ศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท เกิดขึ้นในดินแดนสยามเมื่อใด
---อยากทราบว่า ศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท เกิดขึ้นในดินแดนสยามเมื่อใด
เพราะเหตุที่ไม่เข้าใจว่า…………………ในเมื่อในเขตดินแดนทางใต้ ตั้งแต่เริ่มได้รับพุทธศาสนา ฝ่ายมหาน – วัชรยานทางด้านเขมร ในอดีต ก็เจริญรุ่งเรื่องโดยอาณาจักรขอม มีการเข้ามาของมหายาน ในเขตลพบุรี มีแต่ทางด้านเหนือ ในอดีต ก็ปกครองโดยฝ่ายพม่า ไม่แน่ใจว่าเป็นมหายาน หรือ เถรวาท
---เป็นที่น่าสังเกตุว่า…..ในสมัยสุโขทัย ดูแล้วศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท ในสมัยอยุธยา ดูแล้วก็ศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท ในเขต สุพรรณบุรี อ่างทอง ดูแล้วก็ศาสนาพุทธ เป็นฝ่ายเถรวาท
---เหตุใดอาณาจักร เหล่านี้ จึงไม่ได้รับอิทธิพล ของศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน วชิรยาน บ้างครับ ความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่
*สรุปละกัน
---ในจารึกของพระเจ้าอโศก (Radhagovindha Basak,1959) ในพุทธศตวรรษที่ 3 ไม่เคยกล่าวถึงการส่งสมณทูตายัง"สุวรรณภูมิ"เลย (ซีเรีย อียิปต์ ไอโอเนียน แอฟริกาเหนือ อานธระ โจฬะ ปาณฑยะ ตามรปารณี (ลังกา)
---แต่การ"อ้าง"ส่งสมณะทูตมาสุวรรณภูมิ ( ที่ใช้กันในประเศไทยปัจจุบัน) มาจาก"คัมภีร์มหาวงศ์"ของลังกา (พุทธศตวรรษที่ 10 - 11)
---ศาสนา พุทธ เริ่มต้นจาก ลัทธิเถรวาท หรือสถวีรวาทิน หรือ (นิกายฝ่ายใต้ - สายตรง) กับมหาสังฆิกะ (นิกายฝ่ายเหนือ) ที่มีการปรับปรุงรายละเอียดแล้ว (ในพุทธศตวรรษที่ 1)
---ทั้งสองนิกายเริ่มต้น ล้วนมีความเหมือนกันในข้อพระธรรมแต่แตกต่างกัน ใน พุทธลักษณะและพระวินัยบัญญัติ
---ฝ่ายเถรวาท(หินยาน) มองพระพุทะเจ้าเป็นคนธรรมดา
---ฝ่ายมหาสังฆิกะ มองไม่ธรรมดา มีกายทิพย์
---ลัทธินี้จึงพัฒนาการมาเป็นลัทธิมหายานในภายหลัง
---ทั้งสองเผยแพร่เข้าสู่สุวรรณณภูมิ ด้วยกัน พร้อมกัน แต่รายละเอียดของประติมานวิทยาแตกต่างกันกำเนิดและพัฒนาการของพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
*ลัทธิเถรวาทินหรือสถีรวาทิน ( เถรวาท )
---นิกายมหิศาสกะ
---นิกายสรวาสติวาทิน
---นิกายเสาตรานติกะ หรือ สังกรานติวาทิน
---นิกายธรรมคุปติกะ
---นิกายยปียะ(กัสสป)
---นิกายวาตสิปุติรียะ ( วัชชีบุตร )
---นิกายสางมิตียะ ( วาตสิปุตรีย สางมิตียะ) (พุทธศตวรรษที่ 9 - 11)
*นิกายมหาสังฆิกะ (พุทธศตวรรษที่ 1-2)
---นิกายโลกุตตรวาท
---นิกายพหุศรูติยะ
---นิกายไจตยกะ
---นิกายไศละ
*ลัทธิมหายาน ( นิกายฝ่ายเหนือ พุทธศตวรรษที่ 8)
---มาธยมิกะ
---โยคาจารย์
*ลัทธิพุทธตันตระ หรือ มหายานตันตระ (พุทธศตวรรษที่ 12)
---นิกายวัชรยาน
---นิกายมันตรยาน
---นิกายสหัชยาน
---นิกายกาลจักรยาน
*พัฒนาการพุทธศาสนาสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ( พุทธศตวรรษที่ 10 -19 )
---ลัทธิหินยานนิกายมหาสังฆิกะและนิกายมูลสรรวาสติวาท ( พุทธศตวรรษที่ 11 - 13 )
---ลัทธิมหายาน ( พุทธศตวรรษที่ 11 - 16 )
---นิกายสุขาวดี (พุทธศตวรรษที่ 9 )
---ลัทธิหินยาน นิกายเถรวาท ( พุทธศตวรรษที่ 13 - 15 )
---นิกายวัชรยาน จากอินเดีย ชวา และจาม ( พุทธศตวรรษที่ 14 - 16 )
*อิทธิพลพุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา - โคทวารี แคว้นอานธระ
---คติพุทธศาสนาจากเมืองอมรวดี (นิกายมหาสังฆิกะ นิกายย่อยพหุศรูติยะ ไจตยกะ อปรไศละ)
---คติพุทธศาสนาจากเมืองนาคารชุนโกณฑะ (ลัทธิหินยาน นิกายมหิศาสกะ นิกายมหาสังฆิกะนิกายมหายาน นิกายย่อยพหุศรูติยะ นิกายย่อย อประมหาวินะเสลิยะ นิกายย่อยโลกุตตรวาท และ นิกายมหาวิหารจากลังกา )
*อิทธิพลพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียภาคตะวันตก
---คติพุทธศาสนาจากแคว้นคุชราตแคว้นเสาราษฏร์ ( ลัทธิเถรวาทหรือลัทธิหินยาน นิกายย่อยสางมิติยะ)
---อิทธิพลพุทธศาสนาจากอินเดียภาคเหนือและแคว้นเดคข่านในสมัยคุปตะ ( พุทธศตวรรษที่ 9 - 14 )
---คติพุทธศาสนาจากอินเดียเหนือ นครมถุรา สารนาท ( ลัทธิมหายาน )
---คติพุทธศาสนาจาก นครพุทธคยา และนาลันทา ( ลัทธิมหายาน และลัทธิหินยาน )
*อิทธิพลพุทธศาสนาจากอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ( พุทธศตวรรษที่ 14 - 17 )
---คติพุทธศาสนาลัทธิมหายานมหายานตันตระ นิกายย่อยวัชรยาน มันตรยาน สหัชยาน กาลจักรยาน
---อิทธิพลพุทธศาสนาจากลังกา ( พุทธศตวรรษที่ 12 - 19)
---คติพุทธศาสนา ลัทธิหินยานนิกายเถรวาทจากเมืองอนุราธปุระ ใช้คัมภีร์ในภาษาบาลีเป็นสำคัญ
---อิทธิพลพุทธศาสนาจากชวา กัมพูชา จามปา ( พุทธศตวรรษที่ 14 - 19 )
---คติพุทธศาสนา ลัทธิมหายานตันตระ นิกายย่อยวัชรยาน
---ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา
---ลัทธิหินยานนิกายเถรวาท จากลังกา (นิกายลังกาวงศ์ และนิกายสิงหลภิกขุ พุทธศตวรรษที่ 20 - 22 )
---ศาสนาอิสลาม ( พุทธศตวรรษที่ 19 - 23 )
---คริสต์ศาสนา สมัยอยุธยาช่วงแรก ( คาทอลิกจากโปตุเกส พุทธศตวรรษที่ 20 - 22 )
---คติพุทธศาสนา นิกายสยามวงศ์ (พุทธศตวรรษที่ 21 - 24 )
---คริสต์ศาสนา สมัยอยุธยาตอนกลาง ( โปแตสแตนท์จากอังกฤษและฮอลันดา พุทธศตวรรษที่ 21 )
---คริสต์ศาสนาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ( นิกายเยซูอิด จากสำนักวาติกัน ฝรั่งเศส พุทธศตวรรษที่ 22)
---คริสต์ศาสนาสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ( นิกายโปแตสแตนท์ จากคณะมิชชันนารีอเมริกัน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศตวรรษที่ 23 )
---พุทธศาสนานิกายธรรมยุตินิกาย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
---ศาสนาสิกข์ ในพุทธศตวรรษที่ 24
*สรุป จากหลักฐานทางวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
---ทวารวดี อู่ทอง พุกาม(โบก์ถโน)ศรีเกษตร สะเทิม มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน แต่ยังไม่มีวัรยาน
---สุโขทัย มีพราหมณ์ฮินดู วัชรยาน(วัดพระพายหลวง ศรีสวาย) และหินยาน(เถรวาท ลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ)
---ในสมัยอยุธยา มีพราหมณ์ฮินดู มหายาน วัชรยาน หินยาน (เถรวาท ลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ) สยามวงศ์
---สุพรรณบุรี-อู่ทอง มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน แต่ยังไม่มีวัชรยานตันตระ
---แหลม มาลายู มีหลักฐาน พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายานทั้งนิกายสาขา ลัทธิวัชรยาน หินยานลังกาวงศ์ สิงหลภิกขุ(พระพุทธสิหิงค์)
---ลพบุรี มีหลักฐาน ก่อนประวัติศาสตร์ พราหมณ์ฮินดู พุทธศาสนาทั้งสองสาย คือหินยาน(เถรวาท)และนิกายสาขาและมหายาน วัรยานทวาร วดี ที่ครอบคลุม ทั้งภาคกลางและอีสานของประเทศไทย มีหินยานบางนิกายเป็นหลัก มากกว่ามหายาน ดูจากการใช้ชาดก พุทธประวัติและพระสถูปศากยมุนีในการเผยแพร่ หรือว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์เขามีการสังคยานาในช่วงรัชกาลที่ 1 และ 4 มีการจัดระเบียบศาสนาใหม่หลาย อย่างในเถรวาท ก็ถูกนำมาใช้เป็นหลัก
---ในขณะที่พระโพธิสัตว์ก็นำมาผสมอยู่ในสวรรค์ในชาดก ในพุทะประวัติ กลายเป็นนิกายสยามวงศ์ ไป จนพัฒนามาเป็นนิกายธรรมยุตมหายานหรือ วัชรยาน เป็นภาษาลับ(ตันตระ) สืบทอดยาก ไพร่ทุกคนที่บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์ก็สามารถเป็นพระโพธิสัตว์ได้ และสามารถเป็นมนุษย์พุทธะได้แต่มันขัดกับหลักการปกครอง ที่ยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์ ยังไม่เปิดโอกาสให้มีอิสระในการบรรลุโพธิญาณเพราะจะกลายเป็นผีบุญ หรือพระพุทธเจ้ากัลป์หน้า
---ระบบกษัตริย์แบบจักรพรรดิราชจึงเป็นตรงกันข้ามกับมหายานแต่ไปกันได้กับเถรวาท ที่มีผู้บรรลุเพียงพระองค์เดียวและเป็นพุทธราชา ศาสนาผ่านกาลเวลาย่อมมีการเปล่ยนแปลงและปรับปรุงรายละเอียด หลายคนยังคงคิดว่าพระสูตรของสยามเหมือนลังกาหรือเถรวาทที่อื่น ๆ
---เช่นลังกามีภิษุณี สยามวงศ์กลับไม่มีพระ สูตรของพม่าที่เป็น"สุวรรภูมิ"แท้ ๆ ตามตำนานพระโสณะ พระอุตตระ ของเมืองสะเทิม ก็มีพระสูตรและรายละเอียดของลังกาวงศ์ที่แตกต่างไปจากสยามวงศ์และของเถรวาท เดิม ด้วยเพราะการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับท้องถิ่น
---ในยุครัชกาลที่ 4 เป็นยุคของการเลือกนิกายโดยผู้ปกครอง เถรวาทแบบสยามจึงเกิดขึ้น แตกต่างจากที่อื่น ๆ เรียกว่าธรรมยุตนิกาย ซึ่งธรรมยุตนิกายถือสายเถรวาทเก่ามาเป็นหลัก เพราะเข้ากับหลักการปกครองในยุคเจ้าปกครองไพร่ชนชั้นเจ้าจึงนำคติแบบเถรวาทธรรมยุต มาจนถึงปัจจุบันส่วนประชานยังเป็นไพร่ เจ้าให้ถือพุทธอะไรก็เป็นไปตามนั้นจาก รัชกาลที่ 4 สู่ปัจจุบัน กว่า 150 ปี ศาสนาพุทธมหายานแบบนิกายอันนัม
---ซึ่งเป็นวัชรยาน มหานิกายซึ่งเป็นมหายานแบบจีน ก็กลับเข้ามาแต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะไพร่สยามยังคงต้องถือพุทธศาสนาตามเจ้านายเช่นเดิมปัจจุบันนี้ สิทธิและเสรีภาพมีมาก ทุกคนเลือกศาสนาได้มหายานเริ่มกลับเป็นที่นิยมกว่าเถรวาทแล้วด้วยปรากฏการณ์"จตุคามรามเทพ" .
.........................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 สิงหาคม 2558
ความคิดเห็น