้งปวง  ๑ 


*สิ่งทั้ง   ๕  นี้นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์  เพราะสิ่งทั้ง  ๕  นี้  มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ 

   

---หญิงที่งามเกินไป   ๑


---หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ ๑  

 
---หญิงที่เหมือนมือขวา ๑


---หญิงที่เป็นภรรยาคนอื่น  ๑ 


---หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์  ๑  


(หญิง   จำพวกนี้   ไม่ควรคบ)


---"สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว"


มีต่อ...


*[๖๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่


---ณ อุตตรนิคมแห่งชาวโกฬิยะในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง


---ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆจะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้แลหรือ เพราะว่าข้าพระองค์ไม่ประสงค์


---จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรนายคามณี ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทราบมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ย่อมไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ย่อมไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ


---คา.ข่าวเล่าลือข้อนั้นจริงเทียวพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์ มิได้เชื่อถือสมณพราหมณ์พวกนั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่า พระสมณโคดมมีมายา ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่า เรารู้จักมายา ผู้นั้นย่อมจะพูดอย่างนี้ว่า เรามีมายา ฯ


---คา.ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ข้าแต่พระสุคตข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงแก้ตามที่ท่านชอบใจ ฯ


*[๖๕๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะหรือ ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างไร ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์ดังนี้ คือ เพื่อป้องกันพวกโจรแห่งชาวโกฬิยะ เพื่อละความเป็นคนนำข่าวแห่งชาวโกฬิยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อมรู้จักอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวในนิคมแห่งชาวโกฬิยะว่า เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีล ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะว่าเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทรามและพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งโกฬิยะ เป็นพวกหนึ่งในจำนวนบุคคลผู้ทุศีลมีธรรมเลวทรามในโลก ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทรามแม้นายบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อพูดถึง พึงพูดถูกหรือหนอแล ฯ


---คา.หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง พวกอำมาตย์ ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นคนมีธรรม เป็นอย่างหนึ่ง ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ก็ที่จริง ท่านจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่นายบ้านปาฏลิยะไม่ใช่เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ฉะนั้น  ตถาคตจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า ตถาคตรู้จักมายา แต่ว่าตถาคตไม่มีมายา ฯ


*[๖๕๑] ดูกรนายคามณี เรารู้ชัดทั้งมายา


---ผลของมายา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีมายาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปาณาติบาต ผลของปาณาติบาต และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอทินนาทาน ผลของอทินนาทาน และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ลักทรัพย์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งกาเมสุมิจฉาจาร ผลของกาเมสุมิจฉาจาร และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมุสาวาท ผลของมุสาวาทและตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเท็จปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปิสุณาวาจา ผลของปิสุณวาจาและตลอดถึงความที่บุคคลกล่าวคำส่อเสียดปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งผรุสวาจา ผลของผรุสวาจาและตลอดถึงความที่บุคคลผู้กล่าวคำหยาบปฏิบัติอย่างไรแล้ว


---เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งสัมผัปปลาปะ ผลของสัมผัปปลาปะ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอภิชฌาผลของอภิชฌา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีอภิชฌาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งความพยาบาทประทุษร้ายเขา ผลของความพยาบาทประทุษร้ายเขา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีจิตพยาบาทปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมิจฉาทิฐิ ผลของมิจฉาทิฐิ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ฯ


*[๖๕๒] ดูกรนายคามณี มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้


---มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ฯ 


*[๖๕๓] ดูกรนายคามณี ก็แหละบุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็น 


---ผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรี เหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า


---ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา  ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนั้นอย่างนี้ว่า


---ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้วฆ่ามันเสีย พระราชาทรง โสมนัส ได้ทรงพระราชทานรางวัล ฉะนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว โกนศีรษะเสียแล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไรไว้ จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว โกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ฆ่าบุรุษหรือสตรีที่มีเวรกับพระราชา ฉะนั้น


*พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดังนี้


---ดูกร นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหม ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ


*[๖๕๔] พ. ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น


---สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ


---คา.พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า ฯ


---คา.เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิดหรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า ฯ


---คา.เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็นชอบเล่า ฯ


---คา.เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ


---คา.ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ


*[๖๕๕] พ. ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้


---ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงชายคนนี้อย่างนี้ว่า ดูกร  ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มขี่ ลักเอาทรัพย์ของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรง  โสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้น ชายคนนี้จึงประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา


---ดูกรนายคามณีบุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกร  ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนเอามือไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ดูกรท่านผู้เจริญชายคนนี้ลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งแห่งโจรกรรมจากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ฉะนั้นพระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วยได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ


*[๖๕๖] พ.ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น


---สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ


---คา.พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ


---พ.ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ


---คา.ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ


*[๖๕๗]พ.ดูกรนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้


---ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา เพราะเหตุนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา


---ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้กระทำอะไรไว้จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯแล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายพากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในกุลสตรีในกุลธิดา ฉะนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วยได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ


*[๖๕๘] พ.ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น


---สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ


---คา.พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ


---พ.ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ


---คา.ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ


*[๖๕๙] พ.ดูกรนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้


---ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำพระราชาให้ทรงพระสรวลได้ด้วยการพูดเท็จพระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้นชายคนนั้นจึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา


---ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสียแล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำลายประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง ของบุตรแห่งคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดเท็จ ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ


*[๖๖๐] พ.ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น


---สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์และโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ


---คา.พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า ฯ


---คา.เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมอันเลวทรามนั้น เป็นคปฏิบัติผิดหรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า ฯ


---คา.เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็นชอบเล่า ฯ


---คา.เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า ฯ


---พ.ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ


---คา.ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา ข้าพระองค์มีเรือนพักอยู่หลังหนึ่ง ในเรือนพักนั้นมีเตียงนอน มีที่นั่ง มีหม้อน้ำ มีประทีปน้ำมัน ข้าพระองค์จะแจกจ่ายแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้เข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้นตามสติกำลัง ฯ


*[๖๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว


---ศาสดา ๔ ท่านซึ่งมีความเห็น มีความพอใจ มีความชอบใจต่างๆ กัน พากันเข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้น ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชา


---ไม่มีผลการเซ่นสรวงไม่มีผล  ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดา ไม่มี  สัตว์ผู้ผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดีปฏิบัติชอบ กระทำให้โลกนี้และโลกหน้าแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ฯ


*[๖๖๒] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้


---มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผลการบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามีมารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปมี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ฯ


*[๖๖๓] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้


---มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียด  เบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเองใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา 


---แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ฯ


*[๖๖๔] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้


---มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง


---ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้  ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมมีแก่เขา มีบาปถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขาแม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเองใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความสงสัยสนเท่ห์ว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ ใครหนอพูดจริง ใครหนอพูดเท็จ ฯ


---พ.ดูกรนายคามณี ก็ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย ควรแล้วที่ท่านจะสนเท่ห์ก็แหละความสนเท่ห์ของท่านเกิดแล้วในฐานะที่น่าสงสัย ฯ


---คา.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าพระผู้มีพระภาคสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยที่ข้าพระองค์พึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๖๕] พ.ดูกรนายคามณี ธรรมสมาธิมีอยู่


---ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้


---ดูกรนายคามณี ก็ธรรมสมาธิเป็นไฉน พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ดูกรนายคามณีเป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นปาณาติบาต เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นอทินนาทานเป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นมุสาวาทเป็นผู้ละปิสุณาวาจา งดเว้นปิสุณาวาจา เป็นผู้ละผรุสวาจา งดเว้นผรุสวาจา เป็นผู้ละสัมผัปปลาปะ งดเว้นสัมผัปปลาปะ เป็นผู้ละอภิชฌา ไม่มากด้วยอภิชฌาเป็นผู้ละความพยาบาทประทุษร้ายมีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้ละความเห็นผิด มีความเห็นชอบ ฯ


*[๖๖๖] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า


---ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกายสำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๖๗] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง


---ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกายสำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร คือผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๖๘] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในที่เปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จผู้ทำชื่อว่าไม่ทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน ให้เป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเองใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน


---บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะว่าเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้นพึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๖๙] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบากดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ


---ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน  บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเองใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียนบาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้


---เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๗๐] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... มีใจประกอบด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบอุเบกขาไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล


---การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกายสำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆคือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบเธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณีนี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๗๑] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผลการเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามีสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี


---สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลกดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง  ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจาสำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนั้น เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้ง


---หรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว


---ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๗๒] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา   ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเองใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียนทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขาพูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพี ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเองใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา 


---แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุขเมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งมั่นอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


*[๖๗๓] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น


---ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌาปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้ามีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป


---แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ


---เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนักข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้ แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักแลเห็นรูป ฉะนั้น


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ฯ




จบสูตรที่ ๑๓

จบคามณิสังยุตต์


...........................................................................................





จาก  กุณาลชาดก  พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จันฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร ๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร

๕. อัสสาโรหสูตร ๖. ภูมกสูตร ๗. เทศนาสูตร ๘. อสังขาสูตร ๙. กุลสูตร

๑๐. มณิจูฬสูตร ๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร ๑๓. ปาฏลิยสูตร ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๘๕๘๑ - ๙๐๒๕.  หน้าที่  ๓๗๐ - ๓๘๘.

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

รวบรวมโดย...แสงธรรม

อัพเดทรอบครั้งที่ 6 วันที่ 1 กันยายน 2558


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

ประวัติต่างๆ

ประวัติวัดเขาไกรลาศ

ประวัติของหลวงพ่อเทียน=คลิป

มาเช็คชื่อ-เช็คสกุลกันดีกว่า=คลิป

ประวัติพระอธิการชิติสรรค์ จิรวฑฺฒโน=คลิป

ขอเชิญผู้ร่วมบุญสร้างอาศรมเสด็จปู่พระบรมพรหมฤาษีไตรโลก

ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร

ประวัติฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธองค์

ประวัติของนางวิสาขา=คลิป

ประวัติของอนาถปิณฑิกเศรษฐี=คลิป

ประวัติของเศรษฐีขี้เหนียว

ประวัติเหตุทำบุญที่ช้า=คลิป

ประวัติของผู้ร่วมบุญ=คลิป

ประวัติของพระไตรปิฎก=คลิป

ประวัติการสร้างพระพุทธรูปและพระเจ้า ๕ พระองค์

ประวัติง้วนดิน

ประวัติปู่ฤาษีนารอท

ประวัติพระปางมหาจักรพรรดิ์ ทรงปราบพระเจ้ามหาชมพูบดี

ประวัตินางห้าม..แห่งขอมโบราณ

ประวัติพญานาค

ความรู้และรายละเอียดพุทธเจดีย์

พระมหาโพธิสัตว์

สาระธรรม

ธรรมะส่องใจ

อานิสงส์แต่ละอย่าง

ประเพณีต่างๆ

ตำนานทั่วไป

สาระน่ารู้

ปกิณกะธรรม

วัตถุมงคล-สาระอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไป

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

สถิติ

เปิดเว็บ20/06/2011
อัพเดท28/10/2024
ผู้เข้าชม7,886,223
เปิดเพจ12,106,158
สินค้าทั้งหมด8

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 พระบรมสารีริกธาตุ

 โจโฉ รวมเสียงธรรม

 เฟสบุ๊ค

view