พระอรหันต์ ๔ ประเภท
---“ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกาม เปรียบเสมือนหยาดน้ำ ตกลงบนใบบัวแล้ว ไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกไป”
---นตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย จิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้นเรียบร้อยแล้วนั้นเสมอกันหมด นอกนั้นมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกัน ภูมิของศาสดาก็รู้ลึกซึ้งกว้างขวาง เต็มภูมิของศาสดาสาวกแต่ละองค์ๆ ก็เป็นตามนิสัยวาสนาของตนที่สร้างมามากน้อย กว้าง แคบเป็นลำดับมา
---เพราะฉะนั้น ท่านถึงยกพระอรหันต์ขึ้นเป็น ๔ ประเภทด้วยกัน
*สุกขวิปัสสโก
---การปฏิบัติอย่างเรียบๆ ราบๆ ไปเรื่อยๆ สม่ำเสมอไปเรื่อย วิปัสสโก เกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนา สติปัญญาติดตามฆ่ากิเลสเรียบไปเลย รู้อย่างสงบ สบาย ไม่กระทบกระเทือน ไม่ตื่นไม่เต้นเกี่ยวกับเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์มากนัก ภูมิจากนั้นกระเทือนธาตุขันธ์ กระเทือนจิตใจเป็นพักๆ การบำเพ็ญกิเลส มีหลายคลื่น ธรรมะต้องมีหลายคลื่น ด้วยกัน รับกัน ตอบรับกัน ฟัดกันบนเวที
---สำหรับสุกขวิปัสสโก รู้สึกท่านจะไปอย่างเรียบๆ แต่เราเล็งเอาตามศัพท์ที่ท่านแปลออกมา แล้วการปฏิบัติของเรามันก็เข้ากันทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่สงสัยที่เทียบเคียงเหล่านี้ สุกขวิปัสสโก ผู้ที่รู้อย่างสงบเรียบไปเลย ได้แก่ประเภทที่ ๑
*เตวิชโช
---บรรลุแล้วยังได้วิชชา ๓ , ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้ , จุตูปปาตญาณ , อาสวักขยญาณ
*ฉฬภิญโญ
---ได้อภิญญา๖ นี่หมายถึงกรณีพิเศษ เครื่องประดับท่านเป็นพิเศษๆ ไป
---ลำดับที่ ๔ นี่เรียกว่าสุดยอดบารมีของพระอรหันต์ท่าน จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต เรียกว่า ผู้แตกฉานมาก , อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา, นิรุตติปฏิสัมภิทา, ปฏิภาณปฏิสัมภิทา, นี้แตกฉานหมด นี่เรียกว่า "จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต" อรหันต์ประเภทที่ ๔ เครื่องประดับของท่านเรียกว่าหยดย้อยมากทีเดียว นี่ก็คือเป็นไปตามความปรารถนาของท่าน
---เวลาท่านปรารถนา เช่น ความวิมุตติหลุดพ้นต้องการด้วยกัน แต่มีความปรารถนาปลีกย่อยในเครื่องประดับ เหมือนต้นไม้ ต้นลำของมันเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันก็ตาม แต่กิ่งก้านสาขาแตกแขนงไป จะต่างกันๆ มีลักษณะต่างกันอย่างนั้น
*อรหันต์ ๔ นี้เหมือนกัน หลักของอรหันต์นั้นก็ได้แก่
---ผู้สิ้นจากกิเลสด้วยกันเรียบร้อยแล้ว นี่เสมอกันหมด เรียกว่า ต้นลำ ทีนี้กิ่งก้านสาขาที่แตกออกไปก็แตกไปเป็น สุกขวิปัสสโก, เตวิชโช, ฉฬภิญโญ, จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต ๔ ประเภท แยกสาขา คือกิ่งก้านของท่านออกไปตามนิสัยวาสนาที่ผู้มีความปรารถนาอย่างไรๆ เป็นเครื่องประดับความบริสุทธิ์ ท่านก็ปรารถนามา เวลาสำเร็จแล้ว กิ่ง ก้าน สาขาดอก ใบ ซึ่งเป็นความปรารถนาปลีกย่อยก็รวมๆ เป็นกิ่งเป็นก้านสวยงามตามนิสัยวาสนาของท่านที่ได้ทำความปรารถนามา นี่อรหันต์ ๔
---ท่านทั้งหลายให้ทราบเสียนะ ว่าอรหันต์ ๔ อยู่ในศาสนาพระพุทธเจ้า ที่เป็นต้นลำของพุทธศาสนาเรียกว่า "ชั้นเอกอุ" ในสามแดนโลกธาตุ ไม่มีศาสนาใดที่จะเทียบเสมอเหมือนพุทธศาสนาได้เลย เป็นศาสนาคู่โลกคู่สงสารจริงๆ ไม่บกพร่องเลย
---นี่เป็นอันหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสมบูรณ์อรรถธรรมทั้งหลายเต็มภูมิของศาสดา จากนั้นก็มาสอนสาวก นี่คือ ออกจากพุทธศาสนา, พอแตกออกมาก็เป็นสาวกบารมีญาณ, สาวกทั้งหลายไปศึกษาอบรมจากท่าน แตกกระจัดกระจายออกมาเป็นมรรค เป็นผล แตกกระจัดกระจายไปหมดจากพุทธศาสนา เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อยังมีผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมอยู่ มรรคผลนิพพานจะกระจายอยู่อย่างนี้ ตลอด
*สรุปก็คือ....
---"พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
---อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า
---ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้ง
---สัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้น ก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน
---ฉะนั้น จึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ
...............................................................................
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
รวบรวมโดย...แสงธรรม
(แก้ไขแล้ว รดา)
อัพเดทรอบที่ 6 วันที่ 26 สิงหาคม 2558
ความคิดเห็น