โลกธาตุ ในทางพระพุทธศาสนานั้น
---มีแสนโกฏิจักรวาลหรือ 1ล้านล้านจักรวาล คือ แบ่งเป็น
---1.จักรวาลขนาดเล็ก (เช่น สุริยจักรวาล)
---2.จักรวาลขนาดกลาง (เช่น กาแล็คซี่)
---3.จักรวาลขนาดใหญ่ (เอกภพ )
---1.หนึ่งพันจักรวาลขนาดเล็ก เป็น หนึ่งโลกธาตุขนาดเล็ก
---2.หนึ่งพันจักรวาลขนาดกลาง เป็น หนึ่งโลกธาตุขนาดกลาง
---3.หนึ่งพันจักรวาลขนาดใหญ่ เป็น หนึ่งโลกธาตุขนาดใหญ่
*ดังนั้น...
---1.หนึ่งพันจักรวาลขนาดเล็ก เป็น หนึ่งจักรวาลขนาดกลาง
---2.หนึ่งพันจักวาลขนาดกลาง เป็น หนึ่งจักรวาลขนาดใหญ่
*และ...
---1.หนึ่งพันโลกธาตุขนาดเล็ก เป็น หนึ่งโลกธาตุขนาดกลาง
---2.หนึ่งพันโลกธาตุขนาดกลาง เป็น หนึ่งโลกธาตุขนาดใหญ่
---โลกธาตุขนาดใหญ่ มีหนึ่งพันโลกธาตุ เมื่อรวมจักรวาลทั้งสิ้น จะได้แสนโกฏิจักรวาล (1000000000000)
---เวลาถือกำเนิดจนสิ้นสลายไปของจักรวาลขนาดเล็กเป็น1จุลกัปป์ จักรวาลขนาดเล็กแตก 7 ครั้งในครั้งที่8จักรวาลขนาดกลางจะแตกเรียกมัชฌิมกัปป์ จักรวาลขนาดกลางแตก 7 ครั้งในครั้งที่ 8 จักรวาลขนาดใหญ่จะแตกเรียกมหากัป จักรวาลขนาดเล็กแตกด้วยธาตุไฟ จักรวาลขนาดกลางแตกด้วยธาตุน้ำ จักรวาลขนาดใหญ่แตกด้วยธาตุลม
---ในวันสิ้นโลกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่างว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น 7 เท่า หรืออาจมี 7 ดวง (ในคัมภีร์ สัตต แปลว่า 7 อาจ 7 เท่า หรือ 7 ดวงก็ได้)
---พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงบอกลักษณ์ของโลกนี้ ว่า มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ (แผ่นดินและมหาสมุทร) น้ำตั้งอยู่บนลม (มหาสมุทรและชั้นบรรยากาศ) ลมตั้งอยู่บนอากาศ (ชั้นบรรยากาศและอวกาศ) สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัดอยู่ย่อมยังน้ำให้ไหว น้ำไหวแล้ว ย่อมยังแผ่นดินให้ไหว.
*โลกธาตุ
---ในห้วงอวกาศนั้น มีจักรวาลหรือจะ เรียกอีกชื่อว่า โลกธาตุ อยู่มากมายจำนวนนับไม่ถ้วน เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ค้นคว้าได้ขณะนี้ ยังไม่พบดาวดวงอื่น นอกจากโลกของเราที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ แต่ในความรู้อันไม่มีขอบเขตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์และด้วยญาณทัสสะอันบริสุทธิ์ ทรงพบว่าในแต่ละจักรวาล มีโลกมนุษย์อยู่อย่างเรา ๆ นี้ ๔ โลก มีโลกที่มีความเป็นอยู่ประณีตไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามคุณ มีอารมณ์ทางจิตอยู่อย่างเดียวตลอดเวลาอีก ๒๐ โลก เรียกว่า พรหมโลก ส่วนโลกที่มีความเป็นอยู่ เดือดร้อน มีอยู่ ๔ แห่ง คือ โลกนรก โลกเปรต อสุรกาย และดิรัจฉาน รวมทั้งหมดเป็น ๓๑ โลก ที่เรียกว่า ๓๑ ภูมิ หรือเรียกย่อว่า ไตรภูมิ
---สรรพสัตว์ที่เกิดในภูมิต่างๆ ทั้ง ๓๑ ภูมินี้ สายตาของมนุษย์มองเห็นได้เพียง ๒ ภูมิคือ สัตว์ที่เป็นมนุษย์ด้วยกันและสัตว์ดิรัจฉานบางจำพวก ส่วนสรรพชีวิตในภูมิอื่นๆ สายตาของมนุษย์มองไม่เห็น จะเห็นได้เฉพาะผู้ฝึกจิตไว้ดีดังที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น มีอยู่บ้างนานๆ ครั้งที่เครื่องมือของมนุษย์ เช่น กล้องถ่ายรูป ถ่ายภาพสัตว์ที่เป็นเปรต หรืออสุรกายได้บ้าง แต่ไม่ชัดเจนนัก
---ความจริงในบรรดาดวงดาวทั้งหลาย ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า ไม่มีสิ่งชีวิตอยู่เพราะเข้าใจเอาว่าสิ่งชีวิตมีเพียงมนุษย์และสัตว์ ถ้านักดาราศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ เหล่านั้นสามารถฝึกจิตให้มีคุณภาพพิเศษดังกล่าวไว้ได้ ก็ย่อมจะเห็นสิ่งมีชีวิตมากมายอยู่ในดวงดาวเหล่านั้น เพียงแต่ร่างกายของสัตว์เหล่านั้นโปร่งใสจนสายตาของมนุษย์มองไม่เห็น เราเรียกกันว่า กายทิพย์ ซึ่งจัดอยู่ในเทวภูมิชั้นที่หนึ่ง สัตว์ที่มีกายทิพย์เหล่านี้ มีที่อยู่บนดวงดาวต่างออกไปอีกมิติหนึ่ง ที่อยู่เหล่านั้นสุขสบายจนเรียกกันว่าเป็นสมบัติทรัพย์
---โดยไม่เกี่ยวกับเนื้อดินหรือหินที่เห็นได้ด้วยตามนุษย์ ในดวงดาวนั้น ๆ เป็นมิติละเอียดที่ซ่อนอยู่ในของหยาบ ในจักรวาลหนึ่งๆ มีดวงดาวชนิดต่างๆ นับไม่ถ้วน ดวงดาวเหล่านี้ไม่มีดวงใดว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิตเลยแม้แต่ดวงเดียว ไม่ว่าดวงดาวนั้นจะลุกโพลงเป็นเปลวไฟอยู่ หรือเต็มไปด้วยน้ำแข็งเย็นเฉียบ มิติหยาบกับมิติละเอียดไม่มีสิ่งใดสัมพันธ์กัน จะเกี่ยวข้องก็เพียงมีสถานที่ตั้งเป็นที่แห่งเดียวกันเท่านั้นเอง ความร้อนเย็นมีอากาศ หรือไม่มีของมิติหยาบไม่กระทบกระเทือนมิติละเอียด
---นักดาราศาสตร์อาจจะแบ่งดวงดาวออกเป็นกาแล็กซี เป็นหมวดหมู่ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เท่าที่ค้นพบขึ้นมาจากเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่ญาณทัสสนะของจิต แบ่งขอบเขตของห้วงอวกาศเป็นจักรวาล แต่ละจักรวาลมีส่วนประกอบอย่างเดียวกันหมด คือประกอบด้วย ๓๑ ภูมิ ที่ตั้งของภูมิเรียกว่า ภพ มีลักษณะเดียวกันทุกประการ กล่าว โดยย่อคือ
---๑ .ขอบเขตของจักรวาล มีรูปร่างเหมือนทรงกระบอก มีภูเขาล้อมรอบ
---๒ .ตรงกลางมีภูเขาเป็นแกน รูปร่างเหมือนกลอง ตรงฐานภูเขามีภูเขา ๓ ลูกเป็นเส้ารองรับ ภูเขาที่เป็นแกนจักรวาลนี้มีชื่อเสียงเรียกว่า “ เขาสิเนรุ” หรือ “ เขาพระสุเมรุ”
---๓ .มีภูเขารอบเขาสิเนรุอีก ๗ รอบ ระหว่างรอบมีน้ำทะเลคั่นอยู่ทุกรอบ
---๔ .พ้นจากภูเขาทั้ง ๗ รอบ เป็นทะเลใหญ่ เป็นทั้งตั้งขอโลกมนุษย์ ทิศละ ๑ แห่งรอบเขาสิเนรุ
---๕.มีดวงอาทิตย์ ๑ ดวง และดวงจันทร์ ๑ ดวง ลอยอยู่ระดับกึ่งกลางระหว่างระดับพื้นทะเลกับยอดเขาสิเนรุ
---๖.ฐานล่างที่รองรับจักรวาลไว้ ชั้นแรกเป็นพื้นดิน ถัดจากดินเป็นน้ำ ถัดจากน้ำจึงเป็นลม ต่อจากลมเป็นความว่างเปล่า มีแต่ความมืด
*ภูมิต่างๆ ตั้งอยู่ดังนี้
---๑.มนุสสภูมิ อยู่ตรงกับไหล่เขาสิเนรุ ทิศละ ๑ แห่ง เรียกว่า “ ทวีป”
---ไหล่เขาซีกตะวันออกเป็นเงิน แสงสีเงินสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้นชื่อ ปุพเพวเทหทวีป
---ไหล่เขาซีกทิศใต้เป็นมรกต แสงสีเขียวสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้นชื่อ ชมพูทวีป คือโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ขณะนี้
---ไหล่เขาซีกทิศตะวันตกเป็นแก้วผลึก สีใสๆ สะท้อนไปยังทวีปซีกนั้นชื่อ อปรโคยานทวีป
---ส่วนไหล่เขาซีกทิศเหนือเป็นทองคำ แสงสีทองสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้นชื่อ อุตตรกุรุทวีป
---๒.ใต้ภูเขาสามเส้าที่รองรับเขาสิเนรุ เป็นอุโมงค์ใหญ่ มีที่อยู่สุขสบายเป็น อสูรพิภพ ใต้อสูรพิภพลงไปเป็นที่ตั้งของนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม ( ภาคปฏิบัติ : ภาคปริยัติกล่าวว่า มหานรกอยู่ใต้แผ่นดิน ตรงกับชมพูทวีป)
---๓.ที่อยู่ของพวกเปรต อสุรกาย และดิรัจฉานส่วนใหญ่ อยู่ที่ชมพูทวีป ดิรัจฉานชั้นดีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ( แถบภูเขาหิมาลัย ในประเทศอินเดีย) เป็นพวกกายละเอียดไม่เห็นด้วยตามนุษย์
---๔.รอบเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นที่ ๑ ชื่อ จาตุมหาราชิกา มีหลายประเภท มีทั้งที่อยู่บนพื้นดิน อยู่บนต้นไม้ และอยู่ในอากาศ บางพวกก็อยู่ปนกับที่อยู่ของมนุษย์ในชมพูทวีป พวกที่อยู่ตามดวงดาวทั้งหลายเป็นอากาศเทวดา จัดอยู่ในชั้นที่ ๑ เหมือนกัน
---๕.บนหน้าตัดของเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้นที่ ๒ ดาวดึงส์ ( พวกอสูรที่ใต้เขาสิเนรุ จัดอยู่ในเทวดาประเภทนี้)
---๖.เทวดาชั้นที่ ๓ ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๖ อยู่เหนือดาวดึงส์ขึ้นไปทั้งหมดตามลำดับ ล้วนแต่มีวิมานลอยอยู่ในอากาศ ไม่ตั้งอยู่ตามดวงดาว เพราะเป็นที่สูงกว่าที่อยู่ของดวงดาวต่าง ๆ มาก
---๗.พรหมโลก อยู่เลยเทวดาชั้นที่ ๖ ขึ้นไป
---ภพ ต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้งของภูมิเหล่านี้ เกิดขึ้นเองตามความจำเป็น เปรียบเหมือนการสร้างบ้านเรือน เมื่อต้องการรับประทานอาหาร เราก็ต้องมีห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร เมื่อต้องขับถ่ายอุจจาระ เราก็ต้องมีห้องน้ำส้วม ต้องรักษาร่างกายให้สะอาดก็ต้องมีห้องอาบน้ำ ต้องการพักผ่อนก็ต้องมีห้องนั่งเล่น ห้องนอน หรือแม้กระทั่งห้องรับแขกตามฐานะของเจ้าของบ้าน ฉันใด
---ภพก็เกิดขึ้น ตามความจำเป็นของสรรพสัตว์ เพราะเมื่อสัตว์ถูกกิเลสบีบคั้นใจ สัตว์ก็จะลงมือกระทำกรรมชนิดต่างๆ ตามความบีบคั้นนั้น( กรรม แปลว่า การกระทำทางกาย วาจา และใจ)
*เมื่อทำกรรมสำเร็จลง
---จะเป็นกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม หรือไม่ดีไม่ชั่วก็ตามผลของกรรมจะเกิดตามมา ภพเป็นที่รองรับสรรพชีวิตตามภูมิ ( หมายถึงสภาวะทางวิญญาณ) ตามผลกรรมเหล่านั้น.
........................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
อ้างอิง...จูฬนีสูตร สุตตันตะปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 หน้า 431
สุริยสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 214
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพาน
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 สิงหาคม 2558
ความคิดเห็น